24
7-1 หน่วยที7 ทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิด รองศาสตราจารย์ลาวัลย์ หอนพรัตน์

หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

  • Upload
    others

  • View
    9

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-1

หน่วยที่7ทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิด

รองศาสตราจารย์ลาวัลย์หอนพรัตน์

Page 2: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-2

แผนผังแนวคิดหน่วยที่7

7.1.1 ทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิดและการแก้ไข

ผู้กระทำผิดของต่างประเทศ

7.1.2 ทฤษฎีที่มุ่งต่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำ

ความผิด

7.2.1การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในประเทศไทย

7.2.2การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในต่างประเทศ

ทฤษฎีการแก้ไข

ผู้กระทำผิด

7.1 ความเป็นมาและ

ทฤษฎีการแก้ไข

ผู้กระทำผิด

7.2 การแก้ไขฟื้นฟู

ผู้กระทำผิดใน

ประเทศไทยและ

ต่างประเทศ

Page 3: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-3

หน่วยที่7

ทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิด

เค้าโครงเนื้อหาตอนที่ 7.1ความเป็นมาและทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิด

7.1.1ทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิดและการแก้ไขผู้กระทำผิดของต่างประเทศ

7.1.2ทฤษฎีที่มุ่งต่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด

ตอนที่ 7.2การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในประเทศไทยและต่างประเทศ

7.2.1การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในประเทศไทย

7.2.2การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในต่างประเทศ

แนวคิด1. การใช้ทฤษฎีลงโทษโดยการแก้แคน้ทดแทนไม่ประสบความสำเรจ็ในการลดอาชญากรรม

จึงได้เกิดแนวคิดทบทวนที่จะแก้ไขผู้กระทำผิดขึ้นเป็นแนวคิดที่ให้โอกาสคนกลับตัวเป็น

คนดีและสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้

2. การแก้ไขผู้กระทำผิดในประเทศไทยและต่างประเทศมีแนวคิดคล้ายคลึงกัน คือ การ

แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดโดยเจ้าพนักงานของรัฐ/หน่วยงานของรัฐและการแก้ไขฟื้นฟูโดย

ให้ประชาชนมีส่วนร่วม

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่7จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวิเคราะห์ถึงเหตุผลความเป็นมาและทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิดได้

2. อธิบายและวิเคราะห์การใช้วิธีการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในประเทศไทยและต่างประเทศ

ได้

กิจกรรม1. กิจกรรมการเรียน

1)ศึกษาแผนผังแนวคิดหน่วยที่7

2)อ่านแนวการศึกษาประจำหน่วยที่7

3)ทำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่7

Page 4: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-4

4)ศึกษาเนื้อหาสาระจาก

- แนวการศึกษาหน่วยที่7

- หนังสือประกอบการสอนชุดกฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาชั้นสูง

5)ปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

6)ตรวจสอบคำตอบของกิจกรรมแต่ละกิจกรรมจากแนวตอบ

7)ทำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่7

2.งานที่กำหนดให้ทำ

1)ทำแบบฝึกหัดทุกข้อที่กำหนดให้ทำ

2)อ่านเอกสารเพิ่มเติมจากแหล่งวิทยาการ

แหล่งวิทยาการ1. สื่อการศึกษา

1)แนวการศึกษาหน่วยที่7

2)หนังสือประกอบการสอนชุดกฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาชั้นสูง

- อภิรตัน์เพ็ชรศริิ(2552)ทฤษฎีอาญาพมิพค์รัง้ที่2กรงุเทพมหานครสำนกัพมิพ ์

วิญญูชน

- เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานและกระบวนการยุติธรรมมหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช

- บทความกฎหมายในส่วนการป้องกัน โดย หลวงจักรปราณี ศรีศิลวิสุทธิ์

ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม(www.library.coj.go.th)

2. หนังสือตามที่อ้างไว้ในบรรณานุกรม

การประเมินผลการเรียน1. ประเมินจากการสัมมนาเสริมและงานที่กำหนดให้ทำในแผนกิจกรรม

2. ประเมินจากการสอบไล่ประจำภาคการศึกษา

Page 5: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-5

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความรู้เดิมของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง“ทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิด”

คำแนะนำ อ่านคำถามแล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างนักศึกษามีเวลาทำแบบประเมินชุดนี้30นาที

1. ทฤษฎีใดที่มุ่งเน้นการลงโทษผู้กระทำความผิดให้กลับตัวเป็นคนดี

2. ทฤษฎีการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดมีกี่ทฤษฎีอะไรบ้าง

Page 6: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-6

3. ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้อย่างไร

4. การที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจศาลสั่งรอการลงอาญาหรือรอการลงโทษ เป็นการแก้ไขผู้กระทำผิด

อย่างไร

Page 7: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-7

บทนำ

ทฤษฎีทางอาญากล่าวว่าการลงโทษหรือการใช้โทษทางอาญาต้องมีข้อจำกัดไม่ควรที่จะนำกฎหมาย

อาญามาใช้เพื่อลงโทษพฤติกรรมที่ปราศจากภัย

เป็นที่ยอมรับกันในสาขาวิชากฎหมายอาญาแล้วว่าในประมวลกฎหมายอาญาใหม่นั้นหากจะใช้โทษ

และทฤษฎีใดก็ต้องระบุไว้ให้ชัดเจนว่าร่างกฎหมายนั้นยึดถือเอาทฤษฎีใดเป็นหลัก ซึ่งโดยทั่วไปจะอ้าง

จดุประสงค์อนัสำคญัและเปน็ที่ยอมรบัคอืการให้มนษุย์อยู่รว่มกนัโดยสนัตสิขุและปลอดภยัจากอาชญากรรม

ทั้งปวงตัวอย่างร่างประมวลกฎหมายอาญาสหรัฐอเมริกาในมาตรา11A2ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้

