4
66 for Quality Vol.17 No.151 May 2010 ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กองบรรณาธิการ ด้วยแนวคิด CSR ธุรกิจจะพัฒนาอย่างยั่งยืน for Q uality S pecial I ssue 66 for Quality Vol.17 No.151 May 2010 สถาบันไทยพัฒน์

Special for Q uality Issue ... No.151 May 2010 67 สถาบ น ไทยพ ฒน เป นองค การ สาธารณประโยชน ก อต ง ข นเม

  • Upload
    buinga

  • View
    224

  • Download
    3

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Special for Q uality Issue ... No.151 May 2010 67 สถาบ น ไทยพ ฒน เป นองค การ สาธารณประโยชน ก อต ง ข นเม

66for Quality Vol.17 No.151

May 2010

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์

ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์

กองบรรณาธิการ

ด้วยแนวคิด

CSR

ธุรกิจจะพัฒนาอย่างยั่งยืน

for Quality

Special Issue

66for Quality Vol.17 No.151

May 2010

สถาบันไทยพัฒน์

Page 2: Special for Q uality Issue ... No.151 May 2010 67 สถาบ น ไทยพ ฒน เป นองค การ สาธารณประโยชน ก อต ง ข นเม

Vol.17 N

o.1

51 M

ay 2010

67

สถาบันไทยพัฒน์ เป็นองค์การสาธารณประโยชน์ ก่อตั้ง

ขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2542 ในรูปของ ชมรมไทยพัฒน์ และได้เปลี่ยนแปลงสถานภาพมาเป็น สถาบันไทยพัฒน์ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2544 ทำงานด้านการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและบรรษัทบริบาล (corporate social responsibility) ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การวิจัย การฝึกอบรม การให้คำปรึกษา รวมทั้งการร่วมมือกับส่วนราชการและองค์การภาคประชาสังคมอื่น ๆ ในการเผยแพร่องค์ความรู้และเครื่องมือสนับสนุน เพื่อต่อยอดขยายผลการดำเนินงานในอันที่จะก่อให้ เกิดประโยชน์แก่สังคมในวงกว้าง

สถาบันไทยพัฒน์ เน้นการดำเนินงานตามแนวทางการร่วมมือกันในลักษณะของ “การเข้ามีส่วนร่วมด้วยนวัตกรรม” (contribution by innovation) โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของ สถาบันไทยพัฒน์ จึงสะท้อนการดำเนินงานในแบบของการทำงานร่วมกัน ทั้งที่เป็นการริเริ่มโครงการและกิจกรรมให้แก่หน่วยงานอื่นได้เข้ามามีส่วนร่วม และการเข้ามีส่วนร่วมในโครงการและกิจกรรมของหน่วยงานอื่นที่ดำเนินการอยู่แล้ว โดยคำนึงถึงการส่งมอบประโยชน์ให้แก่สังคมเป็นสำคัญ

ด้วยนโยบายและเป้าประสงค์ขององค์-การที่เน้นหนักให้เกิดการพัฒนาด้าน CSR ในประเทศไทย ส่งผลให้ สถาบันไทยพัฒน์ ตระหนัก

Special Issue

ถึงแนวทางในการพัฒนาด้วยการมีส่วนสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรม โครงการ การศึกษาด้าน CSR อย่างเต็มกำลัง ในโอกาสนี้ ขอนำ-เสนอบทสัมภาษณ์ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการองค์การด้วยแนวคิด CSR และแนวโน้ม ทิศทาง CSR ในกระบวนการบริหารจัดการองค์การธุรกิจที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยอย่างน่าสนใจ

การดำเนินงานของสถาบันไทยพัฒน ์

ด้วยการดำเนินงานขององค์การธุรกิจได้เน้นหนักในเรื่องของ CSR มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงิน ยานยนต์ โทรคมนาคม พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ สินค้าอุปโภคบริโภค ฯลฯ สถา-บันไทยพัฒน์ จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อรองรับการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยแนวคิด CSR ดร.พิพัฒน์ กล่าวเกี่ยวกับการดำเนินงานของ สถาบันไทย-พัฒน์ ว่า “กิจกรรมและโครงการที่สำคัญ ๆ ของ สถาบันไทยพัฒน ์ ซึ่งได้ดำเนินการในช่วงปีที่ ผ่านมาจะแบ่งชัดเจนออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. งานวิจัย สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำวิจัยให้แก่ OECD ในหัวข้อเรื่อง “Responsible Business Conduct in Thailand” และได้นำเสนอผลการวิจัยในเวทีประชุมภูมิภาคเรื่อง Corporate Respon-sibility ในหัวข้อ “Why Responsible Business Conduct Matters” เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 โดย OECD จะเผยแพร่ผลการศึกษานี้ไปยัง

