Click here to load reader

 · Web viewค าเฉล ยผลการทดสอบทางการศ กษาระด บชาต (O-NET, NT,PISA) ของน กเร ยนช นประถมศ

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา

7

รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา

(Self - Assessment Report : SAR)

โรงเรียนวัดขะจาว

ปีการศึกษา 2561

ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

คำนำ

เอกสารรายงานประจำปีของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2561 ฉบับนี้ โรงเรียนวัดขะจาวได้จัดทำขึ้นตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ที่ระบุให้สถานศึกษาจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน ซึ่งโรงเรียน ได้ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่เป็นผลมาจากการดำเนินงานทั้งหมดของสถานศึกษา ซึ่งครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจำนวน 3 มาตรฐานคือ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และได้นำเสนอรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการสถานศึกษาให้ความเห็นชอบเรียบร้อยแล้วเอกสารรายงานประจำปีของสถานศึกษาฉบับนี้ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนที่ 1ข้อมูลพื้นฐาน ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาระดับปฐมวัย ส่วนที่ 3 ภาคผนวก

โรงเรียนวัดขะจาวขอขอบคุณคณะกรรมการดำเนินงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนที่มีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพภายใน และการจัดทำเอกสารรายงานฉบับนี้ จึงหวังว่าเอกสารรายงานฉบับนี้ จะเป็นสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในปีถัดไป และเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของผู้รับผิดชอบด้านการศึกษา ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการรองรับการนิเทศ ติดตาม โดยหน่วยงานต้นสังกัด และการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ต่อไป

โรงเรียนวัดขะจาว

มีนาคม 2562

สารบัญ

เรื่อง หน้า

คำนำ 2

สารบัญ 3

ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน

1.1. ข้อมูลทั่วไป 4

1.2. ข้อมูลครูและบุคลกร 5

1.3. ข้อมูลนักเรียน 6

ส่วนที่ 2 ผลการประเมินระดับปฐมวัย

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก12

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา17

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ20

ส่วนที่ 3 ผลการประเมินระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน22

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา28

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ33

บทสรุปของผู้บริหาร37

ส่วนที่ 4 ภาคผนวก40

เอกสารรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา

โรงเรียนวัดขะจาว

ปีการศึกษา 2561

ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

1.1 ข้อมูลทั่วไป

ชื่อโรงเรียน วัดขะจาว รหัส 1050130025 ที่ตั้ง 148/1 หมู่ 2 ตำบล ฟ้าฮ่าม .อำเภอ เมืองเชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่ โทรศัพท์ 05324028 โทรสาร 053240288 .e-mail : [email protected] website : www.watkachaoschool.com .

1.2 แนวทางการจัดการศึกษา

ปรัชญาการศึกษา “การศึกษาพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม เน้นการจัดการศึกษาที่สนองความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น” .

วิสัยทัศน์ “โรงเรียนวัดขะจาวเป็นศูนย์กลางจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนสนองความต้องการของท้องถิ่นและผู้เรียนทุกประเภท เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตห่างไกลยาเสพติด ปฏิบัติตนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีความรู้คู่คุณธรรม เสริมสร้างสังคม รักษ์สิ่งแวดล้อม มีทักษะด้านเทคโนโลยี สืบสานภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่นมุ่งสู่มาตรฐานการศึกษาและความเป็นอาเซียน” .

พันธกิจ โรงเรียนได้กำหนดการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ มุ่งสู่ความสำเร็จของหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนโดยกำหนดเป็นภารกิจดังนี้

1. จัดกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนทุกคนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา

ความรู้ คุณธรรมจริยธรรม  และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต  ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

2. พัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย  เสริมสร้างสังคม  รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและส่งเสริมศาสนา นาฏศิลป์ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น 

ภูมิปัญญาไทย  และความรู้อันเป็นสากล  พร้อมเข้าสู่สมาคมอาเซียน

3. จัดกระบวนการเรียนรู้มุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องให้ผู้เรียนเกี่ยวกับการเมือง  การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

4. ผู้เรียนทุกคนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5. ผู้เรียนทุกคนรู้จักพึ่งตนเอง  ห่างไกลยาเสพติด  มีความริเริ่มสร้างสรรค์  ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

เอกลักษณ์ “เรียนรู้แบบบูรณาการ” .

หมายถึง การบูรณาการทุกกลุ่มสาระวิชาใน 3 หน่วยกิจกรรมได้แก่ .

“รักษ์โลกให้น่าอยู่ เชิดชูประเพณี อยู่ดีมีสุข” โดย 3 หน่วยบูรณาการจัดกิจกรรมดังนี้ หน่วยรักษ์โลกให้น่าอยู่ จัดการเรียนรู้บูรณาการผ่านกิจกรรม “นักสืบสายน้ำน้อย” หน่วยเชิดชูประเพณี จัดการเรียนรู้บูรณาการผ่านกิจกรรม “ประเพณีลอยกระทง” หน่วยอยู่ดีมีสุขจัดการเรียนรู้บูรณาการผ่านกิจกรรม “อย.น้อย” .

อัตลักษณ์ “สำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม” .

หมายถึง ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ดูแลสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแม่น้ำปิงที่เป็นแม่น้ำสายสำคัญคู่จังหวัดเชียงใหม่และอยู่ใกล้กับโรงเรียนวัดขะจาว ผ่านกิจกรรมนักสืบสายน้ำ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่บูรณาการทุกกลุ่มสาระเข้าด้วยกัน .

