20
Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSOR SIZEDOESMATTER ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า เทคโนโลยในปจจบนสามารถออกแบบผลตภณฑทมขนาดเลกลงๆ แตคณภาพกลบสูงขนๆ จงทำใหหลายคนคดวาขนาดของเซนเซอรรบภาพกคงจะเปน เชนเดยวกน แตความจรงไมไดเปนเชนนน คำกลาวทวาใหญกวายอมดกวาคอเรองจรงของคณภาพทไดจากเซนเซอรรบภาพ เพราะเมอเปรยบเทยบทความละเอยด เทากน เชน 12 ลานพกเซล เซนเซอรขนาดฟูลเฟรมจะมพนทการรบแสงมากกวาเซนเซอรขนาด APS-C ประมาณ 2-2.5 เทา ดงนนขนาดของพกเซลจงใหญกวามาก ประสทธภาพในการรบแสงจงสูงกวา ผลทไดคอภาพมคณภาพสูงกวาเพราะมการขยายสญญาณนอย NOISE หรอสญญาณรบกวนจากเซนเซอรฟูลเฟรมจงตำกวา ภาพทไดจะมความคมชดตอพกเซลสูงกวา ในสวนของการใชงานสงทคณจะไดจากเซนเซอรขนาดฟูลเฟรมคอขอดทมออาชพและนกถายภาพระดบจรงจงตองการ ขยายช่วงการทำงานในทุกสภาพแสงได้ดีกว่า ดวยขนาดเซนเซอรทใหญกวาทำให EOS-1DS Mark III มประสทธภาพในการรบแสงสูง ภาพทไดจงมสญญาณรบกวน ( NOISE) ตำ ทำใหมออาชพ สามารถทำงานในสภาพแสงนอยโดยใชความไวแสงสูงไดโดยทภาพยงมรายละเอยดสูงและใหสสนทสดใส สวนในสภาพแสงทวไป จดเดนของเซนเซอรแบบฟูลเฟรมใน EOS-1DS Mark III คอ มชวงการรบแสงหรอทเรยกวาไดนามคเรนจกวางมาก ทำใหชางภาพ สามารถเกบรายละเอยดในสวนสวางของภาพไดดกวาเดมอยางชดเจน ลบจดดอยของระบบดจตอลในเรองอาการขาดรายละเอยดในสขาวหรอในสวนสวางของ ภาพ EOS-1DS Mark III สามารถเกบรายละเอยดในสขาวไดดเลศ คนสงทเคยขาดหายไปจากภาพทไดจากกลอง DSLR บลอฉากหลังและฉากหน้าได้ดีกว่า เซนเซอรขนาดฟูลเฟรมจะใหความชดลกของภาพเทากบฟลม 35 มม. ซงจะแตกตางจากเซนเซอรขนาด APS-C (ทมขนาดเลกกวากนกวาเทาตว) ดงนน เซนเซอรขนาด APS-C จะใหความชดลกสูงกวาเมอถายภาพดวยรูรบแสงเทากนและขนาดภาพเทากน ในการถายภาพบคคลเซนเซอรแบบฟูลเฟรมจะเบลอฉากหลง และฉากหนาไดมากกวา มชวงของความชดลกทกวางกวา ใหชางภาพเลอกทจะใชความชดลกนอยหรอความชดลกสูงไดตามตองการ เซ็นเซอร์ฟูลเฟรมรองรับความละเอียดสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า แมวาความละเอยดของเซนเซอรจะพฒนาใหสูงไปไดเรอยๆ เซนเซอรขนาด 1/1.8 นว ของกลองคอมแพคในปจจบนมความละเอยดสูงถง 12 ลานพกเซล เซนเซอรขนาด APS-C มความละเอยดสูงถง 14 ลานพกเซล แตการออกแบบใหเซนเซอรมความละเอยดสูงมากๆ บนขนาดทเลกทำใหขนาดพกเซลเลกลง ผลตามมา กคอสญญาณรบกวนจะมากขนๆ จงจำเปนตองพงพาวงจรลดสญญาณรบกวนอยางมาก แตเซนเซอรแบบฟูลเฟรมของ EOS-1DS Mark III ใหความละเอยดสูงถง 21.1 ลานพกเซล โดยทยงมขนาดพกเซลใหญกวาเซนเซอรขนาด APS-C ดงนน คณภาพทไดจากเซนเซอรฟูลเฟรมจงสูงกวาและใหความละเอยดสูงกวา เซนเซอร CMOS แบบฟูลเฟรมของ EOS-1DS Mark III พฒนามาจนถงจดทสามารถใหคณภาพไดเหนอกวาระบบฟลม ซงการจะทำไดเชนนนแคนนอนตอง กปญหาหลกของเซนเซอรคอเรองความรอนจากการทำงานและจากสภาพแวดลอม การบนทกโดยเปดชตเตอรเปนเวลานาน และการใชความไวแสงสูงในการบนทก ภาพ ซง EOS-1DS Mark III ไดกาวขามขดจำกดของกลอง DSLR ทงมวล โดยใชเทคโนโลยขนสูงในการสรางเซนเซอร CMOS ใหม

Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า

Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSOR SIZE DOES MATTER ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กลงๆ แต่คุณภาพกลับสูงขึ้นๆ จึงทำให้หลายคนคิดว่าขนาดของเซ็นเซอร์รับภาพก็คงจะเป็นเช่นเดียวกัน แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น คำกล่าวที่ว่าใหญ่กว่าย่อมดีกว่าคือเรื่องจริงของคุณภาพที่ได้จากเซ็นเซอร์รับภาพ เพราะเมื่อเปรียบเทียบที่ความละเอียดเท่ากัน เช่น 12 ล้านพิกเซล เซ็นเซอร์ขนาดฟูลเฟรมจะมีพื้นที่การรับแสงมากกว่าเซ็นเซอร์ขนาด APS-C ประมาณ 2-2.5 เท่า ดังนั้นขนาดของพิกเซลจึงใหญ่กว่ามากประสิทธิภาพในการรับแสงจึงสูงกว่า ผลที่ได้คือภาพมีคุณภาพสูงกว่าเพราะมีการขยายสัญญาณน้อย NOISE หรือสัญญาณรบกวนจากเซ็นเซอร์ฟูลเฟรมจึงต่ำกว่า ภาพที่ได้จะมีความคมชัดต่อพิกเซลสูงกว่า ในส่วนของการใช้งานสิ่งที่คุณจะได้จากเซ็นเซอร์ขนาดฟูลเฟรมคือข้อดีที่มืออาชีพและนักถ่ายภาพระดับจริงจังต้องการ ขยายช่วงการทำงานในทุกสภาพแสงได้ดีกว่า ด้วยขนาดเซ็นเซอร์ที่ใหญ่กว่าทำให้ EOS-1DS Mark III มีประสิทธิภาพในการรับแสงสูง ภาพที่ได้จึงมีสัญญาณรบกวน ( NOISE) ต่ำ ทำให้มืออาชีพสามารถทำงานในสภาพแสงน้อยโดยใช้ความไวแสงสูงได้โดยที่ภาพยังมีรายละเอียดสูงและให้สีสันที่สดใส ส่วนในสภาพแสงทั่วไป จุดเด่นของเซ็นเซอร์แบบฟูลเฟรมใน EOS-1DS Mark III คือ มีช่วงการรับแสงหรือที่เรียกว่าไดนามิคเรนจ์กว้างมาก ทำให้ช่างภาพสามารถเก็บรายละเอียดในส่วนสว่างของภาพได้ดีกว่าเดิมอย่างชัดเจน ลบจุดด้อยของระบบดิจิตอลในเรื่องอาการขาดรายละเอียดในสีขาวหรือในส่วนสว่างของภาพ EOS-1DS Mark III สามารถเก็บรายละเอียดในสีขาวได้ดีเลิศ คืนสิ่งที่เคยขาดหายไปจากภาพที่ได้จากกล้อง DSLR เ บลอฉากหลังและฉากหน้าได้ดีกว่า เซ็นเซอร์ขนาดฟูลเฟรมจะให้ความชัดลึกของภาพเท่ากับฟิล์ม 35 มม. ซึ่งจะแตกต่างจากเซ็นเซอร์ขนาด APS-C (ที่มีขนาดเล็กกว่ากันกว่าเท่าตัว) ดังนั้นเซ็นเซอร์ขนาด APS-C จะให้ความชัดลึกสูงกว่าเมื่อถ่ายภาพด้วยรูรับแสงเท่ากันและขนาดภาพเท่ากัน ในการถ่ายภาพบุคคลเซ็นเซอร์แบบฟูลเฟรมจะเบลอฉากหลังและฉากหน้าได้มากกว่า มีช่วงของความชัดลึกที่กว้างกว่า ให้ช่างภาพเลือกที่จะใช้ความชัดลึกน้อยหรือความชัดลึกสูงได้ตามต้องการ เซ็นเซอร์ฟูลเฟรมรองรับความละเอียดสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า แม้ว่าความละเอียดของเซ็นเซอร์จะพัฒนาให้สูงไปได้เรื่อยๆ เซ็นเซอร์ขนาด 1/1.8 นิ้ว ของกล้องคอมแพคในปัจจุบันมีความละเอียดสูงถึง 12 ล้านพิกเซล เซ็นเซอร์ขนาด APS-C มีความละเอียดสูงถึง 14 ล้านพิกเซล แต่การออกแบบให้เซ็นเซอร์มีความละเอียดสูงมากๆ บนขนาดที่เล็กทำให้ขนาดพิกเซลเล็กลง ผลตามมาก็คือสัญญาณรบกวนจะมากขึ้นๆ จึงจำเป็นต้องพึ่งพาวงจรลดสัญญาณรบกวนอย่างมาก แต่เซ็นเซอร์แบบฟูลเฟรมของ EOS-1DS Mark III ให้ความละเอียดสูงถึง 21.1 ล้านพิกเซล โดยที่ยังมีขนาดพิกเซลใหญ่กว่าเซ็นเซอร์ขนาด APS-C ดังนั้นคุณภาพที่ได้จากเซ็นเซอร์ฟูลเฟรมจึงสูงกว่าและให้ความละเอียดสูงกว่า เซ็นเซอร์ CMOS แบบฟูลเฟรมของ EOS-1DS Mark III พัฒนามาจนถึงจุดที่สามารถให้คุณภาพได้เหนือกว่าระบบฟิล์ม ซึ่งการจะทำได้เช่นนั้นแคนนอนต้องแก้ปัญหาหลักของเซ็นเซอร์คือเรื่องความร้อนจากการทำงานและจากสภาพแวดล้อม การบันทึกโดยเปิดชัตเตอร์เป็นเวลานาน และการใช้ความไวแสงสูงในการบันทึกภาพ ซึ่ง EOS-1DS Mark III ได้ก้าวข้ามขีดจำกัดของกล้อง DSLR ทั้งมวล โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการสร้างเซ็นเซอร์ CMOS ใหม่