ประเทศสมาชิก 30 ประเทศและประเทศภาคีที่มิใช่สมาชิกอีก 11 ประเทศ 2. การฝึกอบรม สถาบันไทยพัฒน์ ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมความรู้ CSR สู่ภูมิภาค (CSR campus) ในทุกจังหวัดทั่วประเทศเป็นปีที่ 2 แล้ว โดยจะจัดขึ้น ราวเดือนมิถุนายน-ตุลาคมของทุกปี นอกจากนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ยังได้ดำเนินงานร่วมกับสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผ่านทางโครงการ CSR Day เพื่อให้ความรู้เรื่อง CSR แก่พนักงานในสถานประกอบการของบริษัทจดทะเบียน โดยตั้งเป้าไว้จำนวน 50 แห่ง 3. การให้คำปรึกษา สถาบันไทยพัฒน์ ได้ดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนแม่บท CSR ให้แก่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจจำนวน 4 แห่ง และองค์การธุรกิจจำนวน 3 แห่ง เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การระยะ 3-5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ยังร่วมทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการสำรวจและทบทวนการวางตำแหน่ง (repositioning) และบทบาทในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ โดยคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญทั้งในเรื่องขอบเขต (scope) แนวนโยบาย (platform) โครงสร้าง (structure) กลยุทธ์ (strategy) การดำเนินงาน (performance) ตัวชี้วัด (measure) และการเปิดเผยข้อมูล (disclosure) เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบการอย่างมีความรับ-ผิดชอบ และสั่งสมให้เกิดเป็นคุณค่า CSR ขององค์การที่สังคมตระหนักในระยะยาว”

Page 3: Special for Q uality Issue ... No.151 May 2010 67 สถาบ น ไทยพ ฒน เป นองค การ สาธารณประโยชน ก อต ง ข นเม

Vol.17 N

o.1

51 M

ay 2010

68

ความสำคญัของ CSR ในการดำเนนิธรุกจิ

ผลจากวิกฤตที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานให้สอดรับกับสภาวการณ์กันอย่างเข้มแข็ง และไม่เพียงเท่านั้น วิกฤตที่ผ่านมายังส่งผลต่อการเปลี่ยน-แปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคอีกด้วย ดังนั้น ธุรกิจจึงมีการนำแนวคิด CSR เข้ามาใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการองค์การอย่างสร้างสรรค์มาก ยิ่งขึ้น เกี่ยวกับเรื่องความสำคัญของแนวคิด CSR ต่อธุรกิจนั้น ดร.พิพัฒน์ กล่าวแสดงทัศนะว่า “ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ การเปิดเสรีทางการค้า การปฏิบัติตามกฎหมาย กระแสโลกสีเขียว สภาพภูมิอากาศ ต่าง ๆ เหล่านี้ ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจต้องนำแนวคิด CSR เข้ามาใช้ในองค์การ เพื่อเตรียมรับมือได้อย่างทันท่วงที”

แนวโนม้ ทศิทาง CSR พ.ศ. 2553-2554

สำหรับแนวโน้ม และทิศทางแนวคิด CSR ในปีนี้ถึงปีหน้านั้น ดร.พิพัฒน์ แสดงความคิดเห็นว่า “ทิศทางของแนวคิด CSR จะดำเนินไปใน 6 ทิศทาง คือ 1. ธุรกิจจะปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ที่เน้น Green Concept มากขึ้น เนื่องจากกระแสโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เป็นประเด็นทาง CSR มานานระยะหนึ่งแล้ว และก็จะยังเป็นประเด็นที่อยู่คู่กับสังคมโลกไปอีกนานจวบจนสิ้นอายุขัยของคนรุ่นปัจจุบัน ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา ยังเป็นปัจจัยหนุนเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ ผู้บริโภคในทิศทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ด้วยอุปสงค์สีเขียว (green demand) นี้ ได้ผลักดันให้องค์การธุรกิจต้องปรับปรุงและพัฒนากระบวนการดำเนินงาน สายผลิตภัณฑ์ รวมทั้งบริการต่าง ๆ ที่อิงกับ Green Concept เพิ่มขึ้น โดยองค์การหลายแห่งได้พยายามผนวกความเป็นสีเขียวเข้าในฝั่งอุปทานให้ได้ตลอดทั้งสาย (greening the supply chain) เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์สีเขียว (green product) สู่ตลาด