1.3 ข้อมูลบุคลากรปีการศึกษา 2561

1) จำนวนบุคลากรจำแนกตามตำแหน่ง เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในตำแหน่ง จำนวนชั่วโมง

ชื่อ – สกุล

ตำแหน่ง

เพศ

วุฒิการศึกษาสูงสุด

วิทยฐานะ

อายุประสบ

การณ์

จน.ชม.ที่สอน/สัปดาห์

จน.ชม.ที่ได้พัฒนา/ปี. 61

ช.

ญ.

1. นายอภิชาติ วงศ์คีรี

ผู้อำนวยการ

ปริญญาตรี

ชำนาญการพิเศษ

39

6

20

2. นางอัมพร สุคำมา

ครู

ปริญญาโท

ชำนาญการพิเศษ

38

18

20

3. นางเพ็ญพรรณ ยุวพัฒน

ครู

ปริญญาตรี

ชำนาญการพิเศษ

36

19

20

4. นางศิราณี โกฎแก้ว

ครู

ปริญญาโท

ชำนาญการพิเศษ

25

19

20

5. นางรสรินทร์ ตันนรา

ครู

ปริญญาโท

ชำนาญการพิเศษ

8

23

20

6. นางสาวจตุพร ธนันไชย

ครู

ปริญญาโท

ชำนาญการพิเศษ

9

21

20

7. นางเพ็ญทิวา อินทวงศ์

ครู

ปริญญาตรี

ชำนาญการ

31

30

20

8. นางเรณู นีระ

ครู

ปริญญาตรี

ชำนาญการ

28

21

20

9. นางรุ่งกานต์ เสาวภาคย์สมบูรณ์

ครู

ปริญญาตรี

ชำนาญการ

17

21

20

10. นางสาวสุวิกา แสนปัญญา

ครู

ปริญญาโท

ชำนาญการ

7

30

20

11. นางสาวกรรณิกา สุวรรณโชติ

ครูผู้ช่วย

ปริญญาตรี

-

1

27

20

12. นายพชร วงศ์เมฆ

ครูผู้ช่วย

ปริญญาตรี

-

6 เดือน

20

20

13. นางธนพร สุวรรณเพิ่มพูน

พนักงานราชการ

ปริญญาตรี

-

12

30

20

14. นายณัฐวุฒิ อินตา

พนักงานราชการ

ปริญญาตรี

-

3

30

20

13. นางสาวอำภา อุปคำ

ครูอัตราจ้าง

ปริญญาตรี

-

7

20

20

14. นางสาวแก้วลูน กามูล

ครูอัตราจ้าง

ปริญญาตรี

-

3

30

20

15. นายดาวิ จะลอ

นักศึกษาฯ

ม.6

-

-

8

-

16. นายธีระพงษ์ คำวาด

นักศึกษาฯ

ม.6

-

-

8

-

17. นางสาวธันย์ชนก สิวิจี๋

นักศึกษาฯ

ปวช.

-

-

8

-

18. นางสาวธิดา เปลา

ธุรการ

ปริญญาตรี

-

6

-

20

19. นายโยธิน วีระคำ

พี่เลี้ยงเด็กพิการ

ปริญญาตรี

-

4

12

20

20. นางสาวจามหอม ลุงดู๋

พี่เลี้ยงอนุบาล

ม.3

-

8

30

-

21. นายจักรพงศ์ ไชยชนะ

ลูกจ้างประจำ

ม.6

-

28

-

20

-จำนวนครูที่สอนตรงวิชาตรงเอก ...............13................ คน คิดเป็นร้อยละ ........86.67............

-จำนวนครูที่สอนตรงความถนัด ...............13................ คน คิดเป็นร้อยละ ........86.67............

-สาขาที่ขาดแคลนครูวิชา………ประถม,คอมพิวเตอร์……จำนวน…………….2........….……คน

1.4 ข้อมูลนักเรียนปีการศึกษา 2561

1) จำนวนนักเรียนจำแนกตามระดับชั้น เพศ

ระดับชั้น

เพศ

รวม(คน)

หมายเหตุ

(จำนวนห้องเรียนที่เปิด)

ชาย

หญิง

-อนุบาล 1 (อายุ 3-4 ปี)

-

-

-

-

-อนุบาล 2 (อายุ 4-5 ปี)

13

15

28

1

-อนุบาล 3 (อายุ 5-6 ปี)

9

17

26

1

รวม

22

32

54

2

-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

31

19

50

1

-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

17

14

31

1

-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

17

11

28

1

-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

19

18

37

1

-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

16

12

28

1

-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

14

16

30

1

รวม

114

90

204

6

รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด

136

122

258

8

2) จำนวนนักเรียนลักษณะพิเศษปีการศึกษา 2561 จำแนกตามคุณลักษณะ

ระดับชั้น

คุณลักษณะ

พิการ

ด้อยโอกาส

ความสามารถพิเศษ

-อนุบาล 1 (อายุ 3-4 ปี)

-

-

-

-อนุบาล 2 (อายุ 4-5 ปี)

3

1

-

-อนุบาล 3 (อายุ 5-6 ปี)

3

2

-

รวม

6

3

-

-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

12

32

-

-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

5

11

2

-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

12

15

1

-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

7

26

4

-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

12

13

6

-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

6

14

7

รวม

53

111

20

รวมจำนวนทั้งหมด

59

114

20

1.5 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET,NT,PISA)

ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET, NT,PISA) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำแนกตามรายวิชาหรือด้าน (ควรมีข้อมูลย้อนหลังมากกว่า 2 ปีเพื่อดูแนวโน้ม)

ที่

กลุ่มสาระ

ผลการประเมิน (ค่าเฉลี่ย) ปีการศึกษา

หมายเหตุ

(แนวโน้มที่จะเป็นไปได้)

2559

2560

2561

ผลการทดสอบ NT

1

ความสามารถด้านภาษา

57.48

66.21

72.95

มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

2

ความสามารถด้านการคำนวณ

39.65

47.45

71.04

มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

3

ความสามารถด้านเหตุผล

63.33

60.86

64.00

มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

4

ค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 3 ด้าน

53.67

58.17

69.33

มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ผลการทดสอบระดับชาติพื้นฐานO-NET

1

กลุ่มสาระภาษาไทย

59.66

51.86

61.98

มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

2

กลุ่มสาระคณิตศาสตร์

40.83

37.33

38.70

มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

3

กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์

42.21

37.07

42.07

มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

4

กลุ่มสาระภาษต่างประเทศ

33.65

39.50

40.43

มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

1.6 รางวัลที่โรงเรียนได้รับในรอบปีการศึกษา 2561

ที่

ชื่อรางวัล

หน่วยงานที่มอบ/กิจกรรม,วาระโอกาส

วัน/เดือน/ปี ที่รับมอบ

รางวัล/โล่/เกียรติบัตรของโรงเรียน

1.

เกียรติบัตรรางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปี 2561

สพป. เชียงใหม่เขต 1

30 มค.61

2

โรงเรียนดีเด่นขนาดกลาง ปีการศึกษา 2561

สพป. เชียงใหม่เขต 1

16 ม.ค.62

3

สถานศึกษาศึกษาต้นแบบการจัดการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ 2561”

สพป. เชียงใหม่เขต 1

5 ก.ย.61

4

โครงการห้องเรียนต้นแบบศีลธรรม 4.0

บ-ว-ร ดีศรีเวียงพิงค์ ร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านศีลธรรม

เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่

12 ธ.ค.61

รางวัล/โล่/เกียรติบัตรของคณะครู

1

นางสาวสุวิกา แสนปัญญา

เกียรติบัตรสนับสนุนการจัดโครงการจัดการแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด

เทศบาลตำบลฟ้าฮ่าม

24 ก.พ.62

2

นางสาวจตุพร ธนันไชย รางวัล ครูดีของแผ่นดินขั้นพื้นฐาน

มูลนิธิครูดีของแผ่นดิน

16 ม.ค.62

3

นางสาวจตุพร ธนันไชย วิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา

สพป. เชียงใหม่เขต 1

14 พ.ค.61

4

นางเพ็ญทิวา อินทวงศ์ นำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม “การแข่งขันตอบปัญหาธรรมะ การแข่งขันสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะ การแข่งขันสวดมนต์พื้นเมืองล้านนา” ระดับประถมศึกษา

วัดฟ้าฮ่าม

15 ธ.ค.61

5

นางศิราณี โกฏิแก้ว ผ่านการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาผู้เรียนผ่านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การวิจัยและนวัตกรรมการเรียนรู้ของมืออาชีพ

สถาบันคุรุพัฒนา

8 ก.ค.61

6

นางสาวจตุพร ธนันไชย/นางสาวอำภา อุปคำ ครูผู้สอนนักเรียนได้รางวัลระดับเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันการจัดสวนถาดแบบแห้ง ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับชั้น ป.1-6

ระดับประทศ

สพฐ.

21-23 ธ.ค.61

7

นางเพ็ญพรรณ ยุวพัฒน ครูผู้สอนได้รางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมนักอ่านข่าวรุ่นเยาว์ ประเภทนักเรียนออทิสติก ระดับชั้น ป.1-6 ระดับประทศ

สพฐ.

21-23 ธ.ค.61

รางวัล/โล่/เกียรติบัตรของนักเรียน

1

เกียรติบัตรรางวัลเหรียญเงินจากการเข้าร่วมการแข่งขัน กิจกรรมการปั้นดินน้ำมัน ระดับปฐมวัย เนื่องในงานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการ และเทคโนโลยีของนักเรียนระดับเครือข่าย ปีการศึกษา 2561

เครือข่ายอำเภอเมือง

-

2

เกียรติบัตรรางวัลเหรียญเงินจากการเข้าร่วมการแข่งขัน กิจกรรม การฉีก ตัด ปะ ระดับปฐมวัย เนื่องในงานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการ และเทคโนโลยีของนักเรียนระดับเครือข่าย ปีการศึกษา 2561

เครือข่ายอำเภอเมือง

-

3

เด็กหญิงวรรลภา ทองใส แข่งขันสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครั้งที่ 8

สโมสรโรตารี่

28 ก.พ.61

4

เด็กชายบรรณวิทย์ - /เด็กชายแสง รุน/เด็กชายหนุ่ม ดวงซอ รางวัลระดับเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันการจัดสวนถาดแบบแห้ง ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับชั้น ป.1-6

ระดับประทศ

สพฐ.

21-23 ธ.ค.61

5

เด็กชายแสงส่องฟ้า - รางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมนักอ่านข่าวรุ่นเยาว์ ประเภทนักเรียนออทิสติก ระดับชั้น ป.1-6 ระดับประทศ

สพฐ.