“วตัถปุระสงค์ของประมวลกฎหมายนี้ก็เพือ่ที่จะเสรมิสรา้งความยตุธิรรมขึน้ในระบบสหรฐัทัง้มวล

เพือ่ที่ประเทศชาติและประชาชนจะได้มีความอบอุน่ใจในการรกัษาไว้ซึง่ชวีติรา่งกายทรพัยส์นิความสมัพนัธ์

ซึ่งกันและกันและผลประโยชน์อื่นๆ

ประมวลกฎหมายนี้มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและคงไว้ซึ่งระบบแห่งคุณธรรมของมหาชนและการปฏิบัติ

โต้ตอบของมหาชนโดยการลงโทษทัณฑ์อันเหมาะสม

ประมวลกฎหมายนี้มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความปลอดภัยและความมั่นคงของบุคคลทั้งปวง โดยการ

ป้องปรามโดยวิธีแจ้งต่อสังคมให้เห็นถึงความผิดต่างๆว่ามีอะไรบ้างและโทษทัณฑ์ที่ได้กำหนดไว้โดยตัวบท

กฎหมายมีอยู่อย่างไรและเมื่อวิธีการนี้ใช้ไม่ได้ผลก็จะใช้วิธีแก้ไขผู้กระทำความผิดหรือการทำให้ผู้กระทำ

ความผิดนั้นไม่สามารถที่จะกระทำผิดต่อไปได้โดยวิธีการอันสมควร”

วิธีการและทฤษฎีที่จะทำให้จุดมุ่งหมายของประมวลกฎหมายอาญาประสบผลสำเร็จได้นั้นพอที่จะ

แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้3ประเภทคือการแก้แค้นตอบแทนการขู่กำราบ(ป้องปราม)และการแก้ไขฟื้นฟู

ผู้กระทำผิดหรือตัดโอกาสหรือจำกัดความสามารถในการกระทำความผิด1

1อภิรัตน์เพ็ชรศิริทฤษฎีอาญากรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์วิญญูชนหน้า82-83

Page 8: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-8

ตอนที่7.1

ความเป็นมาและทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิด

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่7.1แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่7.1.1 ทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิดและการแก้ไขผู้กระทำผิดของต่างประเทศ

เรื่องที่7.1.2 ทฤษฎีที่มุ่งต่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด

แนวคิด1. การแก้ไขหรือการป้องกันอาชญากรรมมีมาแต่อดีต เนื่องจากนักอาชญาวิทยา นัก-

สังคมศาสตร์และนักวิชาการแขนงต่างๆเห็นว่าการลงโทษเพื่อการแก้ไขไม่ได้ผล

2. ทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิดมี 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดโดย

เจ้าพนักงานและทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิดโดยประชาชนและชุมชนร่วมกับเจ้าพนักงาน

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่7.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวินิจฉัยความเป็นมาของทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิดได้

2. อธิบายและวิเคราะห์หลักทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิดได้

Page 9: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-9

เรื่องที่7.1.1 ทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิดและการแก้ไขผู้กระทำผิด

ของต่างประเทศ

สาระสังเขปทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิดมิได้เป็นทฤษฎีใหม่ แต่เป็นทฤษฎีที่เคยใช้อยู่ในศาสนาคริสต์ตั้งแต่

โบราณกาลเช่นการไถ่บาปหรือการสารภาพบาปเพื่อให้ผู้กระทำผิดมีโอกาสเริ่มต้นชีวิตใหม่

ปัจจุบันทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่จำเป็นทฤษฎีหนึ่งศาสตราจารย์เอเลนกล่าวว่าวิธีการทั้งหลายที่จะนำ

มาใช้ปฏิบัติต่อผู้ต้องโทษนี้จะต้องมีสภาพเป็นตัวบำบัดตัดโอกาสหรือจำกัดความสามารถในการกระทำผิด

วิธีการเหล่านี้จะต้องเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ต้องโทษเพื่อความสุขความพึง

พอใจของผู้นั้นและเพื่อป้องกันสังคมจากอาชญากรรมอันจะพึงมีขึ้น2

กฎหมายอาญามีเงื่อนไขในการกำหนดโทษอยู่ 2ประเภทคือประเภทแรกเป็นเงื่อนไขตามทฤษฎี

แก้แค้นทดแทนและประเภทที่ 2 เป็นเงื่อนไขที่ว่าด้วยการแก้ไขผู้กระทำความผิดให้กลับตัวเป็นคนดี โดย

บำบัดตัดโอกาสหรือจำกัดความสามารถในการกระทำผิด

สำนักโปซิทิฟ (POSITIVESCHOOLOFCRIMINOLOGY) ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับปัจจัย กล่าวคือ

การกระทำของมนุษย์ถูกกำหนดจากปัจจัยต่างๆมนุษย์ไม่สามารถเลือกกระทำได้อย่างอิสระ แต่ถูกกดดัน

หล่อหลอมจากสิ่งแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ จนมีบุคลิกภาพที่บกพร่องและหันไปสู่การกระทำความผิด

การกระทำความผิดเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล การลงโทษจึง

ไม่ควรมุ่งเน้นที่การกระทำความผิดเป็นหลัก แต่ควรพิจารณาจากสาเหตุที่ทำให้เกิดการกระทำความผิด

และการแก้ไขไปที่สาเหตุของการกระทำความผิดนั้นๆ

การลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟูการกระทำความผิด เป็นแนวคิดที่ให้โอกาสคนกลับตัว จึงเน้นที่ตัว

ผู้กระทำความผิดมากกว่าการกระทำความผิด เช่นความสามารถของผู้กระทำความผิดที่จะกลับตัวการให้

ผู้กระทำผิดทดลองกลับเข้าสู่สังคมถ้าเป็นการกระทำความผิดโดยพลั้งพลาดไม่ได้กระทำความผิดร้ายแรง

หรือมีความโหดร้ายก็ใช้มาตรการเลี่ยงโทษจำคุกเช่นการรอการลงอาญาโดยมีการคุมประพฤติ

การแกไ้ขผู้กระทำความผดิในปจัจบุนัเปน็ที่ยอมรบักนัในวงการราชทณัฑ์โดยทัว่ไปแต่ยงัมีอปุสรรค