นอกจากนี้ผู้ประกอบการหลายแห่งจะให้ความสนใจกับการใช้ฉลากคาร์บอนกับผลิตภัณฑ์ของตน เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการรับผิดชอบต่อสังคมและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์การ ควบคู่ไปกับประโยชน์ที่ได้จากการลดต้นทุนการผลิตจากการพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น หน่วยงานหลายแห่งจะทำงานร่วมกันในการรณรงค์ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า แนวคิดสีเขียวจะถูกนำมาใช้ในกระบวนงานต่าง ๆ อาทิ Green Design, Green Purchasing, Green Logistics, Green Meeting, Green Marketing, Green Services ฯลฯ รวมถึงการนำขยะหรือของเสียจากกระบวนการบริโภคกลับมาใช้ใหม่ด้วยการแปรรูปหรือแปรสภาพให้กลายเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตของภาคธุรกิจภายใต้หลักการ Greening Waste ตลอดจนการปรับตัววัดทางเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืนโดยคำนึงถึง สิ่งแวดล้อมในกรอบของ Green GDP ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจที่จะเติบโตมากในอนาคต คือ Green Business หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม 2. ความคาดหวังในบทบาทของรัฐต่อเรื่อง CSR จะสูงขึ้น หลังจากกรณีการถูกฟ้องให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ในปีนี้นอกจากที่รัฐบาลจะต้องกำชับให้หน่วยราชการต่าง ๆ ปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดในการดูแลการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนตามทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยบูรณาการมิติการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่ง-แวดล้อม และสุขภาพของชุมชนให้เกิดความสมดุลทั้งระบบแล้ว ยังต้องส่งเสริมให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและชุมชนที่ก้าวพ้นจากการทำพอเป็นพิธีไปสู่การสนองความคาดหวังของชุมชนได้อย่างแท้จริง แนวโน้มการจัดตั้ง คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคม (กรอ.สังคม) ที่ยกระดับจากคณะกรรมการ 4 ฝ่ายในแบบเฉพาะกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงใน

จังหวัดระยอง รวมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนิน-งานที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร-ไทย มาตรา 67 วรรค 2 จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น การส่งเสริมอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่าง ๆ จะถูกกำหนดให้ดำเนินการในรูปแบบของเขตพื้นที่หรือเขตอุตสาหกรรมนิเวศน์ (eco industrial estate) เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน 3. การปรับจุดยืนในเรื่องความรับผิด-ชอบต่อสังคมสู่จุดปกติใหม่ (new normal) จะเกิดขึ้น สำหรับธุรกิจที่ไม่ต้องการลดทอนคุณค่า CSR ขององค์การในระยะยาว ในประเทศไทย แม้เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจากการปรับตัวของเศรษฐกิจโลก ด้วยปัจจัยในเรื่องของการพึ่งพาการส่งออกเป็นสำคัญ แต่ก็ไม่รุนแรงเท่ากับปัจจัยภายในประเทศที่ฉุดรั้งการพัฒนาและการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางสังคม ที่รุนแรงขึ้นจากปัจจัยทางการเมือง คุณภาพสิ่ง-แวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพเสื่อม-โทรมมากขึ้นจากการดำเนินธุรกิจที่ขาดความรับ-ผิดชอบ และขาดการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพของรัฐ ขณะที่ชุมชนซึ่งได้รับผลกระทบต่างก็ลุกขึ้นมาทวงสิทธิ์ของตนในทุกช่องทาง ทั้งการใช้กฎหมายและการกดดันทางสังคมโดยไม่อะลุ้ม-อล่วย ด้วยเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปเช่นนี้ การดำรงอยู่ของธุรกิจและชุมชนจะไม่สามารถหวนกลับไปสู่จุดปกติเดิมได้อีกต่อไป ภาคธุรกิจจึงต้องสำรวจและทบทวนบทบาทในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ในอันที่จะสร้างให้เกิดการยอมรับของชุมชนและการอยู่ร่วมกันในสังคมบนจุดปกติใหม่นับจากนี้ไป 4. มาตรฐาน ISO 26000 จะเริ่มลงหลักปักฐานในองค์การธุรกิจ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม กระแสเรื่องมาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ได้ก่อตัวขึ้นในประเทศไทยมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างมากนัก องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้ยกร่างมาตรฐาน ISO 26000 - Social Responsibility (SR) โดยกำหนดหัวข้อที่บ่งชี้ถึงความรับผิดชอบต่อสังคมไว้ 7 เรื่อง