21-23 ธ.ค.61

1.7 ข้อมูลอาคารสถานที่

ข้อมูลอาคารสถานที่ ประกอบด้วย จำนวนอาคาร จำนวนห้องประกอบ

อาคารเรียนจำ…3...หลัง อาคารประกอบจำนวน ….1.....หลัง

ห้องน้ำ………………9…………..ห้องสระว่ายน้ำ.................-..............สระ

สนามเด็กเล่น.......1..............สนาม สนามฟุตบอล…........…-…..…….สนาม

สนามบาสเก็ตบอล …-………...สนามสนามเทนนิส………..…-....……..สนาม

อื่นๆ (ระบุ) ...............-.............................................................................................

1.8 ข้อมูลงบประมาณ

ที่

แหล่งงบประมาณ

จำนวน

1

งบประมาณในระบบ

เงินุดหนุนทั่วไปโครงการเรียนฟรี 15 ปี (สพฐ.)

595,825

ปัจจัยพื้นฐานเด็กยากจน

31,500

2

งบประมาณนอกระบบ

เงินรายได้สถานศึกษา

205,400

รวมงบประมาณปีการศึกษา 2561

832,725

1.9 สภาพชุมชนโดยรวม

1. สภาพชุมชนเป็นชุมชนชานเมืองของอำเภอเมืองเชียงใหม่ ตั้งในเขตปกครองของเทศบาลตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 3 ตารางกิโลเมตร (1,785 ไร่) บริเวณโดยรอบเขตบริการโรงเรียนมีลักษณะพื้นที่ราบ มีแม่น้ำปิง และน้ำแม่คาวไหลผ่าน ประชากรตำบลฟ้าฮ่ามมีประมาณ 8,083 คน แต่มีประชากรแฝงประมาณ 50,000 คน จำนวนประชากรวัยเรียนในเขตพื้นที่บริการทั้งหมด 664 คน

2. ประชากรส่วนใหญ่

ร้อยละ50 ประกอบอาชีพรับจ้าง

ร้อยละ 25 ประกอบอาชีพรับราชการ

ร้อยละ 15 อาชีพค้าขาย, ทำการเกษตร

ร้อยละ 10 อาชีพอื่น ๆ

ร้อยละ 92 นับถือศาสนาพุทธ

ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์

ร้อยละ 2 นับถือศาสนาอิสลาม

3. โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน

โอกาส โรงเรียนตั้งอยู่ในที่ดินของธรณีสงฆ์วัดขะจาว ได้รับความร่วมมือจากเจ้าอาวาสเป็นอย่างดีในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โรงเรียนมีเขตบริการทางการศึกษาพื้นที่ปกครองของเทศบาลตำบลฟ้าฮ่าม ที่ได้สนับสนุนอาหารกลางวัน–นม อุปกรณ์การเรียนและด้านอื่น ๆ และยังอยู่ใกล้แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ซึ่งได้รับความร่วมมือและสนับสนุนเป็นอย่างดีจากผู้นำขององค์กรแหล่งเรียนรู้เหล่านี้ ในการมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ และสนับสนุนงบประมาณ ในการพัฒนาโรงเรียน

ข้อจำกัด โรงเรียนมีพื้นที่คับแคบ ปัจจุบันได้มีนักเรียนต่างสัญชาติมาเข้าเรียนเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี และมีการย้ายเข้าและย้ายออกตลอดเวลาเนื่องจากผู้ปกครองย้ายที่ทำงาน ส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนเพราะขาดความพร้อมทางการเรียนโดยเฉพาะกลุ่มสาระภาษไทย และโรงเรียนมีบุคลากรมีความรู้ไม่ตรงตามวิชาเอกที่ต้องการ

1.10 แหล่งเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ภายใน

สถิติการใช้

จำนวนครั้ง/ปี

แหล่งเรียนรู้ภายนอก

สถิติการใช้

จำนวนครั้งต่อปี

ชื่อแหล่งเรียนรู้

ชื่อแหล่งเรียนรู้

1. ห้องปฏิบัติการทางภาษา

2. ห้องคอมพิวเตอร์

3. ห้องสมุด

4. ห้องวิทยาศาสตร์

5. ห้องพยาบาล

6. โรงอาหาร

7. อุทยานการศึกษา

8. แปลงดอกไม้

9. ห้องเรียนรู้กิจไกรลาศ

10. ห้องศูนย์การเรียนรู้เด็กพิเศษ

11. ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

- น้ำยาล้างจาน–ห้องน้ำ

- ปลูกผักในกระถาง

- ปลาสวยงาม

- ผักไร้ดิน

- ทำปุ๋ยหมัก

- น้ำหมักชีวภาพ

10

40

40

20

20

200

200

100

5

-

10

1. วัดขะจาว

2. วัดลังกา

3. วัดฟ้าฮ่าม

4. วัดท่ากระดาษ

5. วัดสันทรายต้นกอก

6. เทศบาลตำบลฟ้าฮ่าม

7. สถานีอนามัยขะจาว

8. แม่น้ำปิง

9. แม่น้ำคาว

10. ตลาดขะจาว

11. สวนสัตว์เชียงใหม่

12. บ่อน้ำพุร้อนสันกำแพง

13. หมู่บ้านลึกลับ

10

-

-

-

-

-

-

10

-

5

1

1

1

นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านการบูรณาการโดยครูผู้สอน นอกจากนี้ยังมีบุคลากรที่มีความรู้ทั้งจากสถาบันการศึกษาเข้ามาช่วยพัฒนา ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ในการสนับสนุนถ่ายทอดความรู้แก่นักเรียน , สถาบันวิทยาลัยพลศึกษาให้ความรู้และแนะนำการดูแลสุขภาพรวมทั้งการออกกำลังกาย ตลอดจนถึง ปราชญ์ชาวบ้าน ครูภูมิปัญญา ที่เข้ามามีส่วนร่วมถ่ายทอด ฝึกสอนผู้เรียนในด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ได้แก่ รำวงย้อนยุค

