12
แนวทางในการพัฒนาระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 เข้าสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง Guideline for Development TRML-3D/32-6 Radar System to Network Centric Operations พล.ต.วิรัตน์ นาคจู MG.Wirat Nakjoo ผู้บัญชาการศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก Army Air Defense Operation Center Commander นักศึกษา วปอ.หลักสูตร วปอ.รุ่นที่ ๖๐ บทคัดย่อ เนื่องด้วยกองทัพบกได้รับระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 มาเข้าประจาการ ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัย ทางอากาศกองทัพบกได้มีแนวทางนาสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางการ ด้วยการเชื่อมโยง ข้อมูลผ่านระบบสื่อสารเข้าระบบควบคุมบังคับบัญชาของกองทัพไทย (C 4 I) แล้วแสดงผลในระบบแผนทีสถานการณ์ร่วมกองทัพไทย ( COP) เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกิจของระบบควบคุมและแจ้งเตือน ภัยทางอากาศกองทัพบก คือ ค้นหา พิสูจน์ฝ่าย แจ้งเตือน และควบคุมการใช้อาวุธได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และกองบัญชาการกองทัพไทยสามารถสนธิระบบการเฝ้าตรวจเพื่อให้ได้เปรียบ ทางข้อมูลข่าวสารเพื่อการตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพ มีการเชื่อมโยงข้อมูล ๒ ช่วง คือ ช่วงที่ ๑ การเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 ที่อยู่ในภูมิประเทศกับศูนย์โทรคมนาคมทหารของ กรมการสื่อสารทหาร ช่วงที่ ๒ การเชื่อมโยงข้อมูลจาก ศทท.สส.ทหารกับระบบ C 4 I โดยต่อตรงเข้า ระบบ C 4 I โดยสื่อทางสาย Fiber Optic จากนั้น เมื่อข้อมูลเข้าสู่ระบบ C4I จะแสดงผลผ่านระบบ COP ด้วยเวลา Real Time เพื่ออานวยการปฏิบัติการร่วมต่อหน่วยขึ้นตรงเหล่าทัพและหน่วยตามสายการ บังคับบัญชาอย่างต่อเนื่อง ในการเชื่อมโยงทั้ง 2 ช่วงดังกล่าว ควรมีแนวทางในการพัฒนาเพื่อนาระบบ เรดาร์ TRML-3D/32-6 เข้าสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ทั้งในระดับยุทธวิธี ยุทธการ และยุทธศาสตร์ Abstract As the Royal Thai Army has acquired a new TRML-3D/32-6 radar system installed at Army Air Defense Operations Center. This system could perform linkage to Command, Control, Communications, Computer and Intelligence (C4I) and display a result through Common Operation Picture (COP). With high performance, it could accomplish mission of air control and warning by identify objects, give alert warning, use weapon control effectively and enhance decision making process with data integration. The connection based on 2 links: from TRML-3D/32-6 radar at the terrain to communications center using radio broadcasting of Military Telecommunications Center, Directorate of Joint Communications and from communications center to C4I

Guideline for Development TRML-3D/32-6 Radar System to ......แนวทางในการพ ฒนาระบบเรดาร TRML-3D/32-6 เข าส การปฏ บ

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

แนวทางในการพัฒนาระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6

เข้าสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง Guideline for Development TRML-3D/32-6 Radar System to

Network Centric Operations พล.ต.วิรัตน์ นาคจู

MG.Wirat Nakjoo

ผู้บัญชาการศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก

Army Air Defense Operation Center Commander

นักศึกษา วปอ.หลักสูตร วปอ.รุ่นที่ ๖๐

บทคัดย่อ เนื่องด้วยกองทัพบกได้รับระบบเรดาร์TRML-3D/32-6 มาเข้าประจ าการ ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบกได้มีแนวทางน าสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางการ ด้วยการเชื่อมโยงข้อมลูผ่านระบบสื่อสารเข้าระบบควบคุมบังคับบัญชาของกองทัพไทย (C4I) แล้วแสดงผลในระบบแผนที่สถานการณ์ร่วมกองทัพไทย (COP) เพ่ือให้สามารถปฏิบัติตามพันธกิจของระบบควบคุมและแจ้งเตือนภัยทางอากาศกองทัพบก คือ ค้นหา พิสูจน์ฝ่าย แจ้งเตือน และควบคุมการใช้อาวุธได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และกองบัญชาการกองทัพไทยสามารถสนธิระบบการเฝ้าตรวจเพ่ือให้ได้เปรียบทางข้อมูลข่าวสารเพ่ือการตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพ มีการเชื่อมโยงข้อมูล ๒ ช่วง คือ ช่วงที่ ๑ การเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 ที่อยู่ในภูมิประเทศกับศูนย์โทรคมนาคมทหารของกรมการสื่อสารทหาร ช่วงที่ ๒ การเชื่อมโยงข้อมูลจาก ศทท.สส.ทหารกับระบบ C4I โดยต่อตรงเข้าระบบ C4I โดยสื่อทางสาย Fiber Optic จากนั้น เมื่อข้อมูลเข้าสู่ระบบ C4I จะแสดงผลผ่านระบบ COP ด้วยเวลา Real Time เพ่ืออ านวยการปฏิบัติการร่วมต่อหน่วยขึ้นตรงเหล่าทัพและหน่วยตามสายการบังคับบัญชาอย่างต่อเนื่อง ในการเชื่อมโยงทั้ง 2 ช่วงดังกล่าว ควรมีแนวทางในการพัฒนาเพ่ือน าระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 เข้าสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ทั้งในระดับยุทธวิธี ยุทธการ และยุทธศาสตร์

