10
ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา 1 _12-02(001-016)P2.indd 1 4/14/12 11:08:57 PM

9789740329695

  • Upload
    cupress

  • View
    391

  • Download
    0

Embed Size (px)

DESCRIPTION

หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัติเพื่อการคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์

Citation preview

Page 1: 9789740329695

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา

1

_12-02(001-016)P2.indd 1 4/14/12 11:08:57 PM

Page 2: 9789740329695

สิทธิบัตร : หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัต ิ

เพื่อการคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์�

1.1 ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property)

ทรัพย์สินทางปัญญาตามความหมายทั่วไป หมายถึง ผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจาก

การลงทุนคิดค้นของมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม อันนำมา

ซึ่งความเจริญต่อสังคม แต่ตามความหมายในทางกฎหมายแล้วทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง

“สิทธิตามกฎหมายอันเกี่ยวกับผลงานสร้างสรรค์อันเกิดจากความคิดหรือสติปัญญาของมนุษย์”

[องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO), 1995: 5 อ้างถึงใน ยรรยง พวงราช, 2541 : 18]

ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องของการที่กฎหมายให้การรับรอง และให้ความคุ้มครองสิทธิ

ที่เกี่ยวข้องกับผลงานการสร้างสรรค์ ที่เกิดขึ้นจากสติปัญญาของมนุษย์ สิทธิในที่นี้ หมายถึง

“สิทธิอันเกิดขึ้นจากผลิตผลทางความคิด มากกว่าจะหมายถึงตัวผลิตผลที่ได้รับการสร้างสรรค์

ขึ้น” (ไชยยศ เหมะรัชตะ, 2539 : 4)

ตามความเห็นของผู้เขียน เมื่อบุคคลใดสร้างสรรค์ผลงานใดขึ้นมาและผลงานนั้นม ี

คุณประโยชน์และมีคุณค่าต่อสังคม และกฎหมายให้การรับรองว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา

บุคคลนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ให้มีสิทธิในการแสวงหาผลประโยชน์จากผลงาน

สร้างสรรค์นั้น และจะได้รับความคุ้มครองให้มีสิทธิในการฟ้องร้องผู้กระทำการฝ่าฝืนสิทธ ิ

ของตน หรอืผูก้ระทำการละเมดิแกผ่ลงานสรา้งสรรคข์องตนได ้ การทีก่ฎหมายใหค้วามคุม้ครอง

แก่ผู้สร้างสรรค์ให้มีสิทธิดังกล่าว จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้สร้างสรรค์สร้างสรรค์ผลงานใหม่ขึ้นมา

อีก และจะเป็นแรงจูงใจให้บุคคลอื่น ๆ ได้คิดค้นแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานใหม ่ ๆ อันจะเป็น

ประโยชนต์อ่สงัคมตามมาอกี

1.2 กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญาจะได้รับการรับรอง และได้รับความคุ้มครองต่อเมื่อมีกฎหมาย

กอ่ตัง้รบัรูไ้วโ้ดยตรงหรอืโดยออ้ม (ม.ร.ว.เสนยี ์ปราโมช อา้งถงึใน ยรรยง พวงราช, 2541 : 18)

ปัจจุบันได้มีการออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแล้วหลายฉบับ

ในประเทศไทย เช่น

- พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

และแก้ไขเพิ่มเติมครั้งล่าสุดโดย พ.ร.บ.สิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542

- พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

_12-02(001-016)P2.indd 2 4/14/12 11:08:58 PM

Page 3: 9789740329695

ความรู้เบื้องต้น

เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา �

1

- พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า

(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543

- พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดี

ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539

- พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542

- พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542

- พ.ร.บ.คุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543

- พ.ร.บ.คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546

- พ.ร.บ.การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. 2546

- พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545

ในด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ ได้มีการจัดทำอนุสัญญา

กรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Paris Convention for the

Protection of Industrial Property) ใน ค.ศ. 1883 (ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้เข้า

เป็นภาคีในอนุสัญญากรุงปารีส) และได้มีการจัดทำอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครอง

งานด้านวรรณกรรมและศิลปกรรม (Berne Convention for the Protection of Literary

and Artistic Works) ใน ค.ศ. 1886 (ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีใน พ.ศ. 2474) และ