ส่วนที่ 2 ผลการประเมินระดับปฐมวัย

2.1 คุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัย

ผลการประเมินมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็กอยู่ในระดับ ดีเลิศ

โดยมีรายละเอียดแต่ละประเด็นพิจารณาดังนี้

มาตรฐาน 1 คุณภาพของเด็ก

ผลการประเมิน

โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมหรือสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมาย

ที่โรงเรียนกำหนด

เป้าหมาย

ของโรงเรียน

ผลการประเมิน

สรุป

บรรลุ/ไม่บรรลุ

1) มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

ดี

ดี

บรรลุ

ได้มาตรฐานคุณภาพ

โครงการพัฒนาประสบการณ์ปฐมวัย

2) มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้

ดี

ดีเลิศ

บรรลุ

ได้มาตรฐานคุณภาพ

โครงการพัฒนาประสบการณ์ปฐมวัย

3) มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

ดี

ดีเลิศ

บรรลุ

ได้มาตรฐานคุณภาพ

โครงการพัฒนาประสบการณ์ปฐมวัย

4) มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

ดี

ดี

บรรลุ

ได้มาตรฐานคุณภาพ

โครงการพัฒนาประสบการณ์ปฐมวัย

ค่าเฉลี่ย

ดี

ดี

ได้มาตรฐานคุณภาพ

2. กระบวนการพัฒนา

-พัฒนาการด้านร่างกาย

เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย มีการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่กล้ามเนื้อเล็ก มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาได้ตามวัย โดยการส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและออกกำลังกาย การมีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตนการล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารการรู้จักดูแลรักษาสุขอนามัยส่วนตน การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และครูสังเกตพฤติกรรมของเด็กเวลาเล่น ออกกำลังกาย หรือขณะทำกิจกรรมต่างๆ มีการจัดทำเอกสาร สมุดรายงานประจำตัวเด็กบันทึกน้ำหนัก ส่วนสูงของเด็กบันทึกผลการจัดประสบการณ์ แบบประเมินพัฒนาการเด็ก อย่างสม่ำเสมอ

-พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ

เด็กมีพฤติกรรม ร่าเริง แจ่มใส มีความมั่นใจ ในตนเอง กล้าแสดงออก สามารถควบคุมอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ มีความรู้สึก ที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ยอมรับและชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น สนใจและมีความสุขในกิจกรรมศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว รวมถึงรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แสดงออกด้านสังคมได้อย่างเหมาะสมกับวัย โดยการส่งเสริมและจัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์จิตใจและความรู้สึกที่เหมาะสมกับวัยมีความสุขร่าเริงแจ่มใสมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองมีความมั่นใจกล้าแสดงออกและควบคุมการแสดงออกของอารมณ์อย่างเหมาะสมกับวัยเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆตลอดจนชื่นชมศิลปะดนตรีการเคลื่อนไหวและรักธรรมชาติ และครูสังเกตพฤติกรรมของเด็กเวลาทำกิจกรรมต่างๆ และจัดทำเอกสาร บันทึกพฤติกรรมเด็ก ชิ้นงาน/ผลงานเด็ก แผนการจัดประสบการณ์และบันทึกผลหลังสอน ภาพถ่าย บันทึกพัฒนาการเด็ก

-พัฒนาการด้านสังคม

เด็กสามารถเป็นผู้นำและผู้ตาม มีสัมมาคารวะและมีมารยาทบ้าง โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กมีพฤติกรรมแสดงออกด้านสังคมได้อย่างเหมาะสมกับวัยโดยมีวินัย มีความรับผิดชอบบ้าง เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ผู้ปกครองและมีความซื่อสัตย์สุจริตช่วยเหลือแบ่งปันเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่ตนนับถือ โดยครูสังเกตพฤติกรรมเด็กขณะเล่นและทำกิจกรรม และจัดทำเอกสารแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมบันทึกคำพูดของเด็ก สมุดรายงานพัฒนาการเด็ก ผลงานเด็ก ภาพถ่าย

-พัฒนาการด้านสติปัญญา

เด็กมีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยความตั้งใจ มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย รวมทั้งมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ที่ดีบ้าง โดยการส่งเสริมและจัดกิจกรรมให้เด็กมีพฤติกรรมสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัวซักถามอย่างตั้งใจรักการเรียนรู้ มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์รวมทั้งมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ จัดกิจกรรมบูรณาการตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย มาจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ควบคู่กับการเตรียมความพร้อมทางภาษาผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ Brain – Based Learning ครูสังเกตพฤติกรรมเด็กขณะทำกิจกรรมและมีเอกสารแฟ้มสะสมผลงานเด็กผลจากการทำกิจกรรมโครงการที่ส่งเสริมสนับสนุนแผนปฏิบัติงาน/โครงการรายงานโครงการ แบบประเมิน/แบบบันทึกพัฒนาการเด็ก