Special Issue

Page 4: Special for Q uality Issue ... No.151 May 2010 67 สถาบ น ไทยพ ฒน เป นองค การ สาธารณประโยชน ก อต ง ข นเม

Vol.17 N

o.1

51 M

ay 2010

69

ได้แก่ การกำกับดูแลองค์การ (organizational governance) สิทธิมนุษยชน (human rights) การปฏิบัติด้านแรงงาน (labour practices) สิ่ง-แวดล้อม (the environment) การปฏิบัติดำเนิน-งานอย่างเป็นธรรม (fair operating practices) ประเด็นด้านผู้บริโภค (consumer issues) การมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน (community involve-ment and development) ซึ่งมีกำหนดจะประ-กาศเป็นมาตรฐานนานาชาติฉบับสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2553 นี้ อย่างไรก็ดี มาตรฐาน ISO 26000 นี้เป็นมาตรฐานข้อแนะนำ (guidance standard) มิใช่มาตรฐานระบบการจัดการ (management system standard) เพื่อใช้สำหรับการรับรอง (certification) หรือนำไปใช้เป็นข้อบังคับ (regula-tory) หรือใช้เป็นข้อตกลง (contractual) ฉะนั้น การเสนอให้มีการรับรอง หรือกล่าวอ้างว่าได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 26000 จึงผิดไปจากเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของมาตรฐาน 5. ประเด็นทาง CSR จะถูกหยิบยกเป็นมาตรการทางการค้าเพิ่มขึ้น ด้วยอัตราเร่งจากการเปิดเขต-การค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ในปีนี้ประเทศไทยมีข้อตกลงการเปิดเสรีสินค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งจะส่งผลให้สินค้านำเข้า 8,300 รายการ มีอัตราภาษีลดเหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียนเดิม 6 ประเทศ (ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และบรูไน) ส่วนอาเซียนอีก 4 ประเทศ (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ได้รับการอนุโลมให้ลดภาษีอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยจะต้องลดภาษีรายการสินค้าทั้งหมดให้ไม่สูงกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ ในปีนี้ และให้เหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ ในปี พ.ศ.2558 (ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว และสินค้าอ่อนไหวสูง)

ในอีก 5 ปีข้างหน้า เมื่ออาเซียนรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะทำให้เกิดตลาดที่มีขนาดถึง 580 ล้านคน ผู้บริโภคจะมีโอกาสในการเข้าถึงสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาถูกลง และหลากหลายมากขึ้น ผู้ผลิตจะสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของแต่ละประเทศในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (กัมพูชา ลาว

