20
รําลงสรงที่ปรากฏในการแสดงละครแบบราชสํานักไทย ประภาศรี ศรีประดิษฐ บทคัดยอ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาประวัติความเปนมา องคประกอบ วิธีการแสดงและ กระบวนทารําลงสรงที่ปรากฏในการแสดงละครแบบราชสํานักไทย จากการศึกษาพบวารําลงสรง เปนการรําเพื่อแสดงความหมายของการอาบน้ําแตงตัว อันมีที่มาจากคติความเชื่อในศาสนาฮินดูทีแพรเขาสูประเทศไทย ซึ่งในราชสํานักไทยไดรับเอาความสําคัญเรื่องของการอาบน้ํามาปฏิบัติอยู ตลอดเวลาทั้งในชีวิตประจําวัน พิธีกรรมที่สําคัญๆ จนปรากฏอยูในวรรณศิลปและนาฏศิลป ปจจุบันพบการรําลงสรงที่ยังคงถายทอดกันอยูทั้งสิ้น 5 ประเภทดังนีรําลงสรงปพาทย รําลงสรงสุหราย รําลงสรงมอญ รําลงสรงลาว และรําลงสรงโทน โดยลักษณะการรําลงสรงปพาทยนั้น มีทารําที่ไมตายตัวซึ่งแสดงความหมายของการอาบน้ํา ชื่นชม ดมกลิ่นกายประกอบเพลงบรรเลง ในขณะทีลงสรงโทน ลงสรงสุหราย ลงสรงมอญ และลงสรง ลาวนั้นเปนการรายรําประกอบบทรอง อันมีโครงสรางทารําหลัก การเลนเทาตามจังหวะกลอง ชา - เร็วที่คลายกัน อาจแตกตางกันบางที่รายละเอียดของทารําอาทิ การใชมือ - เทา ดวยขาง ซาย-ขวาที่แตกตางกัน ทิศทางการหันตัวที่แตกตางกัน เปนตน Abstract This study aims to investigate the historical background, components, performing methods and processes of Long-Srong Dance in Thai Royal court style. It was found that the Dance presented the meaning of bathing and dressing in daily life, influenced by the belief of Hindu religion spreading into Thailand. The Thai Royal Court has also received the importance of bathing and turned it into one significant ceremony, Long- Srong, which is revealed in literature and performing arts. At present, Long- Srong Dances, which have been passing from generations to generations, are divided into 5 categories: Long-Srong Pipaat Dance, Long-Srong Surai Dance, Long-Srong Mon Dance, Long-Srong Lao Dance and Long-Srong Tone Dance. The characteristic of Long-Srong Pipaat Dance is not stable to the music when performing the posture of bathing or body fragrance

รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

รําลงสรงที่ปรากฏในการแสดงละครแบบราชสํานักไทย

ประภาศรี ศรีประดิษฐ บทคัดยอ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาประวัติความเปนมา องคประกอบ วิธีการแสดงและกระบวนทารําลงสรงที่ปรากฏในการแสดงละครแบบราชสํานักไทย จากการศึกษาพบวารําลงสรงเปนการรําเพื่อแสดงความหมายของการอาบน้ําแตงตัว อันมีที่มาจากคติความเชื่อในศาสนาฮินดูที่แพรเขาสูประเทศไทย ซึ่งในราชสํานักไทยไดรับเอาความสําคัญเรื่องของการอาบน้ํามาปฏิบัติอยูตลอดเวลาทั้งในชีวิตประจําวัน พิธีกรรมที่สําคัญๆ จนปรากฏอยูในวรรณศิลปและนาฏศิลป ปจจุบันพบการรําลงสรงที่ยังคงถายทอดกันอยูทั้งส้ิน 5 ประเภทดังนี้ รําลงสรงปพาทย รําลงสรงสุหราย รําลงสรงมอญ รําลงสรงลาว และรําลงสรงโทน โดยลักษณะการรําลงสรงปพาทยนั้น มีทารําที่ไมตายตัวซึ่งแสดงความหมายของการอาบน้ํา ชื่นชมดมกลิ่นกายประกอบเพลงบรรเลง ในขณะที่ ลงสรงโทน ลงสรงสุหราย ลงสรงมอญ และลงสรงลาวนั้นเปนการรายรําประกอบบทรอง อันมีโครงสรางทารําหลัก การเลนเทาตามจังหวะกลอง ชา - เร็วที่คลายกัน อาจแตกตางกันบางที่รายละเอียดของทารําอาทิ การใชมือ - เทา ดวยขางซาย-ขวาที่แตกตางกัน ทิศทางการหันตัวที่แตกตางกัน เปนตน Abstract This study aims to investigate the historical background,