ประเทศไทยได้เข้ารับพันธกรณีในฉบับที่มีการแก้ไข ณ กรุงปารีสใน ค.ศ. 1971 ด้วย

หลักการสำคัญของความตกลงระหว่างประเทศฉบับต่าง ๆ คือ หลักการปฏิบัติเยี่ยง

คนชาต ิ (National Treatment) และการกำหนดมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

ขัน้ตำ่ (ยรรยง พวงราช, 2541 : 33)

นอกจากนี้ ยังมีความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

ฉบับอื่น ๆ อีก (ยรรยง พวงราช, 2541 : 33) ที่สำคัญ ได้แก่

1. ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการค้า (Agreement on

Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า “TRIPs

Agreement”) TRIPs Agreement เป็นความตกลงระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ

จะลดการบิดเบือนและอุปสรรคที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศ และส่งเสริมให้มีการคุ้มครอง

สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเพียงพอและมีประสิทธิผล รวมทั้งเป็นความตกลงระหว่าง

_12-02(001-016)P2.indd 3 4/14/12 11:08:58 PM

Page 4: 9789740329695

สิทธิบัตร : หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัต ิ

เพื่อการคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์�

ประเทศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความมั่นใจแก่สมาชิกว่ามาตรการและวิธีดำเนินการที่ใช้บังคับ

สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจะไม่กลายเป็นอุปสรรคต่อการค้าอันชอบธรรม ประเทศใดต้องการ

เข้าร่วมในองค์การการค้าโลก (World Trade Organization หรือ WTO) จะต้องยอมรับและ

ปฏิบัติตามพันธกรณีต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การกำกับของ WTO ซึ่งรวมถึงความตกลงของ TRIPs

Agreement ด้วย ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของ WTO และได้ลงนามในความตกลงของ

TRIPs Agreement ตั้งแต่เริ่มต้น (1 มกราคม 2538)

2. อนุสัญญาว่าด้วยการก่อตั้งองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (Convention Estab-

lishing the World Intellectual Property Organization) เป็นอนุสัญญาที่ไม่เกี่ยวข้อง

กับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรง แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน

การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาผ่านทางความร่วมมือระหว่างประเทศและองค์กรระหว่าง

ประเทศอื่น ๆ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาฉบับดังกล่าวด้วย (ไชยยศ

เหมะรัชตะ, 2539 : 12) องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property

Organization หรอืทีเ่รยีกยอ่ ๆ วา่ “WIPO”) ทีก่อ่ตัง้ขึน้ตามอนสุญัญาฉบบัดงักลา่ว ปจัจบุนั

เปน็หนว่ยงานพเิศษของสหประชาชาต ิ (ไชยยศ เหมะรชัตะ, 2539 : 12) WIPO มหีนา้ทีห่ลกั

ในการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ เพื่อศึกษาถึงอนุสัญญาเก่ียวกับทรัพย์สินทางปัญญา

ระหว่างประเทศ รวมถึงการสร้างกฎหมายต้นแบบ (Model Law) เพื่อเป็นแนวทางในการ

คุม้ครองสทิธใินทรพัยส์นิทางปญัญาแตล่ะประเภท (วมิาน เหลา่ดสุติ, 2541 : 121)

1.3 ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

ประเภทที่ 1 ทรัพย์สินทางปัญญาทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) หมายถึง

ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางด้านอุตสาหกรรม ซึ่ง

ได้แก่

- สิทธิบัตร (Patents) เกี่ยวข้องกับสิทธิในการประดิษฐ์ (Invention) การออกแบบ

ผลิตภัณฑ์ (Product Designs) ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Models) การออกแบบ

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial Designs)

- อนุสิทธิบัตร (Petty Patents) เกี่ยวข้องกับสิทธิในการประดิษฐ์ที่ไม่ถึงขั้นที่จะได้รับ

สิทธิบัตร แต่มีความใหม่และประยุกต์ใช้ได้ในทางอุตสาหกรรม

_12-02(001-016)P2.indd 4 4/14/12 11:08:58 PM

Page 5: 9789740329695

ความรู้เบื้องต้น

เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา �

1

- เครื่องหมายการค้า (Trade Marks) เกี่ยวข้องกับสิทธิในเครื่องหมายต่าง ๆ ที่ใช้กับ