Page 2: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า

รองรับเลนส์ EF ได้เต็มประสิทธิภาพกว่า เซ็นเซอร์แบบฟูลเฟรมจะรองรับมุมรับภาพของเลนส์ EF ได้เต็มที่ ทำให้สามารถใช้กับเลนส์ EF ได้โดยไม่สูญเสียทางยาวโฟกัส โดยเฉพาะกับเลนส์มุมกว้างจะให้มุมรับภาพได้เต็มตาม Image Circle ของเลนส์ ไม่ถูกครอปจากตัวคูณ 1.5-1.6 X เหมือนกับกล้องที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาด APS-C คุณคาดหวังคุณภาพของกล้องขนาดไหน ? เพราะช่างภาพแต่ละคนมีความต้องการแตกต่างกัน มือสมัครเล่นอาจพึงพอใจกับกล้องขนาด APS-C ความละเอียด 10 ล้านพิกเซล ช่างภาพระดับจริงจังอาจต้องการกล้องที่แข็งแรง มีความละเอียดสูงระดับ 12 ล้านพิกเซล แต่สำหรับช่างภาพมืออาชีพที่ต้องการไฟล์ภาพขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพสูงเพื่อใช้กับงานสิ่งพิมพ์อย่างเช่น โปสเตอร์ บิลบอร์ดหรืองานพิมพ์ภาพขนาดใหญ่ จะทราบดีว่ากล้อง DSLR ขนาด APS-C ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นช่างภาพมืออาชีพจำนวนมากจึงต้องใช้ DIGITAL BACK ของกล้องขนาดกลาง (Medium Format) เพื่อให้ได้ไฟล์ขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพสูง แต่ปัญหาของการใช้กล้องมีเดียม ฟอร์แมต กับ ดิจิตอล แบ็ค ก็คือการทำงานที่ค่อนข้างช้า ทั้งการบันทึก การเขียนข้อมูลลงหน่วยความจำ การถ่ายต่อเนื่อง ระบบโฟกัสของกล้องและเลนส์ อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในเรื่องเลนส์ค่อนข้างมาก มีเลนส์ให้เลือกใช้น้อย เลนส์ไม่ไวแสงนักและหาเลนส์ซูมใช้ยาก ทำให้ช่างภาพเสียโอกาสในการสร้างสรรค์งานบางรูปแบบไป เราทราบดีว่าช่างภาพมืออาชีพล้วนต้องการกล้องที่สมบูรณ์แบบทั้งเรื่องโครงสร้างที่แข็งแกร่ง รองรับการใช้งานหนักได้ในทุกสถานการณ์ และทุกสภาพอากาศ ต้องการกล้องที่ปรับโฟกัสได้รวดเร็ว แม่นยำ ไม่พลาดกับทุกช็อต ต้องการกล้องที่ถ่ายต่อเนื่องได้รวดเร็ว จับทุกอิริยาบทของนางแบบจากการโพสท์ได้อย่างรวดเร็ว ฉับไว และช่างภาพมืออาชีพต้องการกล้องที่มีความละเอียดสูง และให้คุณภาพไฟล์ดีเพียงพอสำหรับการใช้งาน แคนนอนจึงได้สร้างกล้อง DSLR ในระดับ State-of-the-Art ขึ้นมาเพื่อเป็นบรรทัดฐานใหม่ของกล้องดิจิตอลที่สามารถรองรับการใช้งานของมืออาชีพได้ทุกระดับ ให้คุณภาพในระดับเดียวกับดิจิตอล แบ็ค แต่เหนือกว่าด้วยประสิทธิภาพของตัวกล้องและระบบการทำงานที่บรรดากล้องมีเดียม ฟอร์แมต ทุกรุ่นมิอาจเทียบเคียงได้ในทุกๆ ด้าน กล้องรุ่นนี้จะทำลายข้อจำกัดทั้งมวลที่มืออาชีพเคยประสบกับกล้องมีเดียม ฟอร์แมต เปิดโอกาสให้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของช่างภาพไม่ถูกกำหนดด้วยระบบการทำงานที่ยังล้าหลังและความเชื่องช้าที่น่าอึดอัดใจของกล้องมีเดียม ฟอร์แมต Canon EOS-1Ds Mark III คือกล้องที่วิศวกรของแคนนอนพัฒนามาเพื่อปลดปล่อยพันธนาการทั้งมวล ด้วยความละเอียดระดับ 21.1 ล้านพิกเซล จาก เซ็นเซอร์ CMOS ใหม่ ขนาด Full Frame พร้อมภาคแปลงสัญญาณ A/D ขนาด 14 บิต ให้รายละเอียดในระดับที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อนหน้าจากกล้องรุ่นใดๆ จุดเด่นของ CMOS เมื่อเทียบกับ CCD ประสิทธิภาพของกล้องแห่งอนาคตนั้นขึ้นอยู่กับการเลือกใช้เซ็นเซอร์รับภาพ เราเลือกใช้เซ็นเซอร์แบบ CMOS ด้วยเหตุผลที่ชัดเจนว่าเซ็นเซอร์แบบนี้ให้ความเร็วในการอ่านสัญญาณสูง และสามารถพัฒนาให้มีความละเอียดสูงได้ อีกทั้งยังใช้พลังงานต่ำ ด้วยเทคโนโลยีการผลิตสารกึ่งตัวนำ ทำให้พัฒนาเป็นเซลล์รับ

Page 3: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า

ภาพ (photodiode) และวงจรอยู่ภายในชิพตัวเดียว เทคโนโลยีนี้จะก้าวหน้าเหนือเซ็นเซอร์แบบ CCD ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนากล้องดิจิตอล SLR การทำงานของ CMOS จะแตกต่างจาก CCD โดย CCD นั้นในแต่ละพิกเซลจะไม่มีการขยายสัญญาณและไม่มีวงจรแปลงสัญญาณในตัว ข้อมูลจากโฟโต้ไดโอดในแต่ละพิกเซลจะถูกส่งออกมาเป็นแถวๆ แล้วเคลื่อนไปสู่ภาคแปลงสัญญาณด้วย CCD ในแนวระนาบ ส่วน CMOS นั้นในแต่ละพิกเซลจะมีวงจรย่อยๆ ที่จะเปลี่ยนสัญญาณอนาล็อกจากค่าแสงที่ตกกระทบเป็นสัญญาณดิจิตอลและมีการขยายสัญญาณจากแต่ละพิกเซลโดยตรง จากนั้นจะส่งสัญญาณดิจิตอลออกจากเซ็นเซอร์ จุดเด่นของ CMOS คือ ใช้พลังงานน้อยกว่า CCD อย่างมาก โดยเฉพาะเซ็นเซอร์ขนาดใหญ่ CMOS จะใช้พลังงานเพียง 1 ใน 3 ของ CCD เท่านั้น นอกจากนั้น CMOS ยังสามารถออกแบบให้มีความเร็วในการทำงานในการถ่ายโอนข้อมูลได้สูงกว่าและสามารถออกแบบติดวงจรลดสัญญาณรบกวนบนชิปโดยตรงได้ จุดด้อยของ CMOS ในเจเนอเรชันแรกคือเรื่องสัญญาณรบกวนที่สูงกว่า CCD เพราะในแต่ละพิกเซลต้องแบ่งพื้นที่ของโฟโต้ไดโอดไปให้วงจรขยายสัญญาณ พื้นที่ในการรับแสงจึงน้อยกว่า CCD แต่แคนนอนได้แก้ปัญหานี้ได้กับเซ็นเซอร์ CMOS ในเจเนอเรชันที่สอง เหนือกว่า CMOS ทั่วไป แคนนนอนออกแบบและพัฒนาเซ็นเซอร์ CMOS ใหม่ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงและให้คุณภาพดีเลิศ โดยติดตั้งวงจรสัญญาณรบกวนบนชิป โดยวงจรสแกนในแนวนอน (Sensor Driver LSI) จะทำงานร่วมกับวงจรแปลงสัญญาณอนาล็อกสู่ดจิิตอล ( Analog Processor LSI ) ที่จะทำหน้าที่เป็นวงจรขจัดสัญญาณรบกวน แล้วจึงแปลงสัญญาณดิจิตอล จากนั้นจึงส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผล Dual Digic III เพื่อประมวลผลให้ได้ภาพที่มีคุณภาพสูง เทคโนโลยี ใหม่ ใน CMOS ในการลดสัญญาณรบกวน การพัฒนาเซ็นเซอร์ CMOS นั้นจะต้องขจัดปัญหาหลักของ CMOS คือเรื่องสัญญาณรบกวนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพื้นฐานแล้วสัญญาณรบกวนที่มีผลต่อคุณภาพนั้นมีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน อย่างแรกเรียกกันว่า Fixed-pattern noise สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของวงจรแปลงสัญญาณในพิกเซล ทำให้เกิดสัญญาณรบกวนที่พิกเซลนั้นๆ ทุกครั้งที่บันทึกภาพ แม้จะในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน แต่สัญญาณรบกวนชนิดนี้สามารถแก้ไขได้โดยวงจรลดสัญญาณรบกวนทั่วไปและวงจรสัญญาณรบกวนที่ติดบนชิป อีกรูปแบบคือ Random-noise ที่มีสาเหตุมาจากสัญญาณรบกวนจากความร้อนและจากแสงที่น้อย สัญญาณรบกวนรูปแบบนี้จะไม่อยู่ในตำแหน่งเดิมทุกครั้งในแต่ละช่วงเวลาที่บันทึกภาพ จึงไม่สามารถขจัดได้ด้วยวงจรลดสัญญาณรบกวนที่ติดตั้งบนชิป แต่ด้วยการออกแบบเซ็นเซอร์ CMOS ใหม่ แคนนอนพยายามลดสัญญาณรบกวนทั้งแบบ fixed-pattern และ random noise ให้เลือกน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