Abstract As the Royal Thai Army has acquired a new TRML-3D/32-6 radar system installed at Army Air Defense Operations Center. This system could perform linkage to Command, Control, Communications, Computer and Intelligence (C4I) and display a result through Common Operation Picture (COP). With high performance, it could accomplish mission of air control and warning by identify objects, give alert warning, use weapon control effectively and enhance decision making process with data integration. The connection based on 2 links: from TRML-3D/32-6 radar at the terrain to communications center using radio broadcasting of Military Telecommunications Center, Directorate of Joint Communications and from communications center to C4I

system at real time. This system could be applied and provided support to joint operations and report to command post effectively and continuously. This paper has demonstrated Guideline for Development TRML-3D/32-6 Radar System to Network Centric Operations in all tactical, operating and strategic levels.

บทน า ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารท าให้ เกิด การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง(Network Centric Operations: NCO) อันเป็นสงครามยุคใหม่ที่ใช้ ICT เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยกองก าลังต่างๆ ของฝ่ายเรา ได้แก่หน่วยตรวจรับสัญญาณ (Sensors) ผู้ตัดสินใจ (Decision Makers) และหน่วยยิง (Shooters)ให้เป็นเครือข่ายที่เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่จ าเป็นในการรบ เพ่ือให้รู้เท่าทันสถานการณ์ (Situation Awareness) สามารถช่วงชิงความได้เปรียบเหนือข้าศึกได้

ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก (ศปภอ.ทบ.) ได้ใช้แนวความคิดการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operations: NCO) ในการด าเนินการพัฒนาระบบเรดาร์TRML-3D/32-6 ให้เป็นหน่วยตรวจรับสัญญาณ (Sensors) ที่มีประสิทธิภาพเชื่อมโยงผ่านระบบสื่อสารทางทหารเข้ากับระบบควบคุมบังคับบัญชาของกองทัพไทย (C4I) แล้วแสดงผลผ่านทางระบบแผนที่สถานการณ์ร่วมกองทัพไทย (Common Operational Picture: COP) แนวคิดของการปฏิบัติการแบบใช้ความได้เปรียบด้านข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจะสร้างพลังอ านาจในการรบเพ่ิมมากข้ึน โดยจะเชื่อมโยงอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ ผู้ตัดสินใจ และหน่วยปฏิบัติ/หน่วยยิงท าให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารองค์ความรู้ สามารถหยั่งรู้สถานการณ์และเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชาท าให้หน่วยต่างๆ สามารถท างานร่วมกันได้ดีข้ึน

สาเหตุและความจ าเป็นในการพัฒนาระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 เข้าสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการติดต่อสื่อสาร มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วซึ่งต่อมามีการพัฒนาการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operations: NCO)โดยมีการน ามาปรับใช้กับสงครามยุคใหม่ที่ใช้ ICT เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วย โดยมีเครือข่ายที่เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่จ าเป็นในการรบ เพ่ือสนับสนุนกิจงานของฝ่ายอ านวยการทุกสายงาน ส่งผลให้หน่วยรู้เท่าทันสถานการณ์ สามารถหยั่งรู้เหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนสามารถช่วงชิงความได้เปรียบเหนือข้าศึก และเป็นฝ่ายที่ประสบความส าเร็จในทุกภารกิจที่ได้รับมอบ โดยระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 เป็นระบบเรดาร์ ๓ มิติ ที่กองทัพบกรับเข้ามาประจ าการเมื่อปี ๒๕๕๙ และมีคุณลักษณะขีดความสามารถที่ดีเลิศ ในการตรวจจับอากาศยานในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ หากระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 ได้รับการพัฒนาจนสามารถเชื่อมต่อข้อมูลเข้าสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางได้ ควรมีแนวทางพัฒนาในการน าระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 เข้าสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ทั้งในระดับยุทธวิธี ยุทธการและยุทธศาสตร์ เพ่ือให้ เกิดประสิทธิภาพ

ระบบต่างๆในการพัฒนาระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6เข้าสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ๑.ระบบควบคุมบังคับบัญชากองทัพไทย หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย บุคลากร เครื่องมือ กลไก วิธีการ กฎระเบียบการปฏิบัติ เพ่ือสนับสนุนผู้ บังคับบัญชาในการบังคับบัญชาและควบคุมการปฏิบัติการ (Command and Control) ด้วยเครือข่ายการสื่อสาร (Communications) ที่ทันเวลา โดยมีข่าวกรอง (Intelligence) ที่ ได้จากระบบงานข่าวการเฝ้าตรวจและตรวจการณ์ (Information Surveillance and Reconnaissance) ส่งผ่านทางเครือข่ายสื่อสารเข้าสู่กระบวนการประมวลผล (Computing) และแสดงผลอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ระบบควบคุมบังคับบัญชาจะผลิตข้อมูลส าหรับใช้ในกระบวนการวางแผนเพ่ือสนับสนุนการตกลงใจของผู้บังคับบัญชาในการอ านวยการปฏิบัติการร่วมรวมทั้งการปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจากสงครามที่อยู่ทั้งในระดับยุทธศาสตร์และยุทธการ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีพ้ืนฐานจากข้อมูลในระดับยุทธวิธี ด้วยการแสดงผลผ่านระบบ COP โดยการเชื่อมโยงข้อมูลที่ผ่านมา ข้อมูลได้เตรียมและส่งมาจากระบบบัญชาการและควบคุมของกองทัพอากาศ (Air Command and Control System: ACCS) ๑