หลายประการคือ

1) ผู้กระทำความผิดได้สูญเสียบุคลิกภาพไปแล้ว โดยถูกหล่อหลอมและขัดเกลามาเป็น

เวลานาน

2) ขัดกับความรู้สึกของคนในสังคมว่าผู้กระทำความผิดไม่ควรได้มีการปฏิบัติที่ดีกว่า

คนทั่วไป

2อภิรัตน์เพ็ชรศิริทฤษฎีอาญากรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์วิญญูชนหน้า92

Page 10: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-10

3) การแก้ไขฟื้นฟูเหมาะสำหรับผู้กระทำความผิดบางประเภทเท่านั้นเช่นทำผิดครั้งแรก

4) การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดสามารถทำได้ในขณะที่อยู่ในเรือนจำเท่านั้น

5) ผู้กระทำผิดเป็นผู้มีมลทินเมื่อกลับเข้าสังคมมักจะไม่ได้รับการยอมรับ

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดใน อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ ทฤษฎีอาญา กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์วิญญูชนและเอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานและกระบวนการยุติธรรมมหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช)

กิจกรรม7.1.1

การใช้ทฤษฎีการแก้ไขฟื้นฟูปัจจุบันหน่วยงานใดเป็นผู้ดำเนินการ

บันทึกคำตอบกิจกรรม7.1.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่7ตอนที่7.1กิจกรรม7.1.1)

Page 11: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-11

เรื่องที่7.1.2ทฤษฎีที่มุ่งต่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด

สาระสังเขปผู้กระทำผิดมองความยุติธรรมทางอาญา

1) ไม่เท่าเทียมกันระหว่างครอบครัวคนจนกับครอบครัวคนรวย

2) เป็นการมุ่งใช้ความยุติธรรมทางอาญาที่ไม่ได้คำนึงถึงหลักความยุติธรรมทางสังคม

ดังนั้นการสร้างสังคมที่เป็นธรรมและยุติธรรมควรให้การศึกษาการนันทนาการการหางานและ

การสร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง การสร้างสังคมที่เป็นธรรมยังยอมรับในหลักการให้ความช่วยเหลือ และ

การสงเคราะห์แก่ผู้ใหญ่และประเด็นที่กระทำผิด3ดังนั้นจึงเกิดการปฏิรูปการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด

ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยทฤษฎีจิตวิทยาของซิกมันด์ฟรอยด์ (SigmundFreud) เสนอว่า อาชญากรรมไม่ใช่

การกระทำโดยเจตนาฝ่าฝืนบรรทัดฐานของสังคมเสมอไป แต่อาจเป็นปฏิกิริยาสนองตอบโดยไร้สำนึกต่อ

ปัญหาส่วนบุคคลผู้กระทำความผิดอาจเป็นคนเจ็บป่วยมากกว่าจะเป็นคนชั่วร้ายการฝ่าฝืนกฎหมายน่าจะ

เป็นการเจ็บป่วยมากกว่าการเจตนากระทำความผิดอย่างแท้จริง4

แนวคิดต่างๆส่วนใหญ่เชื่อว่าอาชญากรรมมิใช่เป็นการกระทำโดยเจตนาการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด

ควรเน้นที่การแก้ไขฟื้นฟูมากกว่าการลงโทษและต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพเฉพาะทางมาแก้ไขปัญหา

ดังกล่าวการที่เน้นที่การแก้ไขฟื้นฟูก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง2ประการคือศาลมีคำพิพากษาไม่แน่นอน

ตายตัวและการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างบุคคลต่างๆที่จะต้องการตัดสินใจเกี่ยวกับผู้กระทำความผิด

ก่อนการปฏิรูปครั้งที่ 2 นี้ ศาลเป็นผู้กำหนดโทษตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ถ้าศาลจะลงโทษ

จำคุกศาลก็จะกำหนดระยะเวลาจำคุกไว้ตายตัวแน่นอนแต่เมื่อมีการปฏิรูปการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด

เปลี่ยนไปกฎหมายยอมให้ศาลรอการกำหนดโทษได้จนกว่าจะมีการทำรายงานประมวลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ

จำเลยพร้อมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะต่อศาลพนักงานคุมประพฤติจิตแพทย์และคนอื่นๆจึงเป็นที่

ปรึกษาของศาล

ปัจจุบันการลงโทษต่อผู้กระทำผิดเป็นรายบุคคลเพื่อแก้ไขฟื้นฟูให้เป็นคนดี อาจกระทำเป็นราย

บุคคลหรือรายกลุ่มโดยยึดหลัก

1) การลงโทษต้องเหมาะสมกับบุคคล

2) เน้นการวิเคราะห์หาสาเหตุของการกระทำผิด

3) เน้นการแก้ไขที่สาเหตุ

4) แก้ไขถูกต้องผู้กระทำจะไม่กลับมากระทำความผิดอีก

5) เน้นแก้ไขผู้กระทำกลับเป็นคนดี

3อ่านเนื้อหาสาระในหนังสือยุติธรรมชุมชนหน้า75-814 เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานและกระบวนการยุติธรรมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Page 12: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-12

ทฤษฎีที่มุ่งต่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดมี2ทฤษฎีคือ

1. ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดโดยเจ้าพนักงาน(RehabilitationByTheOfficialTheory)เป็น

การปฏิรูปการลงโทษเพื่อแก้แค้นและทดแทนมาเป็นการลงโทษแบบมีมนุษยธรรมและให้การลงโทษจำคุก

แทนการลงโทษเนรเทศประหารชวีติหรอืการทรมานรา่งกายอนัเปน็แนวคดิและทฤษฎีของสำนกัอาชญาวทิยา

และทัณฑวิทยาสำนักคลาสสิก และต่อมาในสมัยสำนักนีโอ-คลาสสิก มีการคำนึงถึงเหตุยกเว้นความผิด