components, performing methods and processes of Long-Srong Dance in

Thai Royal court style. It was found that the Dance presented the meaning

of bathing and dressing in daily life, influenced by the belief of Hindu

religion spreading into Thailand. The Thai Royal Court has also received

the importance of bathing and turned it into one significant ceremony, Long-

Srong, which is revealed in literature and performing arts. At present, Long-

Srong Dances, which have been passing from generations to generations,

are divided into 5 categories: Long-Srong Pipaat Dance, Long-Srong Surai

Dance, Long-Srong Mon Dance, Long-Srong Lao Dance and Long-Srong

Tone Dance.

The characteristic of Long-Srong Pipaat Dance is not stable to the

music when performing the posture of bathing or body fragrance

Page 2: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous

with lyrics. So there were basic structures of dancing structure, foot

movement according to slow or quick drum rhythms. There are similarity

and differences among these four kinds of dances, i.e. hand or foot

movement to the left or the right, the direction of turning the body, etc.

นาฏศิลป หรือศิลปะแหงการแสดงละครฟอนรํานั้นอาจกลาวไดวา เปนศิลปะท่ีมนุษยสรางสรรคขึ้นมาชานานนับตั้งแตยุคบรรพกาลเมื่อแรกเริ่มกอตั้งเปนชุมชนขึ้นแลว โดยในการแสดงยุคเริ่มแรกนั้นเปนเพียงลักษณะของการรองรําทําเพลงตามวิสัยการพักผอนหยอนใจของมนุษย ตอมาจึงวิวัฒนาการมาเปนนาฏศิลปไทยที่เลนกันเปนเรื่องราวและมีระเบียบแบบแผนชั้นสูงในภายหลัง ซึ่งปรากฏทั้งในแบบราชสํานัก หรือที่เรียกอีกอยางหนึ่งวานาฏศิลปแบบหลวง และนาฏศิลปแบบราษฏร โดยเฉพาะอยางยิ่งนาฏศิลปแบบหลวงที่เห็นไดเดนชัดจัดอยูในนาฏศิลปชั้นสูง คือ การรําลงสรง คํ า ว า “ลงส ร ง” ใ นพจนานุ ก รมฉบั บ ร า ชบัณฑิ ตสถาน หมายถึ ง อาบน้ํ า (ราชบัณฑิตยสถาน, 2538. หนา 718)

คําวา “ลงสรง” ในสารานุกรมเพลงไทย หมายถึง “เพลงหนาพาทยใชบรรเลงประกอบพิธีเกี่ยวกับทําความสะอาดดวยน้ํา เชน การสรงน้ําพระพุทธรูป สรงน้ําเทวรูป การอาบน้ําเจานาค ภายหลังการปลงผมแลว ในการแสดงโขนละครใชบรรเลงตอนตัวละครอาบน้ํา” (ณรงชัย ปฎกรัช, 2528. หนา 243)

การใชเพลงลงสรงประกอบการอาบน้ําของตัวละครในทางการแสดงเรียกวา “รําลงสรง” โดยผูแสดงจะทําทาทางเกี่ยวกับการอาบน้ํา อาทิ การวักน้ําขึ้นมาลางหนา ลูบแขนลูบขา ซึ่งในครั้งแรกเปนการรําประกอบเพลงบรรเลง โดยไมมีบทรอง ตอมาภายหลังจึงมีการนําบทรองเขามาประกอบการแสดง จากการศึกษาพบวา การรําลงสรงนั้นมีที่มาจากวัฒนธรรมในเรื่องที่เกี่ยวของกับน้ําในวิถีชีวิตประจําวันดังนี ้

น้ําเปนปจจัยสําคัญที่ มีผลตอการดํารงชีวิตของมนุษย ดังจะเห็นไดวามนุษยใหความสําคัญกับน้ําเปนอยางมาก โดยสังเกตไดจากขนบธรรมเนียมประเพณีตางๆของไทยที่มีเรื่องของน้ําเขามาเกี่ยวของอยูเสมอ อาทิ ประเพณีสงกรานต ประเพณีแหนางแมว เปนตน จากหนังสือประเพณีชาวบานของประยุทธ ดิทธพัฒน ยังกลาวสนับสนุนเรื่องนี้วา