๒.ระบบแผนที่สถานการณ์ร่วมกองทัพไทย (Common Operational Picture: COP) เป็นระบบที่จะสามารถสื่อความหมายให้หน่วยทหารมีความเข้าใจในสถานการณ์รบร่วมกันได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางทหารที่มีสายการบังคับบัญชา ระดับการปฏิบัติการตั้งแต่ระดับยุทธวิธี ยุทธการ และยุทธศาสตร์ มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเกิดความเข้าใจผิดในภาพสถานการณ์การรบดังนั้นระบบ COP จึงมุ่งที่ให้ข้อมูลเพ่ือให้เกิดความเข้าใจในแนวคิดทางทหาร และเพ่ือให้ได้มาซึ่งการมีความเหนือกว่าทางข้อมูลข่าวสาร (Information Superior) อันเป็นส่วนส าคัญหลักของการพัฒนาขีดความสามารถทางทหาร ตามแนวความคิดการท าสงครามโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Warfare) ระบบ COP จึงท าให้หน่วยทหารทุกระดับทั้งยุทธวิธี ยุทธการ และยุทธศาสตร์ มีความตระหนักรูถ้ึงสถานการณ์การรบร่วมกันอยา่งถูกต้อง ๒

๓.ระบบการสื่อสาร สถานภาพด้านการสื่อสารและสารสนเทศในการสนับสนุนระบบ C4I กองทัพไทย

๓.๑ เครือข่ายโทรคมนาคมและเครือข่ายสารสนเทศของ บก.ทท.

๓.๑.๑ เครือข่ายโทรคมนาคมของ บก.ทท.ที่เชื่อมต่อกับเหล่าทัพและหน่วยงาน ที่เก่ียวข้องมีสาระส าคัญท่ีพอสรุปได้ ดังนี้

๓.๑.๑.๑ โครงการ MILCOM I - MILCOM III ซึ่งเป็นการจัดท าเครือข่ายโทรคมนาคมทหารให้ครอบคลุมพ้ืนที่ทั่วประเทศ เริ่มด าเนินโครงการตั้งแต่ปี ๒๕๒๗ และแล้วเสร็จในปี ๒๕๕๑ ซึ่งสามารถจ าแนกเป็นส่วนที่เป็นโครงข่ายหลัก (Backbone Networks) จ านวน ๑๐๙ สถานี

๑ กรมยุทธการทหาร. แผนแนวทาง (Roadmap) การบูรณาการระบบควบคุมบังคับบัญชา กองทัพไทย ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๖๕. กรุงเทพมหานคร : กองบัญชาการกองทัพไทย, ๒๕๕๖. หน้า ๘

๒ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน).การวิจัยและพัฒนาระบบแสดงภาพสถานการณ์ร่วมทางทหารเพ่ืออนาคต.กรุงเทพมหานคร : กระทรวงกลาโหม, ๒๕๕๕. หน้า ๑

และส่วนที่เป็นโครงข่ายย่อย (Access Networks) จ านวน ๖๒ สถานีการเชื่อมโยงเครือข่ายยังมีลักษณะเป็นโครงข่ายรูปดาว (Star Network) ที่มีสถานีโทรคมนาคมทหาร ศูนย์การโทรคมนาคมทหารเป็นศูนย์กลางหรือเป็นคมนาคมหลัก และท าหน้าที่ควบคุมบริหารจัดการเครือข่ายเพียงแห่งเดียว ท าให้หากศูนย์กลางแห่งนี้ถูกท าลาย ก็จะส่งผลให้การเชื่อมต่อระบบโทรคมนาคมทหารไปยังภูมิภาคต่างๆ หยุดชะงักลงทันทีบางส่วนของเครือข่ายในพ้ืนที่ภาคต่างๆ ยังมีลักษณะเชื่อมต่อแบบเส้นทางเดียว ไม่มีเส้นทางส ารองในลักษณะวงแหวน (Ring Protection) หรือการขอร่วมใช้เครือข่ายของหน่วยงานภาครัฐที่มีการด าเนินการไว้แล้วเป็นเครือข่ายส ารอง เช่น เครือข่ายสายใยแก้วน าแสงของส านักปลัดกระทรวงกลาโหม หรือเครือข่าย GIN (Government Information Network) ท าให้เมื่อมีระบบสื่อสารขัดข้องในเส้นทางนั้น ก็จะไม่สามารถสนับสนุนการเชื่อมต่อการสื่อสารไปยังหน่วยใช้งานปลายทางได้