3. ผลการดำเนินงาน

-พัฒนาการด้านร่างกาย

-เด็กมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข 24 คน ต่ำกว่าเกณฑ์ 1 คน และเกินเกณฑ์ 4 คน สามารถ เล่นออกกำลังกายได้ประมาณ 10 นาทีโดยไม่เหนื่อย

-เด็กเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่วมีการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่กล้ามเนื้อเล็กและมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาได้ตามวัยและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย

-เด็กล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำแปรงฟันหลังรับประทานอาหารรู้จักดูแลรักษาสุขอนามัยส่วนตนและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้ครบทุกรายการด้วยตนเองและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย

-เด็กปฏิบัติตนตามข้อตกลงเกี่ยวกับความปลอดภัยบอกโทษของสิ่งเสพติดและสิ่งมอมเมาได้ปฏิเสธสิ่งเสพติดและสิ่งมอมเมาและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรคอุบัติเหตุภัยและสิ่งเสพติดได้ด้วยตนเองและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย

-เด็กขาดความเอาใจใส่ในการดูแลรักษาความสะอาดร่างกายให้ถูกสุขลักษณะ ครูต้องคอยแนะนำเป็นบางครั้ง

- พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ

-เด็กมีพฤติกรรมร่าเริงสดชื่นแจ่มใสแสดงออกถึงการยอมรับและชื่นชมความ สามารถและผลงานของตนเองได้เหมาะสมในทุกสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ

-เด็กมีพฤติกรรมมั่นใจในตนเองกล้าพูดกล้าทำกล้าแสดงออกในการปฏิบัติ กิจกรรมต่างๆเหมาะสมกับวัยในทุกสถานการณ์

-เด็กมีพฤติกรรมควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัยในทุกสถานการณ์

-เด็กสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะดนตรีการเคลื่อนไหวและธรรมชาติสม่ำเสมอมีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเองและมีความสุขขณะทำกิจกรรมทุกครั้ง

-เด็กขาดความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายเป็นบางครั้ง ครูต้องกระตุ้นบ้าง

-พัฒนาการด้านสังคม

-เด็กสามารถจัดเก็บของเล่นของใช้เข้าที่รู้จักการรอคอยตามลำดับก่อนหลังทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จเชื่อฟังได้ด้วยตนเองทุกครั้งจนเป็นนิสัยและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพ่อแม่ผู้ปกครองและครูได้ด้วยตนเองทุกครั้งจนเป็นนิสัย

-เด็กบอกได้ว่าสิ่งของใดเป็นของตนเองและสิ่งของใดเป็นของผู้อื่นไม่พูดปดยอมรับผิดเมื่อตนเองกระทำผิดมีความเอื้อเฟื้อแบ่งปันให้ความร่วมมือและช่วยเหลือผู้อื่นปฏิบัติด้วยตนเองทุกครั้งจนเป็นนิสัย

-เด็กเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นปฏิบัติตามข้อตกลงและเป็นผู้นำผู้ตามที่ดีทุกครั้งจนเป็นนิสัย

-เด็กมีมารยาทในการพูดการฟังการรับประทานอาหารการแสดงความเคารพและเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมทุกครั้ง

-เด็กมีสัมมาคารวะและมีมารยาท พูดจาไพเราะเป็นบางครั้ง ครูต้องคอยแนะนำ

-พัฒนาการด้านสติปัญญา

-เด็กสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยความตั้งใจทุกครั้งซักถามในสิ่งที่ตนเองอยากรู้และมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆที่เหมาะสมกับวัย

-เด็กบอกคุณลักษณะคุณสมบัติความเหมือนความแตกต่างจำแนกประเภทจัดหมวดหมู่และบอกความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆที่เกิดจากการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้องคล่องแคล่วชัดเจน

-เด็กสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยภาษาท่าทางการอ่านการเขียนสัญลักษณ์และสะท้อนความคิด ความรู้สึกภายในเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัยทุกครั้ง

-เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้และปฏิบัติโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้ตามกระบวนการได้เหมาะสมกับวัยทุกครั้ง

-เด็กถ่ายทอดความคิดจินตนาการสร้างสรรค์ผลงานที่มีรายละเอียดแปลกใหม่และหลากหลายได้โดดเด่นได้รับการยอมรับจากเพื่อนครูผู้เกี่ยวข้องได้เป็นบางครั้ง ครูต้องคอยแนะนำบ้าง

4. จุดเด่น

- เด็กปฐมวัยทุกคนผ่านการเตรียมความพร้อมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในเกณฑ์ดี - ยอดเยี่ยม

- เด็กปฐมวัยมีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก เหมาะสมตามวัย

- เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิด และการใช้ภาษา โดยผ่านการเรียนรู้ ในรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามการสอนโครงงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

- เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริม ให้มีนิสัยรักการอ่าน

- การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีคุณธรรม 8 ประการและความกตัญญู

5. จุดควรพัฒนา

- จัดให้ความรู้/กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู/ผู้ปกครอง/เด็ก ในการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายให้ถูกสุขลักษณะ

- จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จทันในเวลาที่กำหนด มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย

- จัดกิจกรรมส่งเสริมมารยาทไทยและการฝึกพูดให้มีสัมคารวะ

- จัดให้มีหนังสือนิทาน สำหรับเด็กปฐมวัย ให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

- จัดหาสื่ออุปกรณ์ สำหรับ การทดลองและจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ให้เพียงพอในการจัดกิจกรรม