การทำงานของเซ็นเซอร์แบบ CCD การทำงานของเซ็นเซอร์แบบ CCD

Page 4: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า

สัญญาณรบกวนแบบ Dark current ที่เกิดในผลึกซิลิคอน สัญญาณรบกวนแบบ Dark current เกิดจากความร้อนในการทำงานของโฟโต้ไดโอดในภาพสัญญาณรบกวนนี้จะมีลักษณะเหมือนจุดแสง สาเหตุที่ เกิดสัญญาณรบกวนแบบนี้ก็เพราะว่าผลึกสารเรืองแสงและพลาสมาในเส้นใยกึ่งตัวนำระหว่าง CMOS เสียหาย แคนนอนได้พยายามยกระดับสิ่งแวดล้อมในการ ผลิต เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต และเงื่อนไขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เพื่อลดระดับความเสียหายของผลึกสารเรื่องแสงและพลาสมา เพื่อให้ได้เซนเซอร์ CMOS ที่ประสิทธิภาพในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น วงจรกำจัดสัญญาณรบกวนแบบ Double sampling วงจรลดสัญญาณรบกวนของเซ็นเซอร์ CMOS ทั่วไปจะใช้ทรานซิสเตอร์ 3 ตัว ในการทำงาน ซึ่งจะมีปัญหาในเรื่องสัญญาณรบกวน จาก fixed pattem noise และ Random noise จากสวิทซ์รีเซ็ท แคนนอนจึงพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการลดสัญญาณรบกวนดียิ่งขึ้น โดยใช้การแซมปลิ้งสัญญาณ 2 ชั้น แคนนอนได้เพิ่มสวิทซ์การส่งผ่านข้อมูลในแต่ละพิกเซล(ใช้ทรานซิสเตอร์ 4 ตัว) และใช้ระบบความจำข้อมูลอนาล็อก โดยชุดแรกจะเก็บบันทึกความจำข้อมูลของสัญญาณรบกวน อีกชุดบันทึกความจำข้อมูลของสัญญาณ+สัญญาณรบกวน การทำงานจะเริ่มจากสัญญาณจากพิกเซลถูกส่งเข้ามาโดยสวิทซ์รีเซ็ท จากนั้นสวิทซ์รีเซ็ทจะปิดหลังจากสัญญาณถูกรีเซ็ทแล้ว สัญญาณรบกวนจากความร้อนจะตรงไปยังส่วนของการอ่านสัญญาณขาออกจากพิกเซล ในขณะเดียวกันสวิทซ์การส่งผ่านข้อมูลจะปิดและการเปิดรับแสงเริ่มต้น หลังจากเปิดรับแสง Random noise จะถูกอ่านผ่านส่วนขยายสัญญาณของพิกเซล (รวมทั้ง Fixed pattern noise) และจะบันทึกข้อมูลของสัญญาณรบกวนไว้ จากนั้นสวิทซ์ส่งผ่านข้อมูลจะถูกเปิดและข้อมูลสัญญญาณออฟติคัลจะถ่ายโอนเข้ามายังส่วนของการอ่านข้อมูลที่พิกเซล และด้วยการออกแบบให้สวิทซ์ของพิกเซลมีโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมแบบที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้ทั้งหมด สัญญาณออฟติคัลจึงถ่ายโอนไปยังส่วนของการอ่านสัญญาณขาออกของพิกเซลทั้งหมด โดยรวมมาทั้งสัญญาณ (Signal หรือ S) และ Random noise (n) เมื่อถูกอ่านและขยายสัญญาณที่พิกเซล ข้อมูลความจำของสัญญาณ+สัญญาณรบกวน (S+N+n) จึงถูกบันทึกในหน่วยความจำ จากนั้นช่องบันทึกความจำทั้ง 2 ช่องที่อยู่คนละขั้ว ( N+n และ S+N+n) จะถูกส่งเข้าวงจรกำจัดสัญญาณรบกวน (S+N+n)-(N+n) =S ซึ่งผลที่ได้คือสัญญาณ ที่ใสสะอาด ระบบการทำงาน 4-transistor method cancellation ของแคนนอนออกแบบมาสำหรับการลดสัญญาณรบกวนจากเซ็นเซอร์ CMOS ที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้สามารถใช้ความไวแสงสูงหรือความเร็วชัตเตอร์ต่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งกว่า ลดสัญญาณรบกวนเพื่อให้รายละเอียดในส่วนมืดของภาพที่ดีขึ้น เซ็นเซอร์ CMOS ที่แคนนอนพัฒนาขึ้นเองออกแบบให้มีอัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนที่สูงและหน่วยประมวลผล DIGIC III ช่วยทำให้ได้ภาพที่มีสัญญาณรบกวนต่ำมากแม้จะถ่ายภาพด้วยค่าความไวแสงสูง และเมื่อใช้ระบบลดสัญญาณรบกวน รายละเอียดในส่วนมืดของภาพจะยิ่งดูสดใสมีรายละเอียดที่ดีแม้จะถ่ายภาพด้วยค่าความไวชัตเตอร์ต่ำๆ หรือค่าความไวแสงสูงๆ ทำให้ภาพดูดี สวยเป็นธรรมชาติ ลดสัญญาณรบกวนเมื่อถ่ายภาพด้วยความไวชัตเตอร์ต่ำๆ (C. Fn II -1) เมื่อถ่ายภาพด้วยค่าความไวชัตเตอร์ที่ 1 วินาทีหรือต่ำกว่านั้น ระบบลดสัญญาณรบกวนเมื่อถ่ายภาพด้วยค่าความไวชัตเตอร์ต่ำๆ จะทำงาน DIGIC III จะตรวจหาสัญญาณรบกวนที่ปรากฏขึ้นในภาพ ถ้าพบว่ามีสัญญาณรบกวนก็จะลดสัญญาณรบกวนนั้นลงโดยอัตโนมัติ (C. Fn II -1) และคุณยังสามารถปรับตั้งค่าการลดสัญญาณรบกวนให้กับทุกๆ ภาพได้ (C. Fn II -1-2) ลดสัญญาณรบกวนเมื่อถ่ายภาพด้วยความไวแสง(ISO) สูง (C. Fn II -2*)

Page 5: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า

ระบบลดสัญญาณรบกวนจะทำงานเมื่อถ่ายภาพด้วยความไวแสงสูง แม้ว่าจะปรับตั้งค่าระบบลดสัญญาณรบกวนไว้ที่ทุกค่าความไวแสง แต่ผลการทำงานนั้นจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเมื่อถ่ายภาพด้วยค่าความไวแสงสูง และเมื่อถ่ายด้วยค่าความไวแสงต่ำ สัญญาณรบกวนในส่วนมืดของภาพก็จะถูกลดหายไป * เมื่อตั้งค่าการทำงานนี้จะทำให้จำนวนภาพสูงสุดในการถ่ายภาพต่อเนื่องลดลง ความเร็วของ CMOS ใหม ่ เซ็นเซอร์ CMOS ในเจเนอเรชันที่สองของแคนนอนออกแบบให้มีความเร็วในการอ่านสัญญาณขาออกได้สูงกว่าเซ็นเซอร์แบบ CCD อย่างมาก จากรุ่นEOS-1DS Mark II ความเร็วจะอยู่ที่ 48 MHZ เพราะว่าจะอ่านสัญญาณ 4 แชนแนล ที่ความเร็วช่องละ 12 MHz แต่ในเซ็นเซอร์ CMOS ใหม่ การอ่านสัญญาณจะเป็นแบบ 8 แชนเนล โดยแคนนอนยังปรับสมรรถนะของความเร็วในแต่ละช่องเป็น 16 MHz ทำให้ความเร็วโดยรวมสูงถึง 128 MHz เร็วกว่ารุ่นเดิมกว่าสองเท่าตัว ฟิลเตอร์แบบ Low Pass ที่ ให้สีสันเต็มอิ่มพร้อมการป้องกันรังสีอินฟราเรด บางครั้งเราอาจเห็นภาพที่ลักษณะและสีที่ผิดเพี้ยนไปเมื่อถ่ายภาพวัตถุที่มีลักษณะเป็นเส้นจำนวนมาก เราเรียกว่า moire ซึ่งเป็นผลมาจากฟิลเตอร์ RGB และสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้จากการติดตั้งฟิลเตอร์ Low-pass หน้าเซ็นเซอร์รับภาพ อย่างไรก็ตามฟิลเตอร์นี้อาจมีผลต่อการลดรายละเอียดของภาพ เพื่อแก้ไขข้อจำกัดเหล่านี้ แคนนอนได้พัฒนาฟิลเตอร์ Low-pass ที่ประกอบด้วยเลเยอร์สามชั้น เลเยอร์สองชั้นของฟิลเตอร์จะทำหน้าที่แยกภาพออกในแนวระนาบและแนวดิ่ง การจัดเรียงตัวนี้ทำให้เปลี่ยนแสงเป็นแบบโพราไรซ์ ส่วนเลเยอร์ที่สามนั้นจะส่งผ่านภาพโดยตรง ด้วยการทำงานนี้ส่งผลให้สามารถป้องกันเฉพาะแสงความถี่สูงซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิด moire ในขณะที่รายละเอียดของภาพนั้นจะยังอยู่ครบถ้วน เต็มประสิทธิภาพความละเอียดที่สูงมากของเซ็นเซอร์ CMOS (บรรยายภาพ) โครงสร้างของ Low-pass ฟิลเตอร์ (เรียงตามบรรทัด) ฟิลเตอร์ป้องกันรังสีอินฟราเรด กระจกดูดซับรังสีอินฟราเรด กระจกสะท้อนรังสี(สะท้อนแสงอินฟราเรด) Low-pass ฟิลเตอร์ Low-pass ฟิลเตอร์ 1 (แยกวัตถุในภาพในแนวระนาบ) Phase plate (เปลี่ยนแสงแบบ linear polarization เป็น circular polarization) Low-pass ฟิลเตอร์ 2 (แยกวัตถุในภาพในแนวดิ่ง) Low-pass ฟิลเตอร์ 1 และ 2 (birefringent plate) จะแยกทิศทางของแสงออกจากกัน ระหว่างที่ผ่านชั้น phase plate ของ Low-pass ฟิลเตอร์ ก็จะทำให้เกิดจุดสีประกอบกันเป็นภาพ เรียงตัวทั้งในแนวระนาบและแนวดิ่งที่มีความแม่นยำสูงมาก ด้วยขนาดที่ใหญ่และบางมากทำให้ฟิลเตอร์นี้มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูงมาก การป้องกันแสงอินฟราเรดนั้นจะมีฟิลเตอร์ที่อยู่ด้านหน้า Low-pass ฟิลเตอร์เพื่อป้องกันการเกิดภาพหลอนและสีที่ผิดเพี้ยนอันเนื่องมาจากแสงอินฟราเรด ระบบทำความสะอาดเซ็นเซอร์ที่ใช้การสั่นฟิลเตอร์ป้องกันแสงอินฟราเรดที่อยู่ด้านหน้านั้น ฟิลเตอร์นี้ได้แยกกันกับ Low-pass ฟิลเตอร์ มีค่าความไวแสง (ISO) ในช่วงกว้าง เมื่อความก้าวหน้าในการพัฒนาเซ็นเซอร์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ขนาดของพิกเซลก็มีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย เซ็นเซอร์ที่มีจำนวนพิกเซลมากแต่มีขนาดของพิกเซลที่เล็กกว่าจะทำให้ค่าความไวแสงและไดนามิคเรนจ์อยู่ในช่วงแคบ เราได้แก้ไขปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีการผลิตสารกึ่งตัวนำแบบใหม่ล่าสุด ซึ่งทำให้ได้ภาพที่