๓.๑.๑.๒ อุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ MILCOM I - MILCOM III เป็นเทคโนโลยีที่มีสื่อสัญญาณความเร็วต่ ามีขนาดช่องการสื่อสาร ๓๔Mbps มีขีดความสามารถในการให้บริการ ทางเสียงเป็นหลัก และมีขนาดช่องสัญญาณการสื่อสารข้อมูลขนาดเล็กที่รองรับได้เพียง ๙.๖ kbps ซึ่งไม่สามารถสนับสนุนการใช้งานกับอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้

๓.๑.๒ ในปัจจุบันสถานภาพด้านโครงข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสารข้อมูล สส.ทหาร ได้ด าเนินโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมทหาร เพ่ือขยายขนาดช่องการสื่อสาร จากเดิม ๓๔ Mbps ให้มีขนาดอย่างน้อย ๑๕๕ Mbps เพ่ือให้สามารถรับส่งข้อมูลความเร็วสูง รองรับ การสื่อสารทั้งทางเสียงข้อมูล และรองรับเชื่อมต่อที่เป็นมาตรฐานสากล ( Internet Protocol: IP) เพ่ือให้หน่วยสื่อสารของเหล่าทัพสามารถเชื่อมต่อการใช้งานไปยังหน่วยใช้ปลายทางได้ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพ่ือให้สถานีโทรคมนาคมทหารหลักประมาณร้อยละ ๙๑ ของสถานีโทรคมนาคม ๑๐๙ สถานีมีช่องการสื่อสารขนาดอย่างน้อย ๑๕๕ Mbps และรองรับการเชื่อมต่อมาตรฐานแบบ IP ปี ๒๕๕๕ ได้ด าเนินการพัฒนาระบบโทรคมนาคมทหาร โดยจัดระเบียบการสื่อสารผ่านดาวเทียมใหม่ที่มีเทคนิคการเข้าถึงที่หลากหลายให้เหลือเพียงเทคนิคเดียวคือ MFTDMA และขยายระบบโทรคมนาคมภาคพ้ืนดิน

รูปที่ ๑ โครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมตาม Roadmap ๕ ปี (ปี ๒๕๖๐-ปี ๒๕๖๔)

ของศูนย์การโทรคมนาคมทหาร

จากรูปที่ ๑ แสดงโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมตาม Roadmap ๕ ปี(ปี ๒๕๖๐-ปี ๒๕๖๔) ของศูนย์การโทรคมนาคมทหารซึ่งท าให้ระบบโทรคมนาคมทหารมีความพร้อมในการสนับสนุนภารกิจของกองทัพไทย โดย มีระบบการสื่อสารความเร็วสูง ผ่านเครือข่าย Fiber Optic สามารถสนับสนุนด้านการสื่อสารให้กับหน่วยงานต่างๆ ของ บก.ทท., ทบ., ทร., ทอ. และ ตร.

ปี ๒๕๖๐ ในพ้ืนที่ภาคใต้ตอนล่าง ปี ๒๕๖๑ ในพ้ืนทีภ่าคกลาง และภาคเหนือ ปี ๒๕๖๒ ในพ้ืนทีภ่าคอีสาน ปี ๒๕๖๓ สนับสนุนหน่วยงานความมั่นคงในพ้ืนที่ภาคใต้ตอนล่าง ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ได้อย่างเพียงพอ และสามารถท างานเป็นเครือข่ายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ ปี ๒๕๖๔ มีระบบการสื่อสารความเร็วสูง ผ่านเครือข่าย Fiber Optic ในพ้ืนที่ ภาคเหนือ และภาคอีสานเพ่ิมเติมเพ่ือการสื่อสารระหว่างภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถสนับสนุนด้านการสื่อสารให้กับหน่วยงานต่างๆ ของ บก.ทท., ทบ.,ทร., ทอ. และ ตร.

๓.๒ เครือข่ายส่ือสารทางยุทธวิธี ซึ่งเป็นระบบสื่อสารที่ใช้สนับสนุนภารกิจของหน่วยก าลังรบในพื้นที่ยุทธบริเวณที่ไม่มีเครือข่ายโทรคมนาคมทหาร โดยจะมีลักษณะที่สามารถติดตั้งเชื่อมต่อจากปมโทรคมนาคมทหารของโครงข่ายหลัก (Backbone) ได้อย่างรวดเร็ว แต่อุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ยังคงเป็นเทคโนโลยีแบบเดิม ที่มีช่องสัญญาณขนาดเล็ก และออกแบบส าหรับสนับสนุนการสื่อสารทางเสียงเป็นหลัก นอกจากนี้เครือข่ายโทรคมนาคมทหารยังไม่ครอบคลุมพ้ืนที่ปฏิบัติการทางทหารทั้งหมด ท าให้หน่วยงานที่มีที่ตั้งห่างไกลจากเครือข่ายการสื่อสารเส้นหลัก (Backbone) จ าเป็นต้องใช้ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นเครือข่ายการสื่อสารหลัก ซึ่งมีช่องสัญญาณขนาดเล็ก ไม่สามารถสนับสนุนการรับ-ส่งสัญญาณเสียง ภาพ และข้อมูลขนาดใหญ่ได้พร้อมๆ กันหลายหน่วย รวมทั้งมีความปลอดภัยต่ า