6. ข้อเสนอแนะ

6.1 จากจุดเด่นที่พบคือเด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีน้ำหนักส่วนสูงตามวัย แต่ขาดการดูแลความสะอาดของร่างกายให้ถูกสุขอนามัย โรงเรียนควรมีการถอดบทเรียนหรือกิจกรรมพัฒนา เพื่อสรุปเป็นนวัตกรรมของโรงเรียน

6.2 จุดที่ควรพัฒนาคือ ประเด็นพิจารณาที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายคือ ขาดแคลนหนังสือนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยและอุปกรณ์สำหรับทดลองวิทยาศาสตร์ โรงเรียนควรมีกระบวนการทบทวนเป้าหมายและกระบวนการที่พัฒนาให้สอดคล้องกัน หรือ โรงเรียนควรใช้วิธีการพัฒนาคือ จัดหาสื่ออุปกรณ์ สำหรับ การทดลองและจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ให้เพียงพอในการจัดกิจกรรม

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา

1. ผลการประเมินมาตรฐานที่ 2 อยู่ในระดับ ดีเลิศ โดยมีรายละเอียดแต่ละประเด็นพิจารณาดังนี้

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

ผลการประเมิน

โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมหรือสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมาย

ที่โรงเรียนกำหนด

เป้าหมาย

ของโรงเรียน

ผลการประเมิน

สรุป

บรรลุ/ไม่บรรลุ

2.1มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

ดี

ดีเลิศ

บรรลุ

ได้มาตรฐานคุณภาพ

โครงการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2.2 จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน

ดี

ดี

บรรลุ

ได้มาตรฐานคุณภาพ

โครงการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2.3 ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

ดี

ดี

บรรลุ

ได้มาตรฐานคุณภาพ

โครงการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2.4จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัยและเพียงพอ

ดี

ดีเลิศ

บรรลุ

ได้มาตรฐานคุณภาพ

โครงการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2.5 ให้บริการสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

ดี

ดี

บรรลุ

ได้มาตรฐานคุณภาพ

โครงการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2.6มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

ดี

ดี

บรรลุ

ได้มาตรฐานคุณภาพ

โครงการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ค่าเฉลี่ย

ดี

ดีเลิศ

ได้มาตรฐานคุณภาพ

2. กระบวนการพัฒนา

- ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ จุดหมาย ธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัย โครงสร้างของหลักสูตร คุณลักษณะตามวัย สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ โดยเชื่อมโยงความรู้ ความเข้าใจสู่การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาและครอบคลุมพัฒนาการเด็กทั้ง ๔ ด้าน ใช้วิธีสอน เทคนิคการสอนที่หลากหลายใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก ใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายและครอบคลุมพัฒนาการเด็กทั้ง ๔ ด้าน มีวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ จัดสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง ให้คำแนะนำในการพัฒนา/แก้ไขพัฒนาการของเด็กทุกคนอย่างเสมอภาค

1. ครูได้รับการพัฒนาโดยเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาชีพ เช่น การอบรมการจัดประสบการณ์

เรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก เป็นต้น

1. ครูจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การจัดมุมประสบการณ์ที่

น่าสนใจ การจัดทำป้ายคำและรูปภาพต่างๆ ตามผนังห้องเรียน

1. ครูใช้สื่อทางเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนตามหน่วยการเรียนรู้ให้มากขึ้น เช่น การร้องเพลง การฟังนิทานจากสื่อ youtube เป็นต้น

3. ผลการดำเนินงาน

1. หลักสูตรสถานศึกษามีความชัดเจนในเรื่องของวิสัยทัศน์และพันธกิจของระดับชั้นปฐมวัย และเป็นที่พึงพอใจ

ของผู้ปกครองในการเรียนการสอนของครู

1. ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง ให้คำแนะนำในการพัฒนา/แก้ไขพัฒนาการของเด็กทุกคนอย่างเสมอ

ภาค แต่ขาดการจัดทำข้อมูลสารนิทัศน์อย่างเป็นระบบที่สามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเด็กให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

1. ครูมีความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพมากขึ้นเมื่อได้รับการอบรมหรือการแลกเปลี่ยนความคิดกับครูปฐมวัยด้วยกัน

รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนวิธีรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย

1. ครูจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และควรจัดให้เป็นสัดส่วน

อย่างมีระเบียบ เพื่อให้ห้องเรียนแต่ละห้องเรียนมีความแปลกตาและมีสิ่งที่น่าสนใจ ดึงดูดให้เด็กเกิดการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น อยากที่จะเข้ามุมเสริมประสบการณ์ตามที่ครูได้จัดเตรียมไว้

1. สื่อทางเทคโนโลยีต่างๆจะเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกอย่างดีชนิดหนึ่งที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้กว้างมากขึ้น

4. จุดเด่น

โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการจัดการศึกษาปฐมวัยและพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างง่าย ๆ โดยจัดประสบการณ์เรียนรู้การสอนโครงงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นความสนใจในการเรียนของนักเรียน มีการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผลการวิจัยมาปรับการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน และเตรียมความพร้อมและเสริมความรู้พื้นฐานในการศึกษาต่อชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้แก่นักเรียน ครูมีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์และดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่อง และประเมินพัฒนาการของผู้เรียนครบทุกด้านอย่างเหมาะสมตามวัยสอดคล้องสภาพจริง