Page 6: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า

สดใส มีค่าความไวแสงในช่วงกว้าง และไล่โทนสีของภาพได้อย่างนวลเนียน โฟโต้ ไดโอดที่ ให้ประสิทธิภาพในการรับแสงที่ดีกว่า ค่าความไวแสงสูงและไดนามิคเรนจ์ที่กว้างนั้นมาจากพื้นที่รับแสงของโฟโต้ไดโอดมากกว่าขนาดของพิกเซล ด้วยเทคโนโลยีในการผลิตขั้นสูง แคนนอนได้ลดขนาดของพิกเซลรอบๆ โฟโต้ไดโอดลง ดังที่แสดงในภาพ ขนาดของ พิกเซลลดลงแต่พื้นที่ของโฟโต้ไดโอดมีขนาดใหญ่มากพอที่จะรับแสงซึ่งทำให้ได้ภาพที่มีไดนามิคเรนจ์ที่กว้างกว่า ภาพมีคุณภาพดีกว่า EOS-1Ds / EOS-1D ไมโครเลนส์ขนาดเล็ก มีความหนาแน่นสูง รับแสงได้ดีมากขึ้น ในแต่ละพิกเซลจะประกอบไปด้วยเลนส์ขนาดเล็กๆ ที่มีประสิทธิภาพในการรับแสงเข้าสู่โฟโต้ไดโอด ช่องว่างระหว่างเลนส์ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไรประสิทธิภาพในการรับแสงจะยิ่งมีมากขึ้นเมื่อเทียบกับกล้องที่มีจำนวนพิกเซลเท่ากัน และมีส่วนให้ได้ช่วงค่าความไวแสงที่กว้างมากขึ้นด้วย อัตราส่วนของสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน (S/N Ratio) ที่สูง ทนต่อการขยายสัญญาณได้ด ี คล้ายคลึงกับการ push เพิ่มค่าความไวแสงของฟิล์ม เราสามารถเพิ่มค่าความไวแสงด้วยการขยายสัญญาณโดยมีสัญญาณรบกวนต่ำ อัตราส่วนของสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนที่สูงมากในเซ็นเซอร์แบบ CMOS ของแคนนอนทำให้มีสัญญาณรบกวน(Noise) ต่ำ และเทคโนโลยีในการลดสัญญาณรบกวนในส่วน เข้มของภาพร่วมกับการประมวลผลที่ดี ทำให้สามารถขยายสัญญาณได้มากขึ้นโดยที่มีสัญญาณรบกวนต่ำ ชั้นเลเยอร์บาง เพิ่มการรับแสงได้ดียิ่งขึ้น EOS-1Ds Mark III ออกแบบการรับแสงได้ดีมากยิ่งขึ้น ชั้นเลเยอร์ที่ป้องกันแสงและโฟโต้ไดโอดมีขนาดบางมากขึ้น ทำให้การรับแสงทำได้ดีกว่าชั้นเลเยอร์ที่มีความหนามากกว่า โฟโต้ไดโอดจะได้รับแสงมากกว่าเดิมทั้งๆ ที่มีขนาด พิกเซลประมาณ 6.4x6.4 mm(ไมโครเมตร) ค่าความไวแสงที่ ISO 1600 จึงถือว่าเป็นค่าความไวแสงระดับปกติที่ยังให้ภาพที่มีคุณภาพสูง DIGIC III ตัวประมวลผลภาพ ประสิทธิภาพระดับสูงและให้ภาพที่มีคุณภาพสูง DIGIC III เป็นตัวประมวลผลภาพที่พัฒนาโดยแคนนอน เทคโนโลยีของแคนนอนเป็นการประสานกันของแผงวงจรขนาดใหญ่และเทคโนโลยีประมวลผลของสี ซึ่งเป็นการพัฒนาเป็นรายแรกๆ การใช้วิธีการคิดและอุปกรณ์ร่วมกันที่เหมาะสม การประมวลผลภาพมีความเร็วกว่าหลายสิบเท่าของผู้ใช้ CPU ธรรมดา DIGIC III ควบคุมเซ็นเซอร์ CMOS และฟังก์ชั่นการถ่ายภาพอื่นๆ (สมดุลแสงสีขาวอัตโนมัติ, การบันทึกและแสดงภาพของการ์ดข้อมูล, จอ LCD แสดงผล, ส่งข้อมูลผ่าน USB และการทำงานอื่นๆ) DIGIC III ช่วยดูแลระบบการถ่ายภาพ การบันทึกภาพ และการส่งผ่านข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ DIGIC III คือสมองของกล้องโดยแท้จริง เมื่อเปรียบเทียบความเร็ว DIGIC III เร็วกว่า DIGIC II รุ่นก่อน ถึง 20% และการส่งข้อมูลมีประสิทธิภาพสูงสุด สูงกว่าเดิมถึง 70% เป็นการรวมพลังที่ให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่าเดิมถึงเท่าตัว การประมวลผลภาพรวดเร็ว การปรับภาพ และการให้สีเป็นธรรมชาติและมีความแม่นยำสูง และลดสัญญาณรบกวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Page 7: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า

Dual DIGIC III สู่การประมวลผลภาพที่ดีกว่า ภาพจะมีคุณภาพสูงได้อย่างไร ถ้ากล้องไม่สามารถปฏิบัติงานได้แบบทันทีทันใดและมีความแม่นยำสูง นั่นคงไม่ใช่กล้องระดับมืออาชีพ อะไรคือสิ่งจำเป็นของการประมวลผลดิจิตอล EOS-1Ds Mark III มีตัวประมวลผลภาพ DIGIC III ถึง 2 ตัวซึ่งจะทำงานร่วมกันแบบขนานทำให้ระบบประมวลผลภาพได้รวดเร็ว Dual DIGIC III ในกล้อง EOS-1Ds Mark III ประมวลผลภาพได้เร็วกว่า EOS-1D Mark II N (DIGIC II) ถึง 4 เท่า มีพลังและกำลังสำรองสูง ทำให้การถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็วและได้จำนวนภาพมากกว่า เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้องได้เป็นอย่างดี การแสดงผลตลอดจนการเขียนข้อมูล การบีบขนาดภาพทันทีทันใด และการปรับสมดุลแสงสีขาวอัตโนมัติที่มีความแม่นยำสูง กล้องสามารถตอบสนองความต้องการของมืออาชีพที่ต้องพร้อมในทุกสถานการณ์และได้ภาพที่มีคุณภาพสูงมาก Dual DIGIC III มีความเร็วในการประมวลผลภาพสูง (เร็วกว่า 4 เท่า) และมีบัฟเฟอร์ที่มีความจุสูงกว่าเดิม (มากกว่า 2 เท่า) บัฟเฟอร์ของ EOS-1Ds Mark III มีความจุมากกว่าเดิมสองเท่า โดยที่ความละเอียดของภาพสูงกว่า ความเร็วในการเขียนบันทึกข้อมูลเร็วกว่า มีพื้นที่ว่างในการรองรับมากกว่า (30%) ดังนั้นตัวประมวลผลภาพ DIGIC III ทั้งสอง ช่วยทำให้เขียนข้อมูลได้รวดเร็วมาก อ่านค่าสัญญาณด้วยความเร็วสูงหลายแชนเนล การประมวลผลภาพที่มีความละเอียด 21.10 ล้านพิกเซลนั้นจะต้องอ่านค่าสัญญาณได้อย่างรวดเร็ว เพื่อความสามารถในการถ่ายภาพต่อเนื่อง เซ็นเซอร์ CMOS ระดับสูงใหม่ของ EOS-1Ds Mk III สามารถอ่านค่าแต่ละพิกเซลได้พร้อมๆ กัน แคนนอนใช้ช่องสัญญาณแบบ 8 แชนเนลทำให้อ่านค่าเร็วมาก ที่ 24 MHz ต่อแชนเนล หรือ 192 MHz ต่อแปดแชนเนล ทำให้การอ่านค่าสัญญาณเร็วกว่า EOS-1D Mark II ถึง 1.5 เท่า ทำให้ EOS-1Ds Mk III สามารถประมวลผลข้อมูลจากเซ็นเซอร์ CMOS ความละเอียดสูง 21.10 ล้านพิกเซลได้อย่างรวดเร็ว สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องด้วยความเร็วสูงถึง 5 ภาพ / วินาที ซึ่งเป็นความเร็วที่เหนือกว่าดิจิตอล แบ็ค อย่างมาก อัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน (S/N Ratio) ที่ดีกว่า ตัวขยายสัญญาณที่ออกแบบใหม่เพื่อการลด Noise และความเร็วในการทำงานที่สูงขึ้น โฟโต้ไดโอดที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ให้สัญญาณขนาดเล็กมาก จึงต้องมีตัวขยายสัญญาณ ซึ่งต้องทำงานได้อย่างรวดเร็ว EOS-1Ds Mark III มีจำนวนพิกเซลสูงมากและมีความเร็วสูง ผลที่ตามมาจากการขยายสัญญาณก็คือสัญญาณรบกวนที่สูงเช่นกัน มีผลทำให้คุณภาพของภาพลดลง แคนนอนแก้ไขปัญหานี้โดยใช้ชุดวงจรใหม่ที่ทำงานแบบสองขั้นตอนในการขยายสัญญาณเพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น ความเร็วต่ำ กำลังขยายสูง ชุดวงจรใหม่ของตัวขยายสัญญาณนี้จะอ่านค่าสัญญาณในแต่ละแถว การอ่านค่านี้จะทำอย่างช้าๆ แต่ก็ได้สัญญาณที่มีสัญญาณรบกวนต่ำ ในกรณีนี้ค่าอัตราส่วนของสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนจะดีมาก สัญญาณจะถูกไปขยายให้มีคา่มากขึ้นเพื่อส่งข้อมูลไปในแต่ละช่องสัญญาณทั้งแปดช่อง ขั้นตอนสุดท้ายสัญญาณจะถูกส่งไปช่องทางนำสัญญาณออกทั้งแปดแชนเนล ความเร็วสูง กำลังขยายต่ำ สัญญาณที่ถูกส่งออกมาทั้งหมดนั้นต้องการการประมวลผลที่รวดเร็ว ชุดวงจรใหม่ใช้ตัวป้อนค่าสัญญาณที่แตกต่างไป เพราะไม่ต้องสะท้อนสัญญาณต่อออกไปอีก เปลี่ยนสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอลโดยไม่มีสัญญาณรบกวน ให้ภาพที่มีความละเอียด 21.1 ล้านพิกเซลของกล้อง EOS-1Ds Mark III ได้อย่างใส