๓.๒.๑ ระบบการสื่อสารทางยุทธวิธี ที่ถูกจัดเตรียมโดย พัน ส.บก.ทท. สส.ทหาร ประกอบด้วย

๓.๒.๑.๑ รถสื่อสารผ่านดาวเทียม ติดตั้งบน รยบ.ขนาด ๓/๔ ตันโตโยต้าคอมมิวเตอร์ ระบบสื่อสารดาวเทียมที่ใช้เป็นระบบ MFTDMA ขีดความสามารถ ๔ ช่องสัญญาณเสียง ๑ ช่องการสื่อสารข้อมูล

๓ .๒ .๑ .๒ รถสื่ อสารผ่ านดาวเทียมติดตั้ งบน รยบ . ขนาด ๒ ตัน (HUMMERH-3) ระบบสื่อสารดาวเทียมที่ใช้เป็นระบบ MFTDMA ขีดความสามารถ ๘ ช่องสัญญาณเสียง ๑ ช่องสัญญาณการสื่อสารข้อมูล

๓.๒.๑.๓ รถสื่อสารผ่านดาวเทียมติดตั้ งบน รยบ. ขนาด ๑ ๑/๔ ตัน เอ็ม ๑๐๙๗ เอ ๒ (๔ x ๔)ระบบสื่อสารดาวเทียมที่ใช้เป็นระบบTDMA/DAMA ขีดความสามารถ ๘ ช่องสัญญาณเสียง ๒ ช่องการสื่อสารข้อมูล หรือ ๑๒ ช่องสัญญาณเสียง (อยู่ระหว่างการปรับปรุงให้เป็นระบบ MFTDMA)

๓.๒.๑.๔ รถสื่อสารผ่านดาวเทียมติดตั้งบน รยบ.ขนาด ๑ ๑/๔ ตัน เอ็ม ๑๐๙๗ เอ ๒ (๔ X ๔)ระบบสื่ อสารดาวเทียมที่ ใช้ เป็นระบบ FTDMA ขีดความสามารถ ๔ ช่องสัญญาณเสียง ๑ ช่องการสื่อสารข้อมูล (อยู่ระหว่างการปรับปรุงให้เป็นระบบ MFTDMA)

๓.๒.๒ ระบบวิทยุเชื่อมโยง ๓.๒.๒.๑ ระบบวิทยุรับ-ส่งข้อมูล ชุดวิทยุหลายทิศทาง SR-500 เป็นชุดวิทยุรับส่งระบบไมโครเวฟ กระจายคลื่นไปได้รอบทิศทาง ๓.๒.๒.๒ ชุดวิทยุถ่ายทอด RL–432A ได้รับในปี ๒๕๔๑ จากโครงการสื่อสารทางยุทธวิธี (ไทย-สวีเดน) ขีดความสามารถ สามารถติดต่อการสื่อสารในระดับสายตา (Line of sight) โดยประมาณ ๕๐ กม./คู่สถานี (Km/Hop) ๓.๒.๒.๓ ชุดวิทยุ FM200 และ DX 15 – 60 ขีดความสามารถจ านวนช่องการสื่อสารทางเสียง ๑๕ – ๖๐ ช่อง และวงจรสั่งการ ๑ ช่อง

๓.๓ เครือข่ายสารสนเทศ (Management Information System: MIS) ของ บก.ทท. ที่เชื่อมต่อกับเหล่าทัพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพ้ืนที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีสายสัญญาณใช้เป็นสาย Fiber Optic Single Mode ซึ่งรองรับความต้องการใช้งานที่จะมีการขยายตัวในการส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูงในอนาคตได้การวางเครือข่ายยังเป็นลักษณะผสมผสานกันทั้งแบบที่มีจุดศูนย์กลางกระจายไปตามจุดต่างๆเป็นรูปดาว (Star Network) ที่ไม่มีเส้นทางส ารองในการส่งข้อมูล และแบบตาข่าย (Mesh Network) ที่มีเส้นทางการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ไม่น้อยกว่า ๒ เส้นทาง ในกรณีท่ีเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเกิดขัดข้อง ระบบก็ยังสามารถท างานต่อไปได้

๔.ระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 เป็นระบบเรดาร์ ๓ มิติ ซึ่งเป็นยุทโธปกรณ์ใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพ ศปภอ.ทบ.ได้มีแนวความคิดในการน าเข้าสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางในตระกูลย่าน C-band มีใช้ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและประเทศต่างๆ ในกลุ่ม NATO ใช้แผงสายอากาศแบบ Phased array มีความคล่องตัวในการติดตั้งระบบและเก็บระบบ ๑๐ นาที ใช้ระบบไฮโดรริกในการยกแผงสายอากาศที่ความสูง ๑๒ เมตร ระบบปฏิบัติงานและการควบคุมระยะไกลแบบอัตโนมัติ Mode การท างานสามารถตั้งได้และเลือกได้โดยพนักงานเรดาร์ มีระยะท าการของระบบเรดาร์ ๒๐๐ กิโลเมตร ๓