เหตุยกเวน้โทษและเหตุลดหยอ่นโทษได้มีการพฒันาระบบคมุประพฤติและระบบพกัการลงโทษอยา่งไรกต็าม

วิธีการนี้ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร อาชญากรรมไม่ลดลง จึงมีการปฏิรูปครั้งที่ 2 ซึ่งมีแนวคิดมาจากทฤษฎี

จิตวิทยา

ทฤษฎีจิตวิทยาของซิกมันด์ฟรอยด์ (SigmundFreud) และสังคมศาสตร์แขนงต่างๆตัวอย่าง

ทฤษฎีของฟรอยด์เสนอว่าอาชญากรรมไม่ใช่การกระทำโดยเจตนาฝ่าฝืนบรรทัดฐานของสังคมเสมอไปแต่

อาจเป็นปฏิกิริยาสนองตอบโดยไร้สำนึกต่อปัญหาส่วนบุคคลผู้กระทำความผิดอาจเป็นคนเจ็บป่วยมากกว่า

จะเป็นคนชั่วร้ายการฝ่าฝืนกฎหมายน่าจะเป็นการเจ็บป่วยมากกว่าการเจตนากระทำความผิดอย่างแจ้งชัด

ในขณะเดียวกันสังคมศาสตร์สาขาต่างๆชี้ให้เห็นอิทธิพลของกระบวนการเรียนรู้ชี้ให้เห็นอิทธิพล

ของวฒันธรรมยอ่ยและชี้ให้เหน็สภาพของชนชัน้ตลอดจนเชือ้ชาติวา่เปน็ทีม่าของการไม่ปฏบิตัิตามกฎหมาย

มากกว่าจงใจกระทำความผิดผลก็คือมีแนวโน้มที่จะมองผู้กระทำความผิดว่าเป็นผู้ถูกเอาเปรียบในสังคม

หรือเป็นทางสติปัญญาซึ่งมีสาเหตุมาจากความบกพร่องทางกายและทางจิตใจ

แนวความคิดดังกล่าวนี้ โดยส่วนใหญ่เชื่อว่ามีที่มาจากการเกิดขึ้นของสำนักอาชญาวิทยาและ

ทัณฑวิทยาสำนักโปซิติฟซึ่งมีซีซาร์ลอมโบรโซ(CesareLombroso,1835-1909)เป็นผู้นำและของสำนัก

ป้องกันสังคมซึ่งมีมาร์คแอนเซล(MarcAncel)เป็นผู้นำเนื่องจากทั้ง2สำนักนี้เห็นว่าอาชญากรรมมิใช่

เป็นการกระทำโดยเจตนา การปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดจึงควรเน้นที่การแก้ไขฟื้นฟูมากกว่าการลงโทษ

และต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพเฉพาะทางมาแก้ไขปัญหาดังกล่าวการที่เน้นการแก้ไขฟื้นฟูก่อให้เกิดการ

เปลี่ยนแปลง2ประการคือศาลมีคำพิพากษาไม่แน่นอนตายตัว(Indeterminatesentence)และการแบ่ง

ความรับผิดระหว่างบุคคลต่างๆที่จะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับผู้กระทำความผิด5

ก่อนการปฏิรูปการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดครั้งที่ 2 นี้ ชะตาชีวิตของผู้กระทำความผิดจะถูก

กำหนดทันทีที่พบว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องศาลเป็นผู้กำหนดโทษดังที่บัญญัติไว้ในกฎหมายถ้าศาลจะ

ลงโทษจำคกุศาลก็จะกำหนดระยะเวลาจำคกุไว้ตายตวัแนน่อนและยงัอาจกำหนดเรอืนจำที่จะใช้ในการลงโทษ

จำคุกด้วย เช่น ให้ขังเดี่ยวหรือให้ทำงานหนักแต่เมื่อมีการปฏิรูปการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดครั้งที่ 2

แล้วเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้ก็เปลี่ยนแปลงไปกฎหมายยอมให้ศาลรอการกำหนดโทษได้จนกว่าจะมีการทำ

รายงานประมวลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยพร้อมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะต่อศาลพนักงานคุมประพฤติ

จิตแพทย์ และคนอื่นๆกลายมาเป็นที่ปรึกษาของศาลความรับผิดชอบในการตัดสินใจจึงแบ่งแยกออกไป

ไม่เฉพาะระหว่างบุคคลที่ทำงานใกล้ชิดกับศาลเท่านั้น แต่ยังแบ่งไปให้บุคลากรของหน่วยงานราชทัณฑ์

5 เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานและกระบวนการยุติธรรมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Page 13: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-13

ทุกระดับด้วย คำพิพากษากำหนดโทษที่ไม่ตายตัวแน่นอนได้ถูกนำมาใช้เพื่อให้หน่วยงานราชทัณฑ์เป็น

ผู้กำหนดชะตาชีวิตของผู้กระทำความผิดโดยผ่านกระบวนการจำแนกประเภทและแก้ไขฟื้นฟ6ู

ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดดังกล่าวจะต้องใช้การให้คำปรึกษาแนะนำให้การเยียวยาทางจิตการ

สอนวิชาการตลอดจนการฝึกอบรมวิชาชีพแก่ผู้กระทำความผิด

2. ทฤษฎีการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดโดยประชาชนและชุมชนร่วมกับเจ้าพนักงาน (Rein-

tegrationTheory) แนวคิดคือกระบวนการยุติธรรมเป็นระบบงานเกี่ยวกับชุมชน จึงต้องทำงานร่วมกัน

ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอื่นๆ ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และการแก้ไขฟื้นฟู

ผู้กระทำความผดิอกีแนวคดิหนึง่คอืในระบอบประชาธปิไตยประชาชนเปน็เจา้ของอำนาจอธปิไตยประชาชน

จึงควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของรัฐ เช่นประชาชนและชุมชนที่ผู้กระทำความผิดที่พ้นโทษไปแล้วจะ