Page 8: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า

เคลียร์ ใช้พลังงานต่ำ แบตเตอรี่ ใช้งานนานและมีสัญญาณรบกวนน้อย การใช้พลังงานต่ำเป็นประเด็นหลักของกล้องดิจิตอล SLR แคนนอนได้ลดการใช้พลังงานลง การอ่านค่าสัญญาณจะใช้พลังงานเพียงเล็กน้อย ในการถ่ายภาพด้วยค่าความไวแสงต่ำๆ ชุดวงจรการทำงานบางส่วนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องจะถูกตัดการทำงานลง ซึ่งทำให้มีการใช้พลังงานน้อยมาก ไม่เหมือนกับเซ็นเซอร์แบบ CCD เซ็นเซอร์แบบ CMOS ใช้พลังงานในการอ่านค่าสัญญาณน้อยกว่ามาก ต้องการพลังงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการส่งและเพิ่มค่าสัญญาณ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของเราเองโดยเฉพาะ เมื่อใช้พลังงานในการทำงานน้อย ความร้อนจากการทำงานน้อย เป็นผลให้มีสัญญาณรบกวนต่ำ ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่า แบตเตอรี่จึงใช้งานได้นานขึ้น และสามารถใช้ฟังก์ชั่น Live View ได้ดีด้วย

ประณีตดั่งงานศิลปะ ด้วยเทคโนโลยีการผลิตเส้นใยกึ่งตัวนำ ทำให้ ได้เซ็นเซอร์ที่มีขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพสูง เซ็นเซอร์แบบ CMOS ที่ใช้ในกล้อง EOS Digital นั้นเป็นผลผลิตจากการเทคโนโลยีในการผลิตเส้นใยสารกึ่งตัวนำ ในกรณีของ EOS-1Ds Mark III เส้นใยของสารกึ่งตัวนำมีขนาดเพียง 0.35 um เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ถ้าเราขยายให้เซ็นเซอร์มีขนาดเพิ่มขึ้นราว 1,000 เท่า จะมีขนาดเท่ากับ 36 เมตร x 24 เมตร (เท่ากับสนามเทนนิส 3 สนาม) แล้ว ขนาดของชุดวงจรหนึ่งจะมีขนาดกว้างเพียง 0.35 มม. เท่านั้น ขณะนี้เทคโนโลยีการผลิตเส้นใยกึ่งตัวนำ สามารถผลิตเซ็นเซอร์เพื่อรับภาพขนาด full-frame ของกล้อง 35 มม. ซึ่งให้ค่าสีที่กว้างมาก มีความแม่นยำในการทำงานสูง รวมไปถึงชิ้นส่วนเชื่อมโยงอื่นๆ ด้วย ด้วยเทคโนโลยีนี้ เลนส์ขนาดเล็กจำนวนมากที่ประกอบกันขึ้นเป็นชุดวงจร จะรับค่าแสงได้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น เป็นเทคโนโลยีระดับนาโน ผลิตด้วยเครื่องมือที่มีความล้ำสมัย ซึ่งพัฒนาและผลิตโดยแคนนอนเอง เพื่อความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น นับตั้งแต่ CMOS ที่ผลิตโดยแคนนอนถูกสร้างขึ้น ด้วยความรู้นี้นำเราไปสู่พัฒนากล้องถ่ายภาพ การประมวลผล และอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซ็นเซอร์ CMOS ที่มีประสิทธิภาพ และนี่คือเหตุผลสำคัญที่ว่าทำไมแคนนอนถึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด ควบคุมเซ็นเซอร์รับภาพและเปลี่ยนสัญญาณ A/D การขับเคลื่อนสัญญาณและควบคุมเซ็นเซอร์ CMOS ด้วยแผงบอร์ดวงจรที่ใช้ในการคบคุมภาพโดยเฉพาะ (image-control board) ซึ่งแยกตัวออกมาต่างหาก เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีมากยิ่งขึ้น หน้าที่ของแผงวงจรนี้จะเปลี่ยนสัญญาณจากระบบอนาล็อกจากเซ็นเซอร์ CMOS ให้เป็นสัญญาณแบบดิจิตอล 14-bit ด้วยความเร็วสูง สัญญาณภาพแบบ 14-bit A/D ให้สีมากถึง 16,384 สี สมดุลแสงและสีที่ดีเยี่ยม ไล่โทนสีภาพได้เรียบเนียน สัญญาณที่ได้จาก CMOS (อนาล็อก) ของกล้อง EOS-1Ds Mark III มีไดนามิคเรนจ์ที่กว้างและให้การไล่โทนสีที่ดีมาก จากการเปลี่ยนสัญญาณเป็นดิจิตอลและประมวลผลด้วยสัญญาณแบบ 14-bit A/D (16,384 สี) จากการทำงานของตัวแปลงสัญญาณจากอนาล็อกไปเป็นดิจิตอล เมื่อเปรียบเทียบกับกล้องรุ่นก่อนหน้านี้ ที่มีสัญญาณแบบ 12-bit A/D (4,096 สี) การไล่โทนภาพจะไม่เรียบเนียนมากนัก ในส่วนรอยต่อของสีและแสงนั้นจะกระโดดข้ามขั้น หลังจากที่โพรเซสภาพจากไฟล์ RAW และ sRAW (RAW ขนาดเล็ก) ด้วยซอฟแวร์ แล้วแปลงไฟล์เป็น TIFF 16-bit ซึ่งจะให้โทนสีที่ดีเช่นเดียวกันกับ 14-bit ส่วนไฟล์ภาพแบบ JPEG (8 bit/color) ซึ่งเปลี่ยนมาจากสัญญาณแบบ 14-bit ก็ให้ไฟล์แบบ JPEG ที่มีการไล่โทนสีที่ดีเช่นเดียวกัน

ระบบทำความสะอาดเซ็นเซอร์ (EOS I.C.S.) ทำลายสิ่งสกปรก ระบบทำความสะอาดเซ็นเซอร์เป็นฟังก์ชั่นมาตรฐานที่ต้องอยู่ในกล้องดิจิตอล SLR เพราะสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง มักเล็ดลอดไปด้านในกล้องและเข้าสู่ เซ็นเซอร์รับภาพเมื่อมีการถอดเปลี่ยนเลนส์บ่อยๆ EOS-1Ds Mark III ใช้ระบบทำความสะอาดเซ็นเซอร์ EOS Integrated Cleaning System (EOS I.C.S.) ซึ่งเป็นระบบการทำงานที่ลดฝุ่นที่เกาะติดบนเซ็นเซอร์รับภาพและจุดแปลกปลอมที่เกิดขึ้นในภาพ ลดการเกิดสิ่งสกปรก ก่อนอื่นเราต้องลดการเกิดสิ่งสกปรกด้านในของกล้อง เราใช้วัสดุในการผลิตชิ้นส่วนด้านในกล้องที่มีคุณภาพสูง และประกอบขึ้นอย่างประณีตมาก ฝาปิดหน้ากล้องและเลนส์ใช้วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดสิ่งสกปรก ป้องกันไฟฟ้าสถิตบริเวณพื้นผิว ฟิลเตอร์ป้องกันแสงอินฟราเรด และฟิลเตอร์ low-pass ที่อยู่ด้านหน้าของเซ็นเซอร์เคลือบผิวเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิต ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งสิ่งสกปรกบนเซ็นเซอร์ ชุดทำความสะอาดเซ็นเซอร์ สำหรับการกำจัดสิ่งสกปรก ชุดทำความสะอาดเซ็นเซอร์ทำงานด้วยการเขย่าแผง piezoelectric ด้วยคลื่นความถี่สูง สิ่งสกปรกที่ติดอยู่จะถูกเขย่าจนหลุดออกไป การเขย่าจะไม่ทำที่ชุด

Page 9: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า

เซ็นเซอร์โดยตรง ดังนั้นจึงไม่มีผลต่อคุณภาพของภาพแต่อย่างใด ชุดทำความสะอาดเซ็นเซอร์มีขนาดเล็กและง่ายต่อการทำความสะอาดเซ็นเซอร์ CMOS ขนาดใหญ่ สิ่งสกปรกที่ถูกกำจัดทิ้งจะถูกกักไว้ที่วัสดุดูดซับ ชุดการทำงานนี้ได้รับการซีลล์อย่างดี สิ่งสกปรกจะไม่สามารถเข้าไปได้ เมื่อตั้งค่าการทำงานของระบบความสะอาดเซ็นเซอร์ให้ทำงานโดยอัตโนมัติ จะใช้เวลาประมาณ 3.5 วินาทีในการทำความสะอาดเซ็นเซอร์เมื่อเปิดหรือปิดกล้อง คุณสามารถทำความสะอาดเซ็นเซอร์ได้ตลอดเมื่อต้องการ เพียงแค่เข้าไปในเมนู Clean Now เมื่อคุณสั่งให้กล้องทำความสะอาดเซ็นเซอร์จะมีเสียงชัตเตอร์ดังขึ้นสามครั้งพร้อมกับการสั่นด้วยคลื่นความถี่สูงเพื่อทำความสะอาดบริเวณกระจกที่ดูดซับแสงอินฟราเรด จึงต้องยกม่านชัตเตอร์ขึ้น ถ้าคุณกดปุ่มชัตเตอร์หรือปุ่มเมนูขณะที่กล้องกำลังทำความสะอาดเซ็นเซอร์อยู่ การทำความสะอาดจะหยุดทันทีเพี่อไม่ให้คุณพลาดโอกาสในการถ่ายภาพ