แนวทางการท างานของระบบเรดาร ์TRML-3D/32-6 เพื่อแสดงผลโดยระบบแผนท่ีสถานการณ์ร่วมกองทัพไทย(COP) ศปภอ.ทบ. ซี่งเป็นหน่วยวางแผน อ านวยการ ประสานงานและก ากับดูแลระบบควบคุมและแจ้งเตือนภัยทางอากาศกองทัพบก โดยมีศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศประจ าพ้ืนที่ (ศปภอ.ทบ.ประจ าพ้ืนที่) ตั้งอยู่ในพ้ืนที่ทั้ง ๔ ภาค ทั่วประเทศในปี ๒๕๕๙ กองทัพบกได้รับระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 มาประจ าการใน ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบกที่ ๒ ประจ าพ้ืนที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ศปภอ.ทบ.๒) ศปภอ.ทบ. จึงได้มีการวางแผนโดยก าหนดแนวความคิดที่จะเชื่อมโยงข้อมูลป้องกันภัยทางอากาศจากระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 เข้ากับระบบ C4I เพ่ือเป็น

๓ พันเอก พิรุณ นยโกวิทย์. แนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 เพื่อเข้าสู่ระบบควบคุมบังคับบัญชาของกองทัพไทย. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล, วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, ๒๕๖๐. หน้า ๔๐.

Sensor ในการส่งข้อมูลป้องกันภัยทางอากาศผ่านทางเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมของกรมการสื่อสารทหาร (สส.ทหาร) ให้กับระบบ C4I ด้วยการแสดงผลผ่านทางระบบCOP

รูปที่ ๒ การเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบเรดาร์TRML-3D/32-6เข้ากับระบบ C4I แบ่งการสื่อสารเป็น ๒ ช่วง

จากรูปที่ ๒ การเชื่อมโยงข้อมูลป้องกันภัยทางอากาศจากระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 เข้าสู่ระบบ C4I ควรมีการเชื่อมโยงข้อมูล ๒ ช่วงดังนี้

ช่วงท่ี ๑ การเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบเรดาร์TRML-3D/32-6 ที่อยู่ในภูมิประเทศกับศูนย์โทรคมนาคมทหาร (ศทท.) ของ สส.ทหาร บก.ทท. ข้อมูลเป็นสัญญาณระบบ Digital (ต้องแปลงโดยใช้Interface) เนื่องจากระยะทางในการส่งข้อมูลที่เป็นสัญญาณไกลสุดประมาณ ๓๐ กิโลเมตรจึงต้องหาแนวทางในการถ่ายทอดสัญญาณเพ่ือมาเข้าระบบทางสายให้ได้ จากกรณีพิพาทพ้ืนที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหารเมื่อปี ๒๕๕๖การด าเนินการในการติดต่อสื่อสารในภาพรวม ยังคงมีปัญหาเรื่องการอ านวยการ เครื่องมือ และเวลา ศปภอ.ทบ.จึงมีแนวความคิดว่าการสื่อสารในช่วงที่ ๑ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามพันธกิจของระบบควบคุมและแจ้งเตือนภัยทางอากาศ คือ ค้นหา พิสูจน์ฝ่าย แจ้งเตือน และควบคุมการใช้อาวุธ ควรมียุทโธปกรณ์ที่เป็นวิทยุถ่ายทอดสัญญาณเพ่ือแปลงสัญญาณจากระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 และสัญญาณอ่ืนๆ ไปยัง ศทท.สส.ทหาร ที่มีประสิทธิภาพ อยู่ในอัตราการจัดอาวุธยุทโธปกรณ์ของ ศปภอ.ทบ.ประจ าพ้ืนที่ เพ่ือถ่ายทอดสัญญาณ

ช่วงที่ ๒ การเชื่อมโยงข้อมูลจาก ศทท.สส.ทหารกับระบบ C4I โดยต่อตรงเข้าระบบC4I โดยสื่อทางสาย Fiber Optic จากนั้น เมื่อข้อมูลเข้าสู่ระบบ C4I จะแสดงผลผ่านระบบ COP ด้วยเวลา Real Time เพ่ืออ านวยการปฏิบัติการร่วมต่อหน่วยขึ้นตรงเหล่าทัพและหน่วยตามสายการบังคับบัญชาอย่างต่อเนื่อง๔ ข้อสังเกตของช่วงที่ 1 - เครื่องมือสื่อสารของ ศปภอ.ทบ.ประจ าพ้ืนที่ ควรมีจัดหาใหม่ให้สามารถสื่อสารข้อมูลทางสัญญาณจากระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 ที่อยู่ในภูมิประเทศกับศูนย์โทรคมนาคมทหาร (ศทท.) ของ สส.ทหาร บก.ทท. ที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารในช่วงที่ ๑ - สถานการณ์ในการรบขณะนั้น สภาพภูมิประเทศที่เป็นเนินและภูเขาท าให้ไม่สามารถสื่อสารกันได้กับ ศทท.บก.ทท. เช่น ไม่สามารถติดตั้งวิทยุถ่ายทอด หรือวิทยุถ่ายทอดสัญญาณได้ในบริเวณพ้ืนที่การรบ - ปัญ หาทางด้ าน Hardware วิทยุ ถ่ ายทอดสัญ ญ าณ และหั ว เชื่ อมต่อสัญ ญ าณ (Connector) ยังเชื่อมต่อกันไม่สมบูรณ์ ก าลังพัฒนาทางด้าน Hardware ให้เกิดความเหมาะสมกับระบบเรดาร์ ข้อสังเกตของช่วงที่ 2 - สส.ทหาร ควรจะขยายโครงข่ายระบบเคเบิ้ลใยแก้วน าแสง (Fiber Optic) ให้มีสถานีครอบคลุมพ้ืนที่อย่างทั่วถึง เพ่ือให้เกิดความอ่อนตัวในการสื่อสาร และรักษาความเสถียรภาพในการสื่อสารในยามสงครามได้ - การเชื่อมโยงข้อมูลบางจุด จ าเป็นต้องใช้การบูรณาการของระบบการสื่อสารร่วมกันของเหล่าทัพ ภาครัฐและภาคเอกชน - ควรมีการสื่อสารผ่านระบบดาวเทียม - การแปลงรูปแบบข้อมูลบางส่วนระหว่างระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 กับระบบC4Iแสดงผลผ่านทางระบบ COP ในส่วนของข้อมูลอากาศยานพ้ืนฐาน (Track) มีปัญหาคือ Track แต่ละภาพจะปรากฏไม่ต่อเนื่อง เพราะยังเข้ากันได้ไม่สมบูรณ ์