กลับไปอยู่ด้วยจะต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดดังกล่าวให้มีงานทำให้อยู่ในสังคมได้

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดใน เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานและกระบวนการ

ยุติธรรมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

กิจกรรม7.1.2

ทฤษฎีจิตวิทยาของซิกมันด์ฟรอยด์มองอาชญากรว่าเป็นบุคคลประเภทใด

บันทึกคำตอบกิจกรรม7.1.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่7ตอนที่7.1กิจกรรม7.1.2)

6 เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานและกระบวนการยุติธรรมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Page 14: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-14

ตอนที่7.2

การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในประเทศไทยและต่างประเทศ

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่7.2แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่7.2.1 การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในประเทศไทย

เรื่องที่7.2.2 การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในต่างประเทศ

แนวคิด1. ประเทศไทยมีการใช้วิธีการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดมาตั้งแต่กฎหมายลักษณะอาญา

ร.ศ.127ปัจจุบันใช้ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟูทั้ง2ทฤษฎีคือโดยเจ้าพนักงานและโดยประชาชน

มีส่วนร่วม

2. ประเทศต่างๆก็ใช้ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟูคล้ายประเทศไทยซึ่งที่จะกล่าวถึงคือประเทศญี่ปุ่น

ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่7.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายวินิจฉัยและวิเคราะห์การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในประเทศไทยได้

2. อธิบายวินิจฉัยและวิเคราะห์การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในต่างประเทศได้

Page 15: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-15

เรื่องที่7.2.1การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในประเทศไทย

สาระสังเขป

วิวัฒนาการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในประเทศไทยกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 กำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดไว้ 6 สถาน อันได้แก่

การประหารชีวิตจำคุกปรับการให้อยู่ภายในเขตที่อันมีกำหนดการริบทรัพย์และการเรียกประกันทัณฑ์บน

จากผู้ที่แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อผู้อื่นนั้น

กฎหมายวางวิธีปฏิบัติต่อบุคคลบางจำพวกเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันมิให้กระทำความผิด หรือฝึก

และอบรมให้กลับตัวเป็นคนดีคือ

1. กฎหมายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนเด็กอายุระหว่าง7ปีถึง14ปีศาลอาจดำเนินการ

- ว่ากล่าวตักเตือนเด็กหรือบิดามารดาผู้ปกครองเด็กแล้วปล่อยตัวไป

- อ้างข้อกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นมิให้ก่อเหตุร้ายขึ้นตลอดเวลาที่

ศาลกำหนดโดยศาลจะสั่งคุมประพฤติหรือใช้มาตรการดังต่อไปนี้

- สั่งคุมประพฤติเด็ก

- ส่งตัวเด็กไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกและอบรมก็ได้

เด็กอายุ 14 ปี ถึง 17 ปี ศาลจะดำเนินการเหมือนเด็กอายุ 7 ปี ถึง 14 ปี ก็ได้ หรือดำเนินการ

ต่อไปนี้

- ลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญาโดยลดอัตราโทษลงกึ่งหนึ่งก็ได้

- เปลี่ยนโทษจำคุกหรือกักกันเป็นที่กักขังที่ไม่ใช่เรือนจำ

- วางเงื่อนไขในการคุมประพฤติ

2. กฎหมายวางวิธีรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษบุคคลที่ศาลพิจารณาว่าได้กระทำผิดแล้ว

ปล่อยตัวไป โดยจะกำหนดเงื่อนไขในการคุมประพฤติบุคคลนั้นๆด้วยหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้

บุคคลนั้นกระทำความผิดขึ้นภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด

3. กฎหมายกกักนัผู้มีสนัดานเปน็ผู้รา้ยหรอืผู้กระทำผดิหลายครัง้เพือ่ปอ้งกนัมิให้กอ่เหตุรา้ยขึน้อกี

4. กฎหมายผู้พ้นโทษหรือบุคคลที่ขาดความรู้ที่จะประกอบอาชีพสงเคราะห์

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในบทความกฎหมายในส่วนการป้องกัน โดยหลวงจักรปราณี

ศรีศิลวิสุทธิ์ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม(www.library.coj.go.th))

Page 16: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-16

กิจกรรม7.2.1

กฎหมายลักษณะอาญาร.ศ.127กำหนดโทษไว้อย่างไร

บันทึกคำตอบกิจกรรม7.2.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่7ตอนที่7.2กิจกรรม7.2.1)

Page 17: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-17

เรื่องที่7.2.2การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในต่างประเทศ

สาระสังเขปทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำความผิดนี้ มีผู้นำมาใช้อย่างแพร่หลายซึ่งอาจทำหลายทาง เช่น โดยการ

บัญญัติเงื่อนไขของการกำหนดโทษเอาไว้ในประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการแก้ไขผู้กระทำผิดให้กลับตัว

เป็นคนดีโดยบำบัดตัดโอกาสหรือจำกัดความสามารถในการกระทำความผิดเช่น

ประเทศญี่ปุ่นในมาตรา47กำหนดเงื่อนไขชัดเจนว่า

“(1)โทษที่จะลงนั้นจะต้องได้สัดส่วนกับความรับผิดของผู้กระทำผิด

(2)โทษที่จะลงนั้นจะต้องเพื่อจุดประสงค์ที่จะป้องกันไม่ให้มีการกระทำผิดเกิดขึ้น และแก้ไข

ผู้กระทำผิดให้กลับตัวเป็นคนดี โดยดูจากสภาวะแห่งอายุบุคลิกภาพตำแหน่งหน้าที่ และสภาวะแวดล้อม

ของผู้กระทำผิดมูลเหตุชักจูงให้กระทำผิดผลเสียอันเกิดขึ้นแก่สังคมจากการกระทำผิดนั้น และความรู้สึก

ผิดชอบของผู้กระทำผิด”