สามารถใช้งานในฟังก์ชั่น Live View ได ้ระบบประมวลผลแบบ Dual DIGIC III ให้ความเร็วในการทำงานที่สูงขึ้น ในการถ่ายภาพด้วยฟังก์ชั่น Live View จะแสดงภาพแบบ JPEG ด้วยความเร็วประมาณ 30 ภาพต่อวินาที ซึ่งให้ภาพจริงที่เคลื่อนไหวนุ่มนวลสมบูรณ์แบบมาก และยังสามารถส่งข้อมูลผ่านทาง USB 2.0 สำหรับการถ่ายภาพด้วยฟังก์ชั่น Live View จากระยะไกล โดยที่คุณจะมองเห็นภาพได้ตลอดเวลาผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ฟังก์ชั่น Live View เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในสตูดิโอ เมื่อคุณถ่ายภาพในสตูดิโอหรือการถ่ายภาพในมุมสูงหรือต่ำมากๆ คุณสามารถดูภาพในขณะที่คุณถ่ายภาพได้จากจอ LCD ของกล้อง หรือจากจอคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกับการมองผ่านช่องมองภาพ ภาพที่ผ่านเลนส์ด้วยความเร็ว 30 ภาพต่อวินาที ทำให้คุณจัดองค์ประกอบภาพได้ง่ายและสะดวกขึ้นโดยไม่ต้องมองจากช่องมองภาพ ฟังก์ชั่นการทำงานแบบใหม่นี้เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันของ CMOS ที่ใช้พลังงานต่ำ มีสัญญาณรบกวนน้อย และโพรเซสเซอร์ Dual “DIGIC III” ที่ประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว การวัดแสงในระหว่างการถ่ายภาพด้วยระบบ Live View นั้นจะเป็นระบบเฉลี่ยที่เชื่อมโยงกับจุดโฟกัส สามารถดูภาพเพื่อเลือกค่าแสงบันทึกภาพที่ถูกต้องได้ก่อนการบันทึกภาพ เพื่อให้ภาพตามที่คุณต้องการ โดยปกติแล้วระหว่างการถ่ายภาพด้วยระบบ Live View นั้น ภาพจะถูกปรับแสงให้โดยอัตโนมัติ ปรับค่าความสว่างที่เหมาะสมซึ่งอาจจะเป็นค่าแสงที่แตกต่างกับค่าที่ใช้บันทึกภาพ ถ้าคุณต้องการให้ภาพที่แสดงใช้ค่าแสงที่คุณต้องการใช้ในการถ่ายภาพ และแสดงภาพตามค่าแสงที่คุณปรับเปลี่ยนก็สามารถทำได้โดยตั้งค่าการทำงานที่ C. Fn IV-16-1 และยังสามารถทำงานร่วมกับการชดเชยแสงได้ด้วย ในระหว่างการแสดงภาพแบบเต็มภาพ สามารถเลือกให้กล้องแสดงตารางที่มีเส้นแบ่งทั้งในแนวระนาบและแนวดิ่ง 2 เส้น เพื่อช่วยคุณจัดองค์ประกอบภาพง่ายยิ่งขึ้น เมื่อกดปุ่ม INFO ข้อมูลในการถ่ายภาพจะถูกแสดงขึ้น และยังสามารถเลือกแสดงกราฟ Histogram แบบสว่างหรือแบบแยกสี RGB ร่วมด้วยก็ได้ โดยตั้งค่าใน Custom function (C. Fn IV-16-1) ข้อมูลที่แสดงขึ้นมานั้น เป็นค่าการปรับตั้งในการใช้ถ่ายภาพ

Picture Style ที่เหมาะสมให้ผลของภาพที่ดีเยี่ยม EOS-1Ds Mark III มีฟังก์ชั่น Picture Style ซึ่งใช้งานง่ายและให้ผลงานภาพที่ดี ในแต่ละแบบนั้นจะการปรับตั้งค่าพารามิเตอร์ ซึ่งได้แก่ ความคมชัด (Sharpen), ความเปรียบต่างของแสง (Contrast), ความอิ่มตัวของสี (Color Saturation) และ Color tone คุณสามารถปรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ได้ตามต้องการ ค่าการปรับตั้งต่างนั้นจะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลภาพ คุณยังสามารถปรับค่าพารามิเตอร์ได้อย่างที่คุณต้องการใน (User Defined) และบันทึกค่าไว้ได้ 3 ค่า Picture Style ช่วยให้คุณสามารถบันทึกภาพให้มีสีสันได้อย่างที่ต้องการได้ โดยแคนนอนมี Picture Style ให้เลือกใช้งานได้หลายแบบ และยังสามารถดาว์นโหลด Picture Style จากเว็บไซต์ของแคนนอนมาเพิ่มได้อีก นอกจากนั้นคุณยังสามารถปรับตั้งสไตล์ภาพอย่างที่คุณชื่นชอบได้จากโปรแกรม Picture Style Editor แล้วบันทึกเก็บไว้ในกล้องได้ ะบบสมดุลแสงสีขาวแบบใหม่ ใช้งานง่าย กล้องมีระบบสมดุลแสงสีขาวแบบอัตโนมัติ และพรีเซท 6 แบบ รวมทั้งระบบสมดุลแสงสีขาวแบบ Custom และปรับค่าอุณหภูมิสีของแสงด้วย เพื่อรองรับกับแหล่งกำเนิดแสงทุกรูปแบบ EOS-1Ds Mark III มีช่วงสมดุลแสงสีขาวแบบปรับค่าอุณหภูมิสีของแสงที่กว้างมาก มีค่าอุณหภูมิสีของแสงต่ำสุดได้ที่ 300K และปรับค่าได้อุณหภูมิสีของแสงได้ในช่วง 2,500K ถึง 10,000K (ขั้นละ100K) และในสมดุลแสงสีขาวแบบ custom (บันทึกค่าไว้ล่วงหน้า) คุณสามารถบันทึกภาพไว้ในการ์ดและใช้เป็นค่าอ้างอิงในการถ่ายภาพได้ ซึ่งใช้งานสะดวกและง่าย ตั้งค่าสมดุลแสงสีขาวได้มากถึง 5 ค่า ปรับแก้ค่าสมดุลแสงสีขาวด้วยสีตรงข้าม ค่าสมดุลแสงสีขาวนั้นเริ่มตั้งแต่ช่วงสีน้ำเงิน/แดง หรือ ม่วงแดง/เขียว สามารถปรับแก้เพิ่มเติมได้ทั้งสองทิศทาง (+- 9 ระดับ เพิ่มขึ้นขั้นละ 1) เพื่อใช้ในการปรับชดเชยแก้ของแสงบาง อย่างเช่นหลอดไฟแบบเคลือบปรอท วัตถุที่มีสีเข้ม หรือในแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆ ที่ยากต่อการปรับค่าสมดุลแสงสีขาว ถ่ายภาพคร่อมสมดุลแสงสีขาว ในการถ่ายภาพภาพเดียวสามารถปรับเลือกค่าสมดุลแสงสีขาวให้แตกต่างกันได้ 3 ค่า โดยปรับแก้ค่าสมดุลแสงสีขาวในช่วงสีน้ำเงิน/แดง หรือ ม่วงแดง/เขียวได้ 3 ระดับขั้นละ 1 ระดับ เพื่อได้ค่าสมดุลแสงสีขาวที่ถูกต้อง เก็บรายละเอียดในส่วนสว่างของภาพ ในส่วนสว่างของภาพเป็นส่วนที่ยากต่อการปรับค่าเพื่อให้ได้รายละเอียดที่ดี ฟังก์ชั่น highlight tone priority (C. Fn II-3) เป็นระบบการทำงานใหม่ที่ช่วยให้สามารถเก็บรายละเอียดในส่วนสว่างของภาพเพิ่มขึ้นได้ราว 1 สตอปจากค่าแสงบันทึกภาพสูงสุดตามปกติ (สีเทา 18%) การไล่โทนสีในส่วนสว่างของภาพจะดีขึ้นละเอียดขึ้น *ตั้งค่าความไวแสงขั้นต่ำที่ ISO 200 การบันทึกข้อมูลและการโอนถ่ายความเร็วสูงสำหรับภาพที่มีขนาดใหญ ่ กล้อง EOS-1DS Mark III ออกแบบให้สามารถใช้การ์ดบันทึกข้อมูลได้ 2 แบบคือ CF การ์ด และ SD การ์ด และยังรองรับการ์ด SDHC ด้วย หน่วยประมวลผล