สินค้า รวมถึงเครื่องหมายบริการ (Service Marks)1

เครื่องหมายรับรอง (Certification

Marks)2

และเครือ่งหมายรว่ม (Collective Marks)3

- ชื่อหรือสิ่งกำหนดอันเกี่ยวกับการค้า (Trade Names) เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิ

ในการใช้ชื่อในการประกอบการค้าของบุคคล

- ความลับทางการค้า (Trade Secrets) เกี่ยวข้องกับข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกัน

โดยทั่วไปหรือไม่สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว และเป็นข้อมูล

ที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ที่ไม่ควรเปิดเผย รวมทั้งเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้

ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ

- สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร ์ (Geographical Indications) เกี่ยวข้องกับสิทธิในการใช้ชื่อ

สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร ์ เพื่อบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่ง

ภมูศิาสตรน์ัน้เปน็สนิคา้ทีม่คีณุภาพ ชือ่เสยีงหรอืคณุลกัษณะเฉพาะของแหลง่ภมูศิาสตรด์งักลา่ว

- แบบผังภูมิของวงจรรวม (Integrated Circuit Layout-Designs) เกี่ยวข้องกับ

แบบแผนผังหรือภาพที่ทำขึ้นไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบหรือวิธีใด เพื่อให้เห็นถึงการจัดวางให้เป็น

วงจรรวมของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปที่ทำหน้าที่ทางอิเล็กทรอนิกส์ อันประกอบด้วย

ชิ้นส่วนที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติการทางอิเล็กทรอนิกส์รวมอยู่ด้วย และส่วนเชื่อมต่อ

ที่เชื่อมชิ้นส่วนเหล่านั้นทั้งหมดหรือบางส่วนเข้าด้วยกัน ซึ่งได้จัดวางเป็นชั้นในลักษณะที่ผสาน

รวมกันอยู่บนหรือในวัตถุกึ่งตัวนำชิ้นเดียวกัน

ประเภทที่ 2 ทรัพย์สินทางปัญญาอันเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ (Copyright) และสิทธิ

ข้างเคียง (Neighboring Rights)

- ลิขสิทธิ ์ เป็นสิทธิที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์งานวรรณกรรม (รวมถึงโปรแกรม

คอมพวิเตอรแ์ละงานฐานขอ้มลู) ศลิปกรรม นาฏกรรม และดนตรกีรรม

1

เครื่องหมายที่ใช้กับการบริการต่าง ๆ

2

เครื่องหมายที่ใช้รับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการ

3

เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้กันในกลุ่มบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในเครือเดียวกันหรือโดยสมาชิกของ

สมาคม กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน

_12-02(001-016)P2.indd 5 4/14/12 11:08:58 PM

Page 6: 9789740329695

สิทธิบัตร : หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัต ิ

เพื่อการคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์�

- สิทธิข้างเคียง เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นจากการนำเอางานสร้างสรรค์ของผู้อื่นมาสร้างขึ้น

ได้แก่ สิทธิของศิลปินนักแสดง สิทธิของผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และ

สิทธิของผู้ทำการแพร่เสียง แพร่ภาพ

1.4 ความแตกต่างและความเหมือนคล้ายระหว่างทรัพย์สินทางปัญญากับทรัพย์สินทั่วไป

ทรัพย์สินทางปัญญาแตกต่างกับทรัพย์สินทั่วไป 5 ประการ ดังนี้

ประการที่ 1 ความแตกต่างในเรื่องวัตถุแห่งสิทธิ

ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิที่เกี่ยวข้องกับผลงานการสร้างสรรค์ของมนุษย ์ เป็น

สิทธิที่เกิดจากการที่กฎหมายกำหนดรับรองขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้สร้างสรรค ์ ให้ม ี

สิทธิในการแสวงหาผลประโยชน์จากผลิตผลที่เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของตนแต่เพียง

ผู้เดียว เป็นสิทธิที่จะหวงกันไม่ให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตนำสิทธิดังกล่าวไปแสวงหา

ผลประโยชน ์ ทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นสิทธิในทางนามธรรมที่จับต้องยึดถือ

ครอบครองไม่ได้4

เหมือนอย่างทรัพย์สินประเภทอื่นโดยทั่ว ๆ ไป ที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นวัตถ ุ

มีรูปร่าง (ยรรยง พวงราช, 2541 : 18, 19) เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต ์ ซึ่งสามารถยึดถือ