5. จุดควรพัฒนา

1. ครูควรพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญด้านปฐมวัย จากการเข้าร่วมอบรมการจัด

ประสบการณ์เรียนรู้ให้สอดคล้องกับลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างสม่ำเสมอ

1. โรงเรียนมีการพัฒนาห้องเรียนให้มีความทันสมัยต่อเทคโนโลยี เช่น การเปิดเป็นห้องเรียนอัจฉริยะ เป็นต้น

6. ข้อเสนอแนะ

6.1 จากจุดเด่นที่พบคือโรงเรียนมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการจัดการศึกษาปฐมวัยและพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างง่าย ๆ โดยจัดประสบการณ์เรียนรู้การสอนโครงงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย และใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย โรงเรียนควรมีการถอดบทเรียนหรือกิจกรรมพัฒนา เพื่อสรุปเป็นนวัตกรรมของโรงเรียน

6.2 จุดที่ควรพัฒนาคือ ขาดแคลนสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย โรงเรียนควรมีการทบทวนเป้าหมายและกระบวนการที่พัฒนาให้สอดคล้องกัน หรือ โรงเรียนควรใช้วิธีการพัฒนาคือ จัดหาสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัยและเหมาะสมกับผู้เรียนอย่างเพียงพอ

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1. ผลการประเมินมาตรฐานที่ 3 คุณภาพอยู่ในระดับ ดี

โดยมีรายละเอียดแต่ละประเด็นพิจารณาดังนี้

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการบริหารและการ

จัดการ

ผลการประเมิน

โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมหรือสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมาย

ที่โรงเรียนกำหนด

เป้าหมาย

ของโรงเรียน

ผลการประเมิน

สรุป

บรรลุ/ไม่บรรลุ

3.1 จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

ดี

ดีเลิศ

บรรลุ

ได้มาตรฐานคุณภาพ

โครงการพัฒนาประสบการณ์ปฐมวัย

3.2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข

ดี

ดี

บรรลุ

ได้มาตรฐานคุณภาพ

โครงการพัฒนาประสบการณ์ปฐมวัย

3.3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

ดี

ดี

บรรลุ

ได้มาตรฐานคุณภาพ

โครงการพัฒนาประสบการณ์ปฐมวัย

3.4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

ดี

ดี

บรรลุ

ได้มาตรฐานคุณภาพ

โครงการพัฒนาประสบการณ์ปฐมวัย

ค่าเฉลี่ย

ดี

ดี

ได้มาตรฐานคุณภาพ

2. กระบวนการพัฒนา

· ครูส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยจากการจัดกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละวัน

· ครูให้เด็กได้เล่นและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมการทดลองบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และการประดิษฐ์ต่าง ๆ จากกิจกรรมสร้างสรรค์

· ครูให้เด็กได้ใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น กล้องถ่ายรูป คอมพิวเตอร์ และสื่อการเรียนรู้ที่ครูสร้างขึ้นมาเอง เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้

· ครูมีการใช้เครื่องมือที่หลากหลายในการพัฒนาเด็ก เช่น การสังเกตและจดบันทึก การใช้แบบทดสอบที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก เพื่อที่ครูจะได้ข้อมูลและการประเมินผลได้ถูกต้องและมีคุณภาพ

3. ผลการดำเนินงาน

· เด็กเกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย

· เด็กมีความสุข สนุกสนานจากการลงมือทำการทดลอง และการทำกิจกรรมด้วยตนเอง เด็กสามารถแสดงความสามารถของตนเองและสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆขึ้นมาเองได้

· เมื่อห้องเรียนมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จะทำให้เด็กมีความสนใจและอยากที่จะเรียนรู้ อยากมีส่วนร่วม เมื่อเด็กได้ลองใช้เทคโนโลยีด้วยเองเด็กจะสามารถเรียนรู้ได้ดีมากขึ้น

· ครูสามารถนำผลการทดสอบต่างๆ มาบันทึกเป็นข้อมูลที่ง่ายขึ้น และข้อมูลเกิดความหลายหลาย และสามารถมองเด็กแต่ละคนได้จากหลายมุมมอง

4. จุดเด่น

- เด็กปฐมวัยมีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก และมีความรับผิดชอบเหมาะสมตามวัย

- เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิด โดยผ่านการเรียนรู้ ในรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวทาง โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย

· ครูส่งเสริมและจัดหน่วยการเรียนรู้ที่เด็กสามรถลงมือปฏิบัติ และลงมือกระทำด้วยตนเองเพื่อที่เด็กจะได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด

5. จุดควรพัฒนา

· ห้องเรียนและบรรยากาศภายในห้องเรียนต้องดึงดูดเด็ก มีสิ่งเร้าที่สามารถกระตุ้นให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้

· ครูต้องประเมินเด็กตามสภาพจริงจากการใช้วิธีการที่หลากหลาย โดยชุมชน ผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถประเมินและส่งแบบประเมินมาให้ทางโรงเรียนพิจารณาร่วมกันในอนาคตต่อไป

6. ข้อเสนอแนะ

6.1 จากจุดเด่นที่พบคือเด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดโดยผ่านการเรียนรู้ ในรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวทางโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย แต่ยังขาดจินตนาการในการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองให้ออกมาในรูปแบบที่หลากหลายและแปลกใหม่ โรงเรียนควรมีการถอดบทเรียนหรือกิจกรรมพัฒนา เพื่อนำมาใช