Page 10: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า

DIGIC III ทั้งสองตัวให้ความเร็วในการบันทึกข้อมูลไฟล์ภาพขนาดใหญ่ที่สูงมาก Canon EOS-1Ds Mark III ยังรองรับการ์ด CF แบบ UDMA ด้วย นอกจากกล้องจะรองรับการใส่การ์ดได้ทั้งสองแบบแล้ว กล้องยังสามารถบันทึกข้อมูลภายนอกผ่านระบบไร้สายได้อีกด้วย โดยใช้ตัวส่งสัญญาณ WFT-E2/EA2A (อุปกรณ์เสริม แยกต่างหาก) ที่ต่อเข้ากับกล้อง ระบบการทำงานนี้ทำให้การจัดการข้อมูลภาพง่ายและยืดหยุ่นในการทำงานมาก เพราะสามารถเลือกบันทึกข้อมูลลงบนสื่อบันทึกข้อมูลด้านนอกได้ทันที ถ้าคุณบังเอิญไปเปิดช่องใส่การ์ดโดยไม่ได้ตั้งใจขณะที่กล้องกำลังบันทึกข้อมูลอยู่ กล้องจะส่งสัญญาณเสียงเตือนและแสดงข้อความบนจอ LCD ด้วย แต่กล้องยังจะบันทึกข้อมูลต่อไป และถ้าคุณปิดสวิตซ์กล้อง กล้องจะดับเมื่อบันทึกข้อมูลจนเสร็จแล้ว ภาพที่ถูกบันทึกไว้ในการ์ดสามารถตัดลงสู่การ์ดอีกอันหนึ่งได้ โดยเลือกภาพที่ต้องการจะคัดลอก แบบทีละภาพหรือคัดลอกภาพทั้งหมด การทำงานนี้ช่วยให้การจัดการภาพได้ง่ายและดีขึ้น ภาพทั้งหมดที่ถูกบันทึกไว้ในการ์ดทั้ง CF การ์ด และ SD การ์ด สามารถสำรองภาพเหล่านั้นลงสู่สื่อบันทึกข้อมูลด้านนอกได้ โดยการเชื่อมต่อผ่าน USB ซึ่งจะทำให้คุณมีอิสระในการถ่ายภาพไม่จำเป็นต้องพกพาการ์ดจำนวนมากหรือถ่ายโอนข้อมูลลงคอมพิวเตอร์บ่อยๆ ออโต้โฟกัสแบบใหม่ : จุดโฟกัสภาพกากบาท 19 จุด พร้อมด้วยจุดโฟกัสช่วยอีก 26 จุด EOS-1Ds Mark III ใช้ระบบออโต้โฟกัสใหม่ 45 จุด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ของภาพได้ดี และเลือกจุดโฟกัสได้อย่างอิสระ แบบเดียวกับที่ใช้ใน EOS-1D Mark III แคนนอนได้เพิ่มจำนวนจุดโฟกัสแบบกากบาทให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยมีจุดโฟกัสความเร็วสูงแบบกากบาท 19 จุด และจุดโฟกัสช่วยอีก 26 จุด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ จุดโฟกัสรอบนอก 9 จุด รอบใน 9 จุด และตรงกลาง 1 จุด สามารถเลือกจุดโฟกัสเองที่จุดใดก็ได้ จุดโฟกัสแบบกากบาทสามารถทำงานได้ที่ความไวแสงต่ำถึง f/2.8 และ f/5.6 ในจุดโฟกัสอื่น ด้วยจำนวนจุดโฟกัสแบบกากบาทมีมีจำนวนมากและวางเรียงกระจายตัวครอบคลุมพื้นที่ภาพ เมื่อใช้เลนส์ EF f/2.8 หรือไวแสงกว่า จะให้ประสิทธิภาพในการโฟกัสภาพที่แม่นยำ และรวดเร็วมาก แคนอนได้พัฒนากล้องระดับมืออาชีพที่มีจุดโฟกัสหลายจุดขึ้นตัวแรกของโลก แล้วพัฒนาต่อไปเป็นจุดโฟกัสแบบกากบาท และขณะนี้ได้พัฒนาเป็นจุดโฟกัสแบบกากบาทที่ครอบคลุมพื้นที่กว้าง ซึ่งทำให้แคนนอนยังคงเป็นหนึ่งในเรื่องประสิทธิภาพของระบบออโต้โฟกัสที่มืออาชีพทั่วโลกยอมรับ เซ็นเซอร์แบบกากบาทที่วางเรียงในพื้นที่โฟกัสภาพจะทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์ f/2.8 ขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี ในกล้อง EOS-1Ds Mark III นั้นเทคโนโลยี CMOS ของแคนอนจะทำงานร่วมกันกับเซ็นเซอร์โฟกัสภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วงจรขนาดเล็กกว่าให้พื้นที่โฟกัสที่ค่า f/2.8 ที่ใหญ่กว่าเมื่อเทียบกล้องรุ่นก่อนหน้านี้ ต้องขอบคุณลักษณะของพิกเซลและอัตราส่วนพิกเซลการเปิดรับด้วย ที่ให้ความไวแสงจะเพิ่มขึ้นในสภาพแสงต่ำ ที่ค่าแสง EV1 (เทียบกับ EOS-1D Mark II N ที่ 23 ํC/73 ํF ความไวแสง 100) ทำให้ระบบออโต้โฟกัสทำงานได้ในสภาพแสงที่น้อยกว่า ความเร็วและความแม่นยำในการโฟกัสนั้นขึ้นอยู่กับการแสดงภาพของเลนส์สร้างภาพชุดที่สองในห้องกระจกสะท้อนภาพ ชิ้นเลนส์มีขนาด 9 x 6 มม. และเลนส์ขนาดเล็กๆ อีก 4 ชิ้น ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงประสิทธิภาพของเลนส์จึงให้ผลที่ดีเยี่ยมมาก ผิวเลนส์และรูปร่างของเลนส์ให้ค่าแสงที่ f/2.8 และ f/5.6 และเลนส์ที่ให้ค่าแสง f/2.8 นี้ถูกพัฒนาขึ้นใหม่จากเลนส์พิเศษแบบ aspherical ที่ลดความคลาดของแสง ให้ภาพที่ดีแม้ในค่าแสงที่ f/2.8 ซึ่งมีผลทำให้การโฟกัสภาพมีความแม่นยำสูง เลนส์นี้ผลิตจากแก้วที่ไม่ขึ้นราและทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้นได้สูง ทำงานได้ดีแม้อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย อุปกรณ์ชุดโฟกัสภาพเป็นชิ้นส่วนสำคัญที่ต้องถูกปกป้องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและการกระแทกเป็นอย่างดี วัสดุที่ใช้ในการผลิตกล่องควบคุมระบบโฟกัสภาพนี้ต้องมีการขยายตัวต่ำและไม่ดูดซับความชื้น เพราะถ้ามีการขยายตัว หดตัว ของวัสดุที่ในการผลิตจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิก็จะส่งผลต่อการโฟกัสภาพ การโฟกัสผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้บ้างจากแสงที่แตกต่างกัน แคนนอนจึงมีเซ็นเซอร์ที่ตรวจวัดลักษณะของแสงเพื่อปรับค่าให้ถูกต้องโดยอัตโนมัติ ทำให้ระบบโฟกัสทำงานได้เที่ยงตรง แม่นยำ และรวดเร็วภายใต้สภาพแสงต่างๆ มองเห็นภาพเต็ม 100% กำลังขยายประมาณ 0.76x มองภาพได้ง่ายเต็มตา เมื่อมองผ่านชองมองภาพที่มองเห็นภาพเต็ม 100% ทำให้ง่ายต่อการจัดองค์ประกอบภาพ โฟกัสภาพและถ่ายภาพได้ดี สำหรับกล้องแบบ SLR แล้วการมองเห็นภาพได้กว้างและมีกำลังขยายสูงยิ่งเป็นคุณสมบัติที่ดี Canon EOS-1Ds Mark III มีช่องมองภาพที่กว้างเต็ม 100% และมีกำลังขยายสูงมากถึง 0.76X (เลนส์ 50 มม. ที่ระยะอนันต์, -1 ไดออฟเตอร์) Canon EOS-1Ds Mark III มีองศาการรับภาพของช่องมองภาพที่ 35 องศา ซึ่งกว้างมาก กล้องระดับท้อปสูงสุดนั้นให้ความเที่ยงตรงแม่นยำในการถ่ายภาพสูง นอกจากช่องมองภาพที่มองเห็นภาพเต็ม 100% แล้วยังสามารถปรับแก้สายตาได้ในช่วง -3 ไดออฟเตอร์ ถึง +1 ไดออฟเตอร์ และ eyepoint มีระยะประมาณ 20 มม. ช่องมองภาพที่ออกแบบขึ้นใหม ่ กล้องในระดับ EOS-1 ช่องมองภาพจะถูกสร้างขึ้นอย่างยอดเยี่ยม ระบบออฟติคของช่องมองภาพได้ถูกออกแบบใหม่เพื่อรองรับการมองเห็นภาพเต็ม 100% และมีกำลังขยายสูง 0.76X ปริซึ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นและกระจกที่ใช้มีค่าดัชนีการหักเหของแสงที่สูงมากยิ่งขึ้น ระบบออฟติคของช่องมองภาพนั้นก็ถูกออกแบบใหม่เช่นกัน ใช้ชิ้นแก้วที่มีคุณภาพสูงขึ้นและมีขนาดเลนส์ตาที่ใหญ่ขึ้น ปกป้องแสงแฟลร์ ทำให้ช่องมองภาพของ Canon EOS-1Ds Mark III นั้นกว้างดูสมจริงเป็นธรรมชาติ สำหรับ Superimposed (SI) ที่แสดงบนจุดโฟกัสนั้น Canon EOS-1Ds Mark III ใช้ปริซึ่ม กระจายแสง (SI prism 1 และ 2) ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาสมกับทัศนมิติของ CMOS ที่ใช้ในกล้อง

Page 11: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า

จอรับภาพแบบ Ec-CIV ให้ความสว่าง ง่ายต่อการโฟกัสภาพ ก่อนหน้านี้จอภาพ (Focusing screen) นั้นใช้วัสดุแบบ Laser Matte แม้จะมีความสว่างแต่ก็ยากกับการมองจุดโฟกัส แคนนอนจึงได้พัฒนาจอภาพขึ้นใหม่ Ec-CIV ซึ่งช่วยให้ง่ายต่อการโฟกัสภาพ ให้ภาพที่สว่างดูเป็นธรรมชาติ ภาพดูสดใสขึ้น เกรนลดลง ให้สมดุลในการมองภาพที่ดี Ec-CIV มีลักษณะเช่นเดียวกันกับผิวของปริซึ่มและกระจกสะท้อนภาพและเลนส์ในกระจกสะท้อนภาพ ด้วยเทคนิคต้นแบบนี้แคนนอนจึงได้พัฒนาให้พื้นผิวมีการผิดเพี้ยนในการกระจายแลสงต่ำ ให้ภาพที่ใสสว่างและไม่มีแสงแฟลร์ และทนต่อการขึ้นรา มีความเที่ยงตรงในการกระแสงสูง ได้ภาพที่ใสเคลียร์ตั้งแต่มุมภาพหนึ่งถึงอีกมุมภาพหนึ่ง โครงสร้างแมนีเซียมอัลลอยด์ปกป้องการกระแทกและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โครงสร้างด้านนอกของกล้องเป็นหัวใจของการทำงานเมื่อต้องใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่ กล้อง Canon EOS 1D Mark III ใช้วัสดุแมกนีเซียมอัลลอยด์คุณภาพสูงที่มีความแข็งแรงและน้ำหนักเบา ทั้งด้านบน ด้านหน้าและฝาหลังของกล้อง รวมทั้งช่องเสียบการ์ดก็ใช้ใช้วัสดุแมกนีเซี่ยมอัลลอยด์ด้วยเหมือนกัน ซึ่งทำให้กล้องมีความแข็งแรงมาก แมกนีเซียมอัลลอยด์เป็นวัสดุที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเป็นคลื่นที่มีผลกระทบต่อวงจรภายใน ส่งผลให้อัตราส่วนของสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนมีค่าสูงและปกป้องฟังก์ชั่นการทำงานอื่นๆ ด้วย กล้อง EOS ตัวแรก ที่ ใช้ชิ้นส่วนภายในด้วยวัสดุแมกนีเซี่ยมอัลลอยด ์ เมาท์และโครงสร้างของกล้องเป็นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญเช่นเดียวกันกับเซ็นเซอร์ CMOS เพื่อรองรับเลนส์และห้องกระจกซึ่งจะต้องรองรับแรงเสียดทานสูง ดังนั้นโครงสร้างภายในจึงต้องการความแข็งแรงและความเที่ยงตรงสูงมาก แมกนีเซียมอัลลอยด์สามารถนำมาใช้เป็นโครงสร้างแบบนี้ได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับกล้องรุ่นก่อนหน้านี้ที่ใช้วัสดุอลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบในห้องกระจก ทำให้ทุกส่วนของกล้อง EOS 1Ds Mark III มีความแข็งแรงและมีน้ำหนักเบา ชุดชัตเตอร์มีความทนทานมากผ่านการทดสอบใช้งานถึง 300,000 ครั้ง ชัตเตอร์ทำงานโดยผ่านการควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยพื้นผิวที่ไม่ทำปฏิกิริยากับแม่เหล็ก ทำให้มีความเที่ยงตรงแม่นยำ และทนทานสูง แคนนอนได้สร้างชุดชัตเตอร์ที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ เชื่อถือได้ และทนทานจากความร้อนบริเวณพื้นผิวในการทำงาน โดยทดสอบการทำงานของชัตเตอร์กว่า 300,000 ครั้ง เที่ยงตรง แม่นยำ ในการทำงานร่วมกับแสงแฟลช ไม่ถูกทำลายจากการเชื่อมต่อกับการทำงานแบบ X-contact ถ้าชุดชัตเตอร์มีความทนทานในการทำงานสูง นั่นคือข้อที่แสดงให้เห็นว่าเป็นกล้องระดับมืออาชีพได้เป็นอย่างดี จุดเชื่อมต่อนั้นต้องอาศัยความเชื่อมั่นในระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์เสริม แคนนอนใช้ระบบเชื่อมต่อ X- contact อิเล็กทรอนิกส์ (สวิตช์แบบกึ่งตัวนำ) ด้วยสัญญาณภาพสะท้อนกลับ จึงช่วยลดการไหม้ในจุดเชื่อมต่อได้ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกล้องและแฟลชได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยวัสดุแบบเรซิ่นที่ใช้ในบริเวณฐานฮอทชูมีความแข็งแรงมาก ชิ้นส่วนอื่นๆ ที่เป็นโลหะก็เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพื่อความมั่นใจว่าการส่งข้อมูลให้ซึ่งกันและกันระหว่างแฟลชและกล้องจะต้องทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ เพื่อการควบคุมแสงแฟลชได้อย่างเที่ยงตรงแม่นยำ และทนต่อการใส่ ถอดแฟลชบ่อยๆ ป้องกันน้ำและฝุ่นละอองเมื่อใช้งานในสภาพแวดล้อมเลวร้าย ท่ามกลางสภาพอากาศเลวร้ายฝนตก ความชื้นสูง หรืออยู่ในทะเลทราย กล้อง EOS-1Ds Mark III สามารถรับมือกับสภาพแวดล้อมในลักษณะเช่นนี้ได้ Canon EOS-1Ds Mark III มีการซีลล์รอยต่อและปุ่มกดต่างๆ ด้วยยางโอริงทั่วทั้งตัวกล้องมากถึง 76 จุด ทั่วทั้งบริเวณรอยต่อและใต้ปุ่มกดต่างๆ ป้องกันหยดน้ำ ความชื้นละฝุ่นละอองเข้าสู่แผงวงจร จึงมั่นใจได้ทุกสภาวะการทำงาน (ในกรอบ) บริเวณที่มีการซีลล์ (EOS 1Ds Mark III)