จบัตอ้งได ้

4

สิทธิในทางนามธรรมหรือสิทธิที่ไม่มีรูปร่างของทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญ คือ สิทธิในการแสวงหาผลประโยชน์แต่เพียง

ผู้เดียว

ในกรณีสิทธิบัตร ผู้ทรงสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์มีสิทธิในการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้ามา

ในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร (พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522, มาตรา 36) เช่น ผู้ทรงสิทธิบัตรเครื่อง

ดักจับยุงก็จะมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการผลิตและขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

ในกรณีลิขสิทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่งานสร้างสรรค์ของตน อนุญาต

ให้ผู้อื่นใช้สิทธิในงานสร้างสรรค์ของตน เช่น ทำซ้ำหรือดัดแปลงและเผยแพร่งานสร้างสรรค์ของตน (พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537,

มาตรา 15) เช่น เจ้าของหรือผู้แต่งนวนิยายมีสิทธิอนุญาตให้บริษัทผู้สร้างภาพยนตร์นำนวนิยายเรื่องน้ันไปสร้างเป็นภาพยนตร์

และนำออกฉายได้

ในกรณีเครื่องหมายการค้า เจ้าของเครื่องหมายการค้าเมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ก็จะมีสิทธิ

แต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้น สำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ (พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2541,

มาตรา 44) เช่น เจ้าของเครื่องหมายการค้า คำว่า “ARROW” มีสิทธิใช้เครื่องหมายดังกล่าวกับสินค้าจำพวกเสื้อผ้าผู้ชาย

เป็นต้น

_12-02(001-016)P2.indd 6 4/14/12 11:08:58 PM

Page 7: 9789740329695

ความรู้เบื้องต้น

เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา �

1

ประการที่ 2 ความแตกต่างในเรื่องอายุความในการใช้

ทรัพย์สินทางปัญญามีอายุความในการใช ้ เช่น สิทธิบัตรการประดิษฐ ์ มีอาย ุ 20 ป ี

นับแต่วันที่ขอรับสิทธิบัตร5

เครื่องหมายการค้ามีอาย ุ 10 ป ี นับแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียน

แตส่ามารถตอ่อายอุอกไปไดอ้กี6

ในขณะทีท่รพัยส์นิโดยทัว่ไปไมม่กีำหนดเวลาในการใช ้

ประการที่ 3 ความแตกต่างในเรื่องการได้มา

ทรัพย์สินทางปัญญาอาจได้มาโดยการรับโอนทางนิติกรรมเช่นเดียวกับทรัพย์สินทั่วไป

แต่ที่แตกต่างกัน คือ การได้มาซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาครั้งแรก ต้องได้มาโดยการ

สรา้งสรรคแ์ละจดทะเบยีน (ยกเวน้ลขิสทิธิไ์มต่อ้งจดทะเบยีนการไดม้า)

ประการที่ 4 ความแตกต่างในเรื่องการใช้สิทธิต่อสู้

ทรัพย์สินทางปัญญาไม่สามารถที่จะใช้ต่อสู้หรือยันแก่บุคคลทั่วไปได้ทั่วโลกเหมือน

อย่างกรณีทรัพย์สินทั่วไป ในกรณีทรัพย์สินทั่วไปเจ้าของทรัพย์สินนั้นมีสิทธิใช้กรรมสิทธิ์ใน

ทรัพย์สินของตนต่อสู้หรือยันกับบุคคลทั่วไปได้ทั่วโลก เช่น นาย ก. มีกรรมสิทธิ์ในกระเป๋าถือ

1 ใบ นาย ก. มีสิทธินำกระเป๋าถือใบนี้เดินทางติดตัวไปที่ไหนก็ได้ทั่วโลก หากมีผู้ใดมาขโมย

กระเป๋าถือของนาย ก. ไป นาย ก. สามารถฟ้องร้องเพื่อเอากระเป๋าถือคืนได้ แต่ถ้านาย ก.

ซึ่งเป็นคนไทยได้วาดภาพขึ้นมา 1 รูปภาพ นาย ก. ย่อมได้ลิขสิทธิ์ในภาพวาดนั้นและได้รับ

การคุ้มครองจากกฎหมายตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ผู้ใดเอาภาพวาดของ นาย ก. ไป

พิมพ์ซ้ำดัดแปลงเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนาย ก. ถือว่ากระทำการละเมิดลิขสิทธิ์

งานศิลปกรรมของนาย ก. และถ้าการกระทำละเมิดดังกล่าว กระทำขึ้นในประเทศไทย นาย ก.