ในร่างประมวลกฎหมายอาญาเยอรมันมีบทบัญญัติคล้ายคลึงกับร่างประมวลกฎหมายอาญาญี่ปุ่น

กล่าวคือเงื่อนไขของการกำหนดโทษบัญญัติไว้เพื่อวางแนวทางให้ศาลรู้ว่าจะต้องคำนึงถึงอะไรบ้างในการที่

จะกำหนดโทษขั้นสูงต่ำแตกต่างกันในความผิดฐานเดียวกันเพราะในทฤษฎีกฎหมายอาญาปัจจุบันโทษทัณฑ์

ที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดจะต้องเหมาะสมแก่ตัวผู้กระทำความผิดมากเสียกว่าที่จะให้โทษนั้นเหมาะสมกับความ

ผิดที่ได้กระทำนอกจากประมวลกฎหมายอาญาเยอรมันและญี่ปุ่นแล้วประมวลกฎหมายอาญาสหรัฐอเมริกา

ก็ใช้หลักเช่นเดียวกัน

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในอภิรัตน์ เพ็ชรศิริ (2552)ทฤษฎีอาญากรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์วิญญูชน)

การมีสว่นรว่มของประชาชนและชมุชนในการปอ้งกนัอาชญากรรมและการแกไ้ขฟืน้ฟูผู้กระทำ

ผิดในประเทศญี่ปุ่นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมการดำเนินการทั้งอาสาสมัครของหน่วยงาน

รัฐและไม่ได้เป็นอาสาสมัครแต่มาช่วยงานสังคมเป็นครั้งคราว

องค์กรภาคประชาชนที่มีบทบาทในการป้องกันอาชญากรรมได้แก่

1. สมาคมป้องกันอาชญากรรม เป็นสมาคมที่มีเครือข่ายดำเนินงานทั่วประเทศตั้งแต่ระดับเมือง

ถึงระดับหมู่บ้านมีการประสานงานกับสถานีตำรวจสมาชิกของสมาคมก็คือประชาชนธรรมดานั่นเองสมาชิก

มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมของตำรวจด้วยการปฏิบัติงานการให้กำลังใจและการให้ความร่วมมือเช่นการรายงาน

เหตุอาชญากรรมไปยังตำรวจเป็นต้นสมาคมป้องกันอาชญากรรมดำเนินการในรูปแบบต่างๆเช่น

Page 18: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-18

1) สหภาพผู้ประกอบอาชีพเพื่อการป้องกันอาชญากรรม

2) คณะกรรมการตดิตอ่ระหวา่งโรงเรยีนกบัตำรวจให้คำแนะนำเยาวชนปอ้งกนัไม่ให้กระทำผดิ

2. สมาคมเพื่อความปลอดภัยด้านจราจร เป็นองค์กรอาสาสมัครป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากการ

จราจรมีการดำเนินงานอย่างกว้างขวางทั้งในระดับตำบลอำเภอและระดับชาติสมาชิกประกอบด้วยผู้ขับขี่

เจ้าของรถผู้บริหารธุรกิจขนส่งและประชาชนอาสาสมัครสมาชิกมีหน้าที่รณรงค์ด้านความปลอดภัยจราจร

โดยให้ความรู้ด้านความปลอดภัยจราจรฟื้นฟูความรู้ให้กับผู้ขับขี่และอื่นๆนอกจากนี้ยังมีกลุ่มอาสาสมัคร

อื่นๆที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการป้องกันอุบัติเหตุจราจร

3. สมาคมอาสาสมัครคุมประพฤติ แม้ว่าภารกิจสำคัญของอาสาสมัครคุมประพฤติ คือ การมี

ส่วนร่วมในการแก้ไขฟื้นฟูและสงเคราะห์ผู้กระทำผิด แต่อาสาสมัครคุมประพฤติก็ยังทำหน้าที่เกี่ยวข้อง

กับการป้องกันอาชญากรรมอีกด้วย อาสาสมัครคุมประพฤติในประเทศญี่ปุ่นจึงทำงานร่วมกับพนักงานคุม

ประพฤติกระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานต่างๆทั้งโรงเรียนเจ้าหน้าที่ตำรวจและองค์กรอาสาสมัครอื่นๆ

อย่างใกล้ชิดในการจัดกิจกรรมต่างๆในการป้องกันอาชญากรรมทั่วประเทศเพื่อกระตุ้นเตือนให้สาธารณะ

เห็นความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันอาชญากรรมเรียกกิจกรรมนี้ว่า“การเคลื่อนไหวเพื่อสังคมที่

แจ่มใส”(MovementforBrighterSociety)ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆได้แก่

1) การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในที่สาธารณะเช่นการเดินพาเหรดรณรงค์การจัดแสดง

ดนตรี การจัดนิทรรศการการจำหน่ายสินค้าเพื่อการรณรงค์ การเสนอบทความในหนังสือพิมพ์ การเสนอ

ข้อความประชาสัมพันธ์หรือรณรงค์ในป้ายโฆษณาในเขตดาวน์ทาวน์หรือสนามกีฬาเป็นต้น

2) จัดการเสวนาในเวทีสาธารณะเกี่ยวกับปัญหาการกระทำผิดของเด็ก

3) จัดการประชุมหรืออภิปรายในกลุ่มเพื่อนบ้าน

4) สนับสนุนการจัดกิจกรรมในชุมชน ได้แก่ กิจกรรมการเลี้ยงดูเด็กสำหรับแม่ที่ยังเยาว์

กิจกรรมการทำงานบริการสังคมเป็นต้น

5) ให้ทุนในการจัดกิจกรรมเพื่อช่วยในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด ได้แก่ การจัดคอนเสิร์ต

การกุศลการขายสินค้าหารายได้เพื่อการกุศลการรับบริจาคเป็นต้น

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดการมีส่วนร่วมของประชาชน/ชุมชนที่ดีเด่นในประเทศญี่ปุ่นจนหลายๆประเทศนำมาเป็นแบบอย่าง

ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วยคือ อาสาสมัครคุมประพฤติ อาสาสมัครคุมประพฤติ (volunteer probation

officers,VPOs)คือประชาชนที่เข้ามาช่วยงานของพนักงานคุมประพฤติอาชีพ(ProfessionalProbation

Officers,PPOs)ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด2กลุ่มคือ(1)ผู้ถูกคุมความประพฤติ(probationer)และ

(2) ผู้ได้รับการพักการลงโทษ (parolee)ทุกเพศทุกวัย ให้ผู้กระทำผิดเหล่านี้สามารถแก้ไขฟื้นฟูตนเองได้

ไม่กระทำผิดซ้ำอีกกลับตนเป็นพลเมืองดีประกอบสัมมาอาชีพ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าของสังคมและ

อาสาสมคัรคมุประพฤติยงัชว่ยเหลอืชมุชนในการปอ้งกนัอาชญากรรมอกีดว้ยกฎหมายบญัญตัิให้อาสาสมคัร

คุมประพฤติมีสถานะเป็นเจ้าพนักงานของรัฐที่ไม่ถาวร(non-permanentgovernmentofficials)

Page 19: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-19

อาสาสมัครคุมประพฤติมีภารกิจสำคัญ 2ประการคือ (1) การช่วยผู้กระทำผิดในการแก้ไขฟื้นฟู

ตนเองได้แก่การให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้ถูกคุมประพฤติและผู้ที่รับการพักการลงโทษและก่อนที่กรม

ราชทณัฑ์จะปลอ่ยตวัผู้ตอ้งขงัรายใดอาสาสมคัรคมุประพฤติจะรายงานขอ้มลูเกีย่วกบัสภาพแวดลอ้มที่บคุคล

นั้นอยู่อาศัยเมื่อได้รับการปล่อยตัวตลอดจนสืบเสาะข้อเท็จจริงสำหรับผู้ที่ได้รับการพิจารณาอภัยโทษ

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดใน เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานและกระบวนการ

ยุติธรรมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในประเทศอังกฤษประเทศอังกฤษมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการยุติธรรมในทางอาญาของประเทศอังกฤษ(Criminal

JusticeAct,1948)มีวิธีการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดเปลี่ยนแปลงจากการลงโทษจำคุกและเฆี่ยนเช่น

1. การคุมประพฤติProbationคือถ้าศาลเห็นว่าตามพฤติการณ์ทั่วๆไปไม่สมควรจำคุกจำเลย

ศาลอาจสั่งปล่อยตัวจำเลยไปโดยให้อยู่ในความควบคุมของพนักงานคุมประพฤติและอาจสั่งให้จำเลยไปอยู่

ในสถานที่ที่กำหนดไว้หรือให้กลับบ้านของตนเองก็ได้การคุมประพฤติมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า1ปีและ

ไม่เกิน3ปีถ้าผู้ถูกคุมประพฤติทำผิดเงื่อนไขแห่งการคุมประพฤติก็อาจจะถูกปรับไม่เกินครั้งละ10ปอนด์

2. การเอาตัวไว้อบรมและการกักคุมเพื่อป้องกันการกระทำผิด (Corectiver Training and

PreventiveDetention)บุคคลที่อายุไม่น้อยกว่า21ปีถ้าต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดขึ้นและปรากฏว่า

เคยต้องโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า2ครั้งภายหลังที่อายุครบ17ปีแล้วอาจถูกควบคุมตัวไว้อบรมได้เป็นเวลา

ไม่น้อยกว่า2ปีและไม่มากกว่า4ปีบุคคลที่อายุกว่า30ปีขึ้นไปซึ่งเคยต้องโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า3ครั้ง

ภายหลังที่มีอายุครบ 17ปีแล้ว อาจถูกศาลสั่งให้กักคุมตัวไว้ในเรือนจำเพื่อป้องกันการกระทำผิดเป็นเวลา

ไม่น้อยกว่า 5 ปี และไม่เกิน 14ปี ในระหว่างนี้ศาลจะสั่งให้ปล่อยตัวภายใต้การสอดส่องของเจ้าพนักงาน

ก็ได้

การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในประเทศฝรั่งเศสกฎหมายฝรั่งเศสบัญญัติวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้3กรณีคือ

1. การตัดเสรีภาพสำหรับคนวิกลจริต สำหรับคนติดสุราและติดยาเสพติดการกักกันผู้ที่กระทำ

ผิดหลายครั้งสำหรับคนขอทานและคนเร่ร่อน

2. การกำจดัเสรภีาพการหา้มมิให้ผู้ที่ตอ้งคำพพิากษาวา่ได้กระทำความผดิประกอบอาชพีหรอืธรุกจิ

บางอย่างเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเช่นอาชีพนางผดุงครรภ์และการทำงานธนาคารเป็นต้น

การห้ามมิให้อยู่ในสถานที่บางแห่งภายหลังที่รับโทษแล้ว เก็บตัวบุคคลที่ต้องโทษจำคุกเกินกว่า 1 ปี ไว้ใน

สถานที่พิเศษห้ามมิให้อยู่ในท้องที่เดียวกับบุคคลที่ถูกตนขู่เข็ญว่าจะทำร้ายต่อร่างกายหรือทรัพย์สิน เว้น

แต่จะได้ทำทัณฑ์บนไว้ต่อศาล

Page 20: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-20

3. การปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์สินการริบทรัพย์สินที่ใช้ในการปลอมแปลงหรือที่ใช้ในการซื้อการขาย

หรือการมีไว้โดยผิดกฎหมายการปิดสถานที่ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมซึ่งใช้สำหรับกระทำความผิด

การยุบเลิกนิติบุคคลซึ่งกรรมการหรือผู้จัดการถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่า1ปี

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในบทความกฎหมายในส่วนการป้องกัน โดยหลวงจักรปราณี

ศรีศิลวิสุทธิ์ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม(www.library.coj.go.th))

กิจกรรม7.2.2

ประเทศญี่ปุ่นใช้วิธีการใดในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด ซึ่งเป็นแบบอย่างให้หลายประเทศ