แนวทางการพัฒนาระบบเรดาร์TRML-3D/32-6เข้าสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ๑.การพัฒนาในระดับยุทธวิธี

๑.๑ ศปภอ.ทบ.ประจ าพ้ืนที่ ต้องมีวิทยุถ่ายทอดสัญญาณที่มีประสิทธิภาพ เพ่ือปฏิบัติพันธกิจของหน่วยในระบบควบคุมและแจ้งเตือนภัยทางอากาศกองทัพบก คือ ค้นหา พิสูจน์ฝ่าย แจ้งเตือน และควบคุมการใช้อาวุธได้ด้วยตนเองโดยสมบูรณ์ ส่วนในการพิจารณา ศปภอ.ทบ. ซึ่งเป็นหน่วยบังคับบัญชาของศปภอ.ทบ.ประจ าพ้ืนที่ควรก าหนดคุณสมบัติเฉพาะของวิทยุถ่ายทอดสัญญาณเพ่ือให้ ศปภอ.ทบ.ประจ าพ้ืนที่มีวิทยุถ่ายทอดสัญญาณชุดนี้บรรจุในอัตราการจัดอาวุธยุทโธปกรณ์ของศปภอ.ทบ.ประจ าพ้ืนที่ ต่อไป

พันเอก พิรุณ นยโกวิทย์. แนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 เพื่อเข้าสู่ระบบควบคุมบังคับบัญชาของกองทัพไทย. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล, วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, ๒๕๖๐. หน้า ๔๐.

๑๐

๑.๒ ศปภอ.ทบ. ควรก าหนดนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้

๑.๒.๑ ก าหนดคุณสมบัติของวิทยุถ่ายทอดสัญญาณให้ ศปภอ.ทบ.ประจ าพื้นที่ เพื่อสามารถปฏิบัติพันธกิจของหน่วยในระบบควบคุมและแจ้งเตือนภัยทางอากาศกองทัพบกได้

๑.๒.๒ ด าเนินการของบประมาณการฝึก เพ่ือก าหนดให้ ศปภอ.ทบ.ประจ าพ้ืนที่ มีการฝึกการลาดตระเวนหาจุดที่ตั้งเรดาร์ และให้ ศปภอ.ทบ.ประจ าพ้ืนที่ พิจารณาแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลด้วยการสื่อสาร โดยการหาเครื่องมือในการสื่อสารหลักและเครื่องมือในการสื่อสารส ารองไว้ก่อนล่วงหน้า

๒. การพัฒนาระดับยุทธการ

๒.๑ ควรมีการประสานงานในการป้องกันภัยทางอากาศในระดับพ้ืนที่ โดยหน่วยในระบบควบคุมและแจ้งเตือนภัยทางอากาศ จ าเป็นที่จะต้องมีการประสานงานการป้องกันภัยทางอากาศร่วมกับหน่วยทหารในพ้ืนที่ รวมถึงส่วนราชการพลเรือนที่เกี่ยวข้อง (แผนป้องกันประเทศ และแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน)นอกจากนี้ ควรมีการฝึกร่วมกันโดยท าการซักซ้อมตามแผนที่ได้ก าหนดไว้ เพ่ือเป็นการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ยามปกต ิ

๒.๒ ควรมีการประสานงานร่วมกันระหว่างหน่วยในระบบควบคุมและแจ้งเตือน กับหน่วย สส.ทหาร ในพ้ืนที่ เพ่ือเตรียมการส าหรับการเชื่อมต่อข้อมูลเข้าสู่ระบบ NCO, ระบบ C4I, ระบบ COP, ระบบ ACCS, ระบบ TDL และระบบอื่นๆท่ีเกี่ยวข้องของหน่วย

๓. การพัฒนาระดับยุทธศาสตร์

๓.๑ ควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมในระดับผู้บริหารของแต่ละเหล่าทัพ โดยเป็นผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับหน่วยขึ้นตรงของกองทัพขึ้นไป เพ่ือก าหนดแนวทางในการปฏิบัติ รับทราบและติดตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติการร่วมระหว่างเหล่าทัพ มุ่งเน้นในการสร้างขีดความสามารถ Network Centric Operationsหรือการพัฒนาไปสู่ระบบ C4ISR ของกองทัพไทยร่วมกับเหล่าทัพ