สามารถฟ้องผู้ฝ่าฝืนฐานละเมิดลิขสิทธิ์ได้ แต่ถ้าภาพวาดของนาย ก. ถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่

ในประเทศอื่น เช่นนี้ ต้องพิจารณาว่าประเทศที่การละเมิดลิขสิทธิ์ได้ถูกทำขึ้นนั้นกับประเทศ

ไทยเป็นภาคีแห่งความตกลงว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศฉบับเดียวกันหรือไม่

ถ้าคำตอบ คือ ไม่เป็น นาย ก. ก็จะฟ้องว่ามีผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมประเภท

จิตรกรรมของตนในประเทศนั้นไม่ได้ (ปริญญา ดีผดุง, 2539 : 295, 300) หรือในกรณี

5

พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522, มาตรา 35

6

พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534, มาตรา 53

_12-02(001-016)P2.indd 7 4/14/12 11:08:59 PM

Page 8: 9789740329695

สิทธิบัตร : หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัต ิ

เพื่อการคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์�

สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า เจ้าของจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายของประเทศที่

ได้ไปจดทะเบียนไว้เท่านั้น เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าทรัพย์สินทางปัญญาใช้ยันกับบุคคลไม่ได้ทั่วโลก

เหมือนอย่างเช่นทรัพย์สินทั่วไป

ประการที่ 5 ความแตกต่างในเรื่องการแย่งการครอบครอง

ทรัพย์สินทางปัญญาไม่สามารถได้มาโดยการแย่งการครอบครองหรือครอบครองปรปักษ์

เหมือนอย่างทรัพย์สินทั่วไป

ทรัพย์สินทางปัญญาเหมือนคล้ายกับทรัพย์สินทั่วไป 2 ประการ ดังนี้

ประการที่ 1 สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสามารถโอนขาย ให้เช่า หรืออนุญาตให้ผู้อื่น

นำไปใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกับทรัพย์สินทั่วไป

ประการที่ 2 ในการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เจ้าของสิทธิย่อมต้องใช้สิทธิ

ภายในขอบเขตของกฎหมายเช่นเดียวกับเจ้าของทรัพย์สินโดยทั่วไป เช่น ถ้าผู้ทรงสิทธิบัตร

ต้องการให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นตามสิทธิบัตรได้มาตรฐาน ผู้ทรงสิทธิบัตรก็จะต้อง

ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

ในกรณีที่ผู้ทรงสิทธิบัตรต้องการผลิตสินค้าจากสิ่งประดิษฐ์ของตน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่า

ด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรม หรือในกรณีที่ผู้ทรงสิทธิบัตรจะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ

ตามสิทธิบัตร จะกำหนดเงื่อนไขในสัญญาอนุญาตในลักษณะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดย

ไม่เป็นธรรมไม่ได้ ในลักษณะทำนองเดียวกัน ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์ย่อมมีสิทธิขับขี่รถยนต์

ของตนบนท้องถนนได้แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับจราจร เป็นต้น (ยรรยง พวงราช,

2541: 19)

1.5 ความสำคัญและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

ท่านพิพรรธน์ อินทรศัพท์ อดีตอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา (2542 : 2) ได้กล่าวว่า

“ปัจจุบันทรัพย์สินทางปัญญาได้กลายเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของนำมาใช้เพื่อประโยชน์ใน

ทางการค้าทั้งสิ้น ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการจำหน่ายสินค้า เช่น ในการผลิตอาจต้องใช้

สิทธิบัตร ความลับทางการค้า เป็นต้น ส่วนในการจำหน่ายสินค้า จะต้องใช้เครื่องหมายการค้า

หรือเครื่องหมายบริการ เป็นต้น ซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ล้วนมีคุณค่าในทางพาณิชย์

และเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่งและสามารถสร้างตัวเงินได้อย่างมหาศาล”

_12-02(001-016)P2.indd 8 4/14/12 11:08:59 PM

Page 9: 9789740329695

ความรู้เบื้องต้น

เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา �

1

ผู้เขียนเห็นด้วยกับคำกล่าวข้างต้นเพราะทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญต่อสังคม

เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม เนื่องจากสิทธิบัตรเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้า

และนวัตกรรมใหม ่ ๆ เพราะสิทธิบัตรจะเกี่ยวข้องกับสิทธิในการประดิษฐ์และการออกแบบ

ผลิตภัณฑ ์ ลิขสิทธิ์เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนางานทางด้านการศึกษาศิลปะและวรรณกรรม

เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการเป็นสิ่งที่ช่วยในการขายสินค้าและการให้บริการ

กอ่ใหเ้กดิการพฒันาสง่เสรมิทางดา้นเศรษฐกจิการคา้

เมื่อทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญ จึงจำเป็นต้องมีการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครอง

และพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้เจ้าของทรัพย์สินทาง

ปัญญาได้แสวงหาผลประโยชน์และใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาของตนอย่างเต็มที่

โดยปราศจากการล่วงละเมิดจากผู้อื่นภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด

นอกจากกฎหมายจะออกมาเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว

มองในอีกแง่มุมหนึ่ง การมีกฎหมายให้ความคุ้มครองจะเป็นแรงจูงใจส่งเสริมให้บุคคลคิดค้น

และพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานทางทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น เพราะบุคคลมั่นใจว่าผลงาน

สร้างสรรค์ของตนจะไม่ถูกล่วงละเมิดได้โดยง่าย

เกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยภาครัฐ นายศุภชัย พานิชภักดิ์

อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เคยกล่าวไว้ว่า ภาครัฐมี

มาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา7

โดยการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านทรัพย์สิน

ทางปัญญาให้แก่บุคคลและหน่วยงานในประเทศเพื่อป้องกันมิให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร

7

มาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของภาครัฐที่นายศุภชัย พานิชภักดิ์ กล่าวไว้นั้น เป็นการตอบกระทู้ถามของนาย

เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น โดยนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี

ให้เป็นผู้ชี้แจงตอบกระทู้ถามที่ 708 ร. เรื่องมาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117

ตอนที่ 58 ก วันที่ 19 มิถุนายน 2543, หน้า 31-33.

_12-02(001-016)P2.indd 9 4/14/12 11:08:59 PM

Page 10: 9789740329695

สิทธิบัตร : หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัต ิ

เพื่อการคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์10

เครื่องหมายการค้า8

และมีมาตรการคุ้มครองการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยใน

ต่างประเทศ9

นอกจากนี ้ ภาครัฐยังได้ดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้กระทำการละเมิดทรัพย์สิน

ทางปัญญามาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการทำลายทรัพย์สินที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ ์

8

ภาครัฐได้เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านทรัพย์สินทางปัญญา ดังนี้

“ 1) การเผยแพรค่วามรูร้ะดบัวงกวา้ง ไดด้ำเนนิการผา่นสือ่สาธารณะตา่ง ๆ ไดแ้ก ่วทิย ุโทรทศัน ์หนงัสอืพมิพ ์นติยสาร

และสิง่พมิพอ์ืน่ ๆ โดยดำเนนิการเผยแพรใ่นลกัษณะสปอตโฆษณา สารคด ีขา่วสาร และจดัทำจลุสารเผยแพร ่

2) จดัฝกึอบรม ประชมุสมัมนาเผยแพรค่วามรูแ้บบเขม้ขน้ มุง่กลุม่เปา้หมายเปน็การเฉพาะ เชน่ ขา้ราชการผูบ้งัคบัใช้

กฎหมาย นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม ในฐานะผู้ผลิต ผู้ส่งออก นักศึกษา ประชาชนอื่น ๆ เพื่อเป็นการปลูกฝังความคิดริเริ่ม

สรา้งสรรค ์และนำประโยชนใ์นทรพัยส์นิทางปญัญามาใชใ้นเชงิพาณชิย ์โดยไดจ้ดัทำโครงการเผยแพรค่วามรู ้ดงันี ้

- จัดการฝึกอบรมตามโครงการจุดประกายทรัพย์สินทางปัญญาสู่มวลชน โดยวิทยากรไปบรรยายเผยแพร่ความรู้

ให้แก่สถาบันการศึกษา หอการค้า กลุ่มธุรกิจทั่วประเทศ

- จัดการฝึกอบรมพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้แก ่ ศาล อัยการ ตำรวจ อุตสาหกรรม