ดำเนินการตามแบบของประเทศญี่ปุ่น

บันทึกคำตอบกิจกรรม7.2.2

(โปรดอ่านคำตอบจากแนวตอบกิจกรรมในแนวการศึกษาหน่วยที่7ตอนที่7.2กิจกรรม7.2.2)

Page 21: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-21

แนวตอบกิจกรรมหน่วยที่7

ทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิด

ตอนที่7.1ความเป็นมาและทฤษฎีการแก้ไขผู้กระทำผิด

แนวตอบกิจกรรม7.1.1

ปัจจุบันกระทรวงยุติธรรมโดยกรมคุมประพฤติเป็นผู้ใช้ทฤษฎีการแก้ไขฟื้นฟู

แนวตอบกิจกรรม7.1.2

ซิกมันด์ฟรอยด์เสนอทฤษฎีทางจิตวิทยาโดยมองว่าอาชญากรเป็นคนเจ็บเป็นคนป่วยมากกว่าที่

จะเป็นคนชั่วร้ายการที่อาชญากรกระทำความผิดลงไปเป็นเพราะความเจ็บป่วยนั่นเอง

ตอนที่7.2การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในประเทศไทยและต่างประเทศ

แนวตอบกิจกรรม7.2.1

กฎหมายลักษณะอาญาร.ศ.127กำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดไว้6สถานได้แก่1)ประหาร

ชีวิต2)จำคุก3)ปรับ4)การให้อยู่ในเขตที่กำหนด5)การริบทรัพย์และ6)การเรียกประกันทัณฑ์บน

แนวตอบกิจกรรม7.2.2

ประเทศญี่ปุ่นใช้การมีส่วนร่วมของประชาชนหรือชุมชนในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด คือ อาสา

สมัครคุมประพฤติเข้ามาช่วยงานคุมประพฤติของพนักงานคุมประพฤติอาชีพในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด

2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ถูกคุมประพฤติ และ 2) ผู้ได้รับการพักการลงโทษ ซึ่งประเทศต่างๆ ใช้เป็นแบบอย่าง

รวมทั้งประเทศไทยด้วย

Page 22: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-22

แบบประเมินตนเองหลังเรียนหน่วยที่7

วัตถุประสงค์ เพือ่ประเมนิความกา้วหนา้ในการเรยีนรู้ของนกัศกึษาเกีย่วกบัเรือ่ง“ทฤษฎีการแกไ้ขผู้กระทำ

ผิด”

คำแนะนำ อ่านคำถามแล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างนักศึกษามีเวลาทำแบบประเมินชุดนี้30นาที

1. เดิมการลงโทษผู้กระทำผิดใช้ทฤษฎีใดต่อมามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

2. การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดมีหลักการอย่างไร

Page 23: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี

7-23

เฉลยแบบประเมินผลตนเองหน่วยที่7

ก่อนเรียน1. ทฤษฎีการลงโทษมีหลายทฤษฎี เช่นทฤษฎีลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนทฤษฎีการลงโทษเพื่อ

แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดทฤษฎีป้องปรามเป็นต้นทฤษฎีที่มุ่งเน้นให้ผู้กระทำความผิดได้กลับตัวเป็นคนดีและ

สามารถกลับเข้าสู่สังคมตามปกติได้คือทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟู

2. ทฤษฎีการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดมี2ทฤษฎีได้แก่

1) ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดโดยเจ้าพนักงาน

2) ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดโดยประชาชนและชุมชนร่วมกับเจ้าพนักงาน

3. ประเทศฝรั่งเศสบัญญัติวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้3กรณีคือ

1) การตัดเสรีภาพสำหรับคนวิกลจริตคนติดสุราและติดยาเสพติดขอทานและคนเร่ร่อน

2) การกำจัดเสรีภาพโดยห้ามผู้ต้องคำพิพากษาประกอบอาชีพหรือธุรกิจบางอย่าง

3) การลงโทษเกี่ยวกับทรัพย์การริบทรัพย์การปิดสถานที่ประกอบการค้าเป็นต้น

4. ตามกฎหมายอาญามาตรา 56 ให้อำนาจศาลสั่งรอการลงอาญาหรือรอการลงโทษได้ในกรณี

ความผิดที่มีโทษไม่เกิน 3 ปี โดยศาลจะต้องพิจารณาถึงความผิด อายุ การศึกษา ความประพฤติ และ

พฤติการณ์อื่นๆ เพื่อจะพิจารณาว่าผู้กระทำมีเจตนาชั่วร้ายอย่างไรมีโอกาสกลับตัวเป็นคนดีได้หรือไม่ ถ้า

เห็นว่าความผิดที่กระทำไม่ได้เกิดจากจิตใจชั่วร้ายผู้กระทำมีโอกาสกลับตัวเป็นคนดีและเข้าสู่สังคมได้ศาล

ก็จะพิพากษาให้รอลงอาญาหรือรอการลงโทษผู้กระทำผิด ซึ่งเป็นการใช้ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟู และเป็นทฤษฎีที่

มุ่งเน้นให้โอกาสผู้กระทำผิดได้กลับตัวและเข้าสู่สังคมได้

หลังเรียน1. เดิมการลงโทษผู้กระทำผิดใช้ทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้แค้น ซึ่งไม่ได้ผลในการลดปัญหา

อาชญากรรม จึงได้หันมาใช้ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟู ซึ่งทฤษฎีนี้มีมาแต่สมัยคริสตกาลแล้ว เช่น การไถ่บาป

เป็นต้น

2. การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดมีหลักการคือการลงโทษผู้กระทำผิดโดยวิธีการที่ให้โอกาสได้กลับ

ตัวเป็นคนดีและให้โอกาสกลับเข้าสู่สังคมได้

Page 24: หน่วย ที่ ทฤษฎี การ แก้ไข ผู้ กระทำ ผิดlaw.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-7.pdf · ประเทศฝรั่งเศสกำหนดวิธี