๓.๒ ควรมีการจัดตั้งส่วนป้องกันภัยทางอากาศของทั้ง ๓ เหล่าทัพในศูนย์บัญชาการทหาร เพ่ือสนธิระบบC4I การแจ้งเตือนภัยทางอากาศแต่เนิ่น และการป้องกันภัยทางอากาศ เพ่ือให้สอดคล้องกับแผนป้องกันภัยทางอากาศ รวมทั้งการปฏิบัติการร่วมตามแผนป้องกันประเทศ

๓.๓ บก.ทท. โดย สส.ทหาร ควรก าหนดและพิจารณาแนวทางส าหรับการสื่อสารผ่านระบบดาวเทียมทางยุทธวิธี หากด าเนินการท าระบบเชื่อมโยงทางยุทธวิธี (TDL) โดยมีดาวเทียมเป็นระบบสื่อสารข้อมูลจะเพ่ิมประสิทธิภาพการสื่อสารข้อมูลอย่างมาก

๓.๔ สส.ทหาร มีโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมทหาร โดยจะขยายโครงข่ายระบบเคเบิ้ลใยแก้วน าแสง (Fiber Optic) ให้มีสถานีครอบคลุมพ้ืนที่อย่างทั่วถึง และพัฒนาแบบวงแหวน (Ring Network) ในวงรอบด้านนอกเพ่ือให้เกิดความอ่อนตัวและรักษาความเสถียรภาพในการสื่อสารในยามสงคราม

๓.๕ สส.ทหาร จัดท าแผนการบูรณาการระบบสื่อสารของ สส.ทหาร, สส.เหล่าทัพ, ระบบสื่อสารภาครัฐและภาคเอกชนเพ่ือให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมพ้ืนที่การปฏิบัติการร่วมให้มากที่สุด เนื่องจากบางจุดของที่ตั้งเรดาร์ต้องมีการบูรณาการทางการสื่อสาร

๑๑

๓.๖ ศทท.สส.ทหาร บก.ทท. ควรมีการด าเนินการพัฒนาระบบ COP ในเรื่องการแปลงสัญญาณให้เข้ากันได้ (Interface) ส าหรับ Sensor ที่ติดตั้งเข้าไปแล้ว รวมถึงการปรับปรุง Interface ของ Sensor ที่จะเข้าสู่ระบบใหม ่

๓.๗ บก.ทท. ควรประสานกรมการสรรพก าลังกลาโหม ส านักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยมอบให้ สส.ทหาร จัดท าแผนระดมสรรพก าลังด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ระบบสื่อสาร) ไว้ใช้ในยามสถานการณ์ไม่ปกติ สถานการณ์ฉุกเฉินและยามสงคราม

สรุป

การเชื่อมโยงระบบเรดาร์TRML-3D/32-6 เข้าสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง สามารถกระท าได้ด้วยการเชื่อมโยงระบบทั้ง 4 ระบบ คือ ระบบควบคุมบังคับบัญชากองทัพไทย ระบบแผนที่สถานการณ์ร่วมกองทัพไทย ระบบการสื่อสารและระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 เข้าด้วยกัน การเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบเรดาร์TRML-3D/32-6 เข้ากับระบบควบคุมบังคับบัญชากองทัพไทย (C4I) แบ่งการสื่อสารเป็น ๒ ช่วง คือ ช่วงที่ ๑ การเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบเรดาร์TRML-3D/32-6 ที่อยู่ในภูมิประเทศกับศูนย์โทรคมนาคมทหาร (ศทท.) ของ สส.ทหาร บก.ทท. ข้อมูลเป็นสัญญาณระบบ Digital ช่วงที่ ๒ การเชื่อมโยงข้อมูลจาก ศทท.สส.ทหารกับระบบ C4I โดยต่อตรงเข้าระบบ C4I โดยสื่อทางสาย Fiber Optic หรือด้วยคลื่นไมโครเวฟ การสื่อสารเพ่ือการเชื่อมโยงข้อมูลท าให้เกิดข้อสังเกตุที่ต้องการแนวทางในการพัฒนาระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 เข้าสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางในระดับยุทธวิธี ยุทธการ และยุทธศาสตร์เพ่ือการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

๑๒

บรรณานุกรม ภาษาไทย กองบัญชาการกองทัพไทย, กรมยุทธการทหาร. แผนแนวทาง (Roadmap) การบูรณาการระบบควบคุมบังคับบัญชากองทัพไทย ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๖๕. กรุงเทพมหานคร : กองบัญชาการกองทัพไทย, ๒๕๕๖.(ลับมาก) กระทรวงกลาโหม, สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) การวิจัยและพัฒนาระบบแสดงภาพสถานการณ์ร่วมทางทหารเพื่ออนาคต.กรุงเทพมหานคร : กระทรวงกลาโหม, ๒๕๕๕. พิรุณ นยโกวิทย์, พ.อ. แนวทางแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลระบบเรดาร์ TRML-3D/32-6 เพื่อเข้าสู่ระบบควบคุมบังคับบัญชาของกองทัพไทย. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล, วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, ๒๕๖๐.