จงัหวดั พาณชิยจ์งัหวดั หอการคา้จงัหวดั ทนายความ สือ่มวลชน และภาคเอกชนอืน่ ๆ

- จัดการประชุมสัมมนาด้านสิทธิบัตรเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

3) ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีจากเอกสารสิทธิบัตรไปสู่การพัฒนาการผลิตของธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ความสำคัญของ

เอกสารสทิธบิตัร การสบืคน้ขอ้มลูจากเอกสารสทิธบิตัรผา่นระบบเครอืขา่ยอนิเทอรเ์นต็โดยดำเนนิการจดัสมัมนา

- เรือ่งขอ้มลูสทิธบิตัรกบัธรุกจิภาคอตุสาหกรรม

- เรือ่งการถา่ยทอดเทคโนโลยจีากสทิธบิตัรสูธ่รุกจิภาคอตุสาหกรรมสง่ออก

- เรือ่งอนสุทิธบิตัร

- เอกสารสทิธบิตัรกบัการพฒันาเทคโนโลยดีา้นอตุสาหกรรมยานยนต ์ชิน้สว่นยานยนต ์ชิน้สว่นรถยนต ์

- สทิธบิตัรกบัการพฒันาสนิคา้ของธรุกจิภาคอตุสาหกรรม

4) จัดประชุมเจ้าของงานลิขสิทธิ์ และผู้ใช้งานลิขสิทธิ์วรรณกรรม เพื่อรับฟังปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไข อันจะ

ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์แก่ผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์

5) จัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ในงานกาชาด งานประจำปีของจังหวัดและงานวันข้าราชการพลเรือน

6) ประสานงานกบัทบวงมหาวทิยาลยัเพือ่ผลกัดนัใหท้รพัยส์นิทางปญัญาเปน็วชิาบงัคบั สำหรบันกัศกึษาในระดบัปรญิญา

ตรทีกุสาขา ซึง่ทบวงมหาวทิยาลยัไดป้ระกาศนโยบายจดัการศกึษาดา้นทรพัยส์นิทางปญัญา เมือ่วนัที ่ 24 ธนัวาคม 2541 และจดั

คณะทำงานพจิารณาแนวทางการพฒันาหลกัสตูรบคุลากร คร/ูอาจารย ์เพือ่ดำเนนิการในเรือ่งดงักลา่ว

7) ประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อจัดทำหนังสืออ่านสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

8) จัดระบบข้อมูลด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเผยแพร่สู่ประชาชนในระบบอินเทอร์เน็ต โดยเปิดบริการตั้งแต่วันที่ 16

ธันวาคม 2541”

9

ภาครัฐได้ดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยในต่างประเทศ ดังนี้

“ 1) จัดให้มีศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยที่ถูกละเมิดในต่างประเทศและได้ประสานงาน

กับเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา และหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ในต่างประเทศในการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด รวมทั้ง

การประสานงานเพื่อคลี่คลายปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ขณะนี้เรื่องส่วนใหญ่อยู่ในระหว่างดำเนินการ

เพื่อพิสูจน์สิทธิ์ในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า หากเป็นผลสำเร็จจะส่งผลให้สินค้าไทยสามารถส่งไปจำหน่ายในประเทศ

นั้น ๆ ได้ หรือส่งไปจำหน่ายได้เพิ่มขึ้น และในปัจจุบันได้มีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของคนไทยในต่างประเทศเช่นกัน

โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานเพื่อคลี่คลายปัญหา

2) ดำเนนิโครงการคุม้ครองเครือ่งหมายการคา้ของผูส้ง่ออกไทยในประเทศสาธารณรฐัประชาธปิไตยประชาชนลาว ดงันี ้

- ได้จัดทำคู่มือและกฎระเบียบเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐ

ประชาธิปไตยประชาชนลาว และทำการแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการ

- จดัสมัมนานกัธรุกจิการคา้ชายแดนไทย-ลาว ใหม้คีวามรู ้ ความเขา้ใจและตระหนกัถงึสทิธใินการขอรบัการคุม้ครอง

เครื่องหมายการค้าในประเทศไทย และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พร้อมทั้งได้จัดส่งเอกสารคู่มือให ้

หนว่ยงานทีเ่กีย่วขอ้ง”

_12-02(001-016)P2.indd 10 4/14/12 11:08:59 PM