Page 12: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า

ป้องกันการรั่วซึมบริเวณเมาท์และฐานใส่แฟลช บริเวณ Hot Shoe ที่ต่อเข้ากับแฟลชของ EOS-1Ds Mark III ก็มีการซีลล์เพื่อป้องกันการฝุ่นละอองและน้ำด้วยเช่นกัน แฟลช 580EX II มีการซีลล์เพื่อปกป้องฝุ่นละอองและน้ำจากสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณฐานแฟลช เมื่อใช้กล้องร่วมกับแฟลช 580 EX II และเลนส์ซีรีส์ L ที่ออกแบบกันฝุ่นและละอองน้ำเหมือนกันทำให้สามารถถ่ายภาพในทุกสภาพอากาศได้ทั้งขณะฝนตกหรือมีฝุ่น ทรายได้อย่างไม่ต้องเป็นกังวล ด้วยความใส่ใจในทุกรายละเอียดจากประสบการณ์ที่ยาวนานในการสร้างกล้องที่เหนือระดับ กับข้อมูลที่ได้รับจากมืออาชีพ ทำให้แคนนอนสร้างกล้อง EOS-1Ds Mk III ให้เป็นกล้องที่สมบูรณ์แบบ ทั้งประสิทธิภาพของตัวกล้อง ระบบการทำงานและคุณภาพของภาพที่ได้ นี่คือกล้องระดับ State-of-the-Art จากแคนนอน ที่จะเปิดมิติใหม่ของกล้อง DSLR ที่ก้าวข้ามขึ้นไปสู่ระดับชั้นของกล้องมีเดียม ฟอร์แมท กับ ดิจิตอล แบ็ค ด้วยซีสเท็มส์ที่แข็งแกร่งของ EOS ด้วยระบบเลนส์ คุณภาพสูงที่มีให้เลือกกว่า 50 ขนาด และด้วยระบบแฟลชชั้นเยี่ยม คุณจึงมั่นใจได้ว่า EOS-1Ds Mk III คือที่สุดของกล้อง DSLR ในวันนี้ มิใช่แค่ FULL FRAME แต่เหนือกว่า FULL FRAME ทั้งมวล

Page 13: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า

EOS-5D FULL FRAME SENSOR ในราคา APS-C ความละเอียด 12 ล้านพิกเซลของ EOS-5D อาจไม่แตกต่างจากกล้อง DSLR ที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาด APS-C ในปัจจุบัน แต่คุณทราบหรือไม่ว่าพื้นที่ของเซ็นเซอร์ฟูลเฟรมที่ใช้ใน EOS-5D มากกว่ากล้องที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาด APS-C กว่า 2 เท่าตัว ดังนั้น 12 ล้านพิกเซลของ EOS-5D จึงแตกต่างจาก 12 ล้านพิกเซล ของ APS-C ด้วยพื้นที่การรับแสงที่มากกว่าขนาดพิกเซลจึงใหญ่กว่าภาพที่ได้จาก EOS-5D จึงมีสัญญาณรบกวนต่ำ มีไดนามิคเรนจ์กว้างและมีความคมชัดต่อพิกเซลสูง นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไม EOS-5D จึงยังได้รับความนิยมอย่างสูงและด้วยราคาขายที่แทบไม่แตกต่างจากกล้อง DSLR ระดับกลางที่ใช้เซ็นเซอร์ APS-C ยิ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกความคุ้มค่าของ EOS-5D จุดเด่นของ EOS-5D 1. คุณภาพที่เหนือกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกล้อง DSLR ความละเอียด 12 ล้านพิกเซล ที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาด APS-C สิ่งที่ EOS -5D ทำได้เหนือกว่าคือ ความคมชัดต่อพิกเซลสูงกว่าซึ่งสามารถพิสูจน์ได้โดยการถ่ายทดสอบเปรียบเทียบกับกล้องที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาด APS-C แล้วดูผลจากภาพบนจอคอมพิวเตอร์ที่อัตราขยาย 100% ภาพที่ได้จาก EOS-5D จะมีรายละเอียดสูงกว่า ทำให้ได้คุณภาพไฟล์สูงกว่า รองรับการนำไปขยายขนาดไฟล์หรือขยายเป็นภาพขนาดใหญ่ได้ดีกว่า 2. เบลอฉากหลังได้มากกว่า เมื่อถ่ายภาพด้วยเลนส์ช่วงเดียวกัน ขนาดภาพเท่ากันโดยใช้ช่องรับแสงเท่ากัน EOS-5D ซึ่งใช้เซ็นเซอร์ขนาดฟูลเฟรมจะสามารถเบลอฉากหน้าและฉากหลังได้มากกว่ากล้อง DSLR ที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาด APS-C ให้ภาพไม่แตกต่างจากระบบฟิล์มที่มืออาชีพคุ้นเคย ดังนั้นกับภาพที่ต้องการเน้นจุดเด่นด้วยการเบลอฉากหลังไม่ว่าจะเป็นภาพบุคคล ภาพแฟชัน ภาพกีฬาหรือ ภาพแนวสารคดี EOS-5D จะให้ผลที่น่าประทับใจกว่า 3. รองรับระบบเลนส์ EF เต็มรูปแบบ การใช้กล้อง DSLR ที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาด APS-C แม้จะมีข้อได้เปรียบเรื่องเลนส์ในช่วงเทเลโฟโต้ที่จะมีทางยาวโฟกัสสูงขึ้นแต่กับเลนส์ช่วงมุมกว้างเป็นจุดด้อยเพราะมีเลนส์มุมกว้างให้เลือกใช้น้อยและเลนส์เกรดโปรเมื่อผ่านตัวคูณของเซ็นเซอร์ APS-C ก็จะมีช่วงซูมที่ไม่น่าสนใจ EOS-5D ให้คุณสนุกกับการเลือกใช้เลนส์ตระกูล EF ของแคนนอนได้เต็มไลน์อัพ โดยมีเลนส์มุมกว้างให้เลือกใช้กว่า 10 รุ่น รวมทั้งเลนส์ L ที่มืออาชีพยอมรับในเรื่องคุณภาพ ความแตกต่างของขนาดเซ็นเซอร์ ความแตกต่างของคุณภาพ ความละเอียดไม่ได้เป็นสิ่งบ่งบอกคุณภาพ 12 ล้านพิกเซลจากเซ็นเซอร์ 1/1.8 นิ้ว ในกล้องคอมแพคอย่อมให้คุณภาพห่างไกลจากเซ็นเซอร์ฟูลเฟรม 12 ล้านพิกเซลใน EOS-5D ลองดูจากภาพคุณจะเห็นความแตกต่างของขนาดเซ็นเซอร์ได้ชัดเจน ( P8) ขนาดเซ็นเซอร์ที่แตกต่างกันทำให้ขนาดพิกเซลแตกต่างกันด้วย จากภาพจะเห็นว่าขนาดพิกเซลของเซ็นเซอร์ CMOS ใน EOS-5D มีขนาดใหญ่กว่าขนาดพิกเซลของกล้องคอมแพคจากเซ็นเซอร์ขนาด 1/1.8 นิ้ว อย่างมาก ผลก็คือแม้จะมีความละเอียดเท่ากัน แต่ขนาดที่ใหญ่กว่ากัน 9 เท่า ไม่เพียงจะรับแสงได้มากกว่าแต่ยังเก็บข้อมูลได้มากกว่า คุณภาพจึงแตกต่างกันอย่างชัดเจน ขนาดเซ็นเซอร์ที่ใหญ่กว่าเปรียบเสมือนมีถังเก็บปริมาณแสงที่มากกว่า พื้นที่ของฐานเก็บปริมาณแสงที่มากกว่าจะทำให้สามารถเก็บข้อมูลของแสงได้มาก ผลที่ได้คือช่วงความไวแสงที่ไปได้สูงกว่าและให้คุณภาพสูงแม้ใช้ความไวแสงสูง (10) ผลที่ตามมาอีกเรื่องคือ อัตราส่วนของสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน (S/N Ratio) ที่ดีกว่าซึ่งค่านี้จะวัดจากปริมาณสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน จากภาพจะเห็นว่าแม้จะมีปริมาณสัญญาณรบกวนเท่าๆกัน แต่สัญญาณของเซ็นเซอร์ขนาดใหญ่มีมากกว่าเซ็นเซอร์เล็กหลายเท่า ดังนั้น S/N Ratio ของเซ็นเซอร์ขนาดใหญ่จึงสูงกว่า ภาพที่ได้จึงใสเคลียร์กว่าเมื่อใช้ความไวแสงสูง

Page 14: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า
Page 15: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า
Page 16: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า
Page 17: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า
Page 18: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า
Page 19: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า
Page 20: Canon EOS-1Ds Mark III FULL FRAME SENSORgoto.canon.co.th/pixma-all/pdf/FULL_FRAME_RW_uwp_.pdfcanon eos-1ds mark iii full frame sensor size does matter ใหญ่กว่าย่อมดีกว่า