พม่า และเวียดนาม มีจุดเด่นในด้านทรัพยากร-ธรรมชาติ วัตถุดิบ และแรงงาน สิงคโปร์ มาเลเซีย มีจุดเด่นในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม อินโด-นีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นฐานการผลิต เป็นต้น) ทั้งนี้ ขนาดของตลาดยังสามารถขยายไปได้มากกว่านั้น ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีที่อาเซียนได้ทำกับประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยในปีนี้ความตกลงการค้าระหว่างอาเซียนกับจีน (ACFTA) และสาธารณรัฐเกาหลี (AKFTA) จะมีผลบังคับใช้นับจากเดือนมกราคม และความตกลงการค้าระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป ซึ่งจะเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของภาคธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ภาคธุรกิจจึงจำต้องศึกษาข้อมูลและปรับตัวรองรับทั้งโอกาสและผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรี เพราะจากนี้ไปมาตรการภาษีนำเข้า มาตรการโควต้าภาษี และอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) ที่ขัดต่อความตกลงดัง-กล่าวก็จะต้องถูกยกเลิก ทำให้ประเทศต่าง ๆ จะหันมาใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) ชนิดอื่น ๆ ซึ่งอนุญาตให้แก่ประเทศสมาชิก WTO ด้วยวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืช และเพื่อป้องกันผลกระทบจากการเปิดตลาดเสรีการค้าและก่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียม ภาย-ใต้เงื่อนไข (1) คุณภาพสินค้า (2) ความปลอดภัยของผู้บริโภค และ (3) สิ่งแวดล้อม อาทิ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) มาตรการอุปสรรคทางเทคนิคทางการค้า (TBT) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (ROO) มาตรการตอบโต้การ ทุ่มตลาดและการอุดหนุน (AD/CVD) มาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (SG) มาตร-การสิ่งแวดล้อม (ENV) ซึ่งมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้มีความเกี่ยวเนื่องกับแนวปฏิบัติทาง CSR แทบทั้งสิ้น 6. เรื่อง CSR จะแผ่ขยายลงไปสู่สถานศึกษาในระดับโรงเรียนเป็นครั้งแรก หลังจากการตอบ-รับในระดับอุดมศึกษาอย่างกว้างขวาง ในปีที่ผ่านมาหลายสถาบันอุดมศึกษาได้บรรจุวิชา CSR

ไว้ในหลักสูตร มีการยกเครื่องวิชาจริยธรรมทางธุรกิจ และเปิดการเรียนการสอนด้วยเนื้อหาที่ทันกับยุคสมัยปัจจุบัน มหาวิทยาลัยบางแห่งได้ริเริ่มพัฒนาเป็นหลักสูตรมหาบัณฑิต (Master’s degree in CSR) ขึ้นเพื่อตอบสนองเป็นการเฉพาะ การส่งไม้ต่อเรื่อง CSR จากภาคธุรกิจไปสู่ภาคการศึกษาในประเทศไทย นับเป็นนิมิตหมายอันดีสำหรับการวางรากฐานเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการเตรียมบุคลากรให้มีจิตสำนึก พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานในวันข้างหน้า ในปีนี้การส่งไม้ต่อเรื่อง CSR ในภาคการศึกษาจะขยายลงไปสู่กลุ่มโรงเรียนเป็นครั้งแรก เราจะได้เห็นโครงงาน CSR ที่ให้นักเรียนศึกษาทำความเข้าใจ CSR บูรณาการ ความคิดเชิงธุรกิจ และได้ลงมือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันแสดงความเป็นจิตอาสารับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้การดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมในสถานศึกษา ซึ่งมีเป้าหมายยังโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น-ฐานจำนวน 31,821 โรง ตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2553-2555) ของรัฐบาล”

ขอ้แนะนำสำหรบัผูป้ระกอบการเพือ่การ

บรหิารจดัการธรุกจิดว้ยแนวคดิ CSR

ท้ายสุดนี้ ดร.พิพัฒน์ กล่าวแนะนำสำหรับผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับแนวคิด CSR ว่า “ทุกวันนี้ภาคธุรกิจต่างตระหนักในเรื่องความรับ-ผิดชอบต่อสังคม นอกเหนือจากเรื่องของ Growth แต่เพียงอย่างเดียว หากธุรกิจใดต้องการความ ยั่งยืนก็จะต้องทำ CSR ทิศทางที่จะเกิดขึ้นภาคธุรกิจทั่วโลกนอกจากจะคิดถึงเรื่องผลกำไรแล้ว ยังคำนึงถึงเรื่องโลก คน และสิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้น ทั้ง 3 ด้านนี้ต้องไปด้วยกัน หรือ 3P นั่นคือ Profit, People และ Planet ซึ่งเราจะต้องสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้น หากเราทำได้ เชื่อว่า เราจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนแน่นอน” ดร.พิพัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

Special Issue