“แผนดินที่ชาวสยามเรียกวา แหลมทอง มีภูมิอากาศอบอาว และรอนจัด การตั้งบานเรือนอยูริมน้ําเปนที่นิยมโดยทั่วไป น้ํามีประโยชนมากสําหรับการดํารงชีพ โดยเฉพาะการใชน้ําเพื่อชําระรางกาย ชาวสยามถือวาการอาบน้ํานั้นเปนวิถีที่ควรจะปฏิบัติซึ่งจําเปนมาก และจะถือเปนเรื่องผิดมารยาท ถาหากจะไปเยี่ยมใครโดยมิไดอาบน้ํากอน นอกจากนี้

Page 3: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

ชาวสยามยังมีพิธีรีตองและขยันทําน้ําปรุง และเครื่องหอมที่ไดจากพืช ดอกไม หรือน้ํามันตางๆ ที่สกัดจากธรรมชาติ” (ประยุทธ ดิทธพัฒน, 2526. หนา 14) หนังสือเทศกาลสงกรานต กลาวถึงการอาบน้ําของพวกพราหมณในศาสนาฮินดูไววา

“การอาบน้ําในพิธีทํากันอยูมากมาย อยาวาแตอาบน้ําในพิธีเลย แมแตกิจที่ตองทํากันเปนธรรมดา ก็ยังตองอาบน้ําชําระรางกายใหสะอาดเสียกอน ในลัทธิพราหมณกอนเริ่มทําพิธีใดก็ตองมีพิธีสนาน คือ อาบน้ําเสียกอนเพื่อจะไดเขาพิธีดวยมีความบริสุทธิ”์ (อนุมานราชธน, ม.ป.ป. หนา 169)

จากความเชื่อทางศาสนาที่ไทยไดรับอิทธิพลมาจากศาสนาฮินดู โดยใหความสําคัญของน้ําในการนํามาใชประกอบพิธีสําคัญๆ โดยเฉพาะน้ําในแมน้ําคงคาซึ่งเปนแมน้ําศักดิ์สิทธิ์ กลาวกันวา “ถาใครไดอาบหรือไดกินน้ําในแมน้ําคงคาจะไดบุญมากและสามารถลางบาปได ความชั่วที่ทําไวทั้งหมดจะถูกลอยไปกับสายน้ํา กลายเปนผูบริสุทธิ์ทั้งทางกายและทางใจ ชาวฮินดูจึงอาบน้ํา ลางบาปอยางนอยวันละ 2 ครั้ง คือเชาและเย็น” (ดนัย ไชยโยธา, 2538. หนา 12) จากที่กลาวมาจะเห็นไดวาน้ําเปนเครื่องแสดงความบริสุทธิ์ ความยิ่งใหญและความสําเร็จ กษัตริยของฮินดูจึงถือวาการอาบน้ําเปนส่ิงสําคัญและจําเปนอยางยิ่ง แมแตพราหมณผูประกอบพิธีก็ยังใหความสําคัญกับการอาบน้ํากอนเขาพิธีที่สําคัญๆ ตอมาพวกพราหมณเหลานั้นไดนําอิทธิพลและความเชื่อในเรื่องความสําคัญของน้ําที่มีตอพระมหากษัตริย เขามาใชในพิธีการของราชสํานักไทย โดยพยายามใหปฏิบัติเชนเดียวกับกษัตริยของชาวฮินดู ดังนั้นความเชื่อในเรื่องความสําคัญของน้ําจึงมีผลตอเนื่องมาถึงวิถีชีวิตความเปนอยูของคนไทย โดยเฉพาะการอาบน้ําซึ่งถือเปนสวนหนึ่งในชีวิตที่ตองปฏิบัติอยูตลอดเวลาทั้งในชีวิตประจําวัน ในพิธีกรรมที่สําคัญๆ และในพระราชพิธีของเจานายชั้นสูง ดวยเหตุนี้น้ําจึงเขามามีบทบาทตอการดําเนินชีวิตของตัวละคร โดยเฉพาะตัวละครที่เปนกษัตริยปรากฏวาจะตองมีการอาบน้ําชําระรางกายทุกครั้งกอนที่จะออกเดินทาง หรือกอนที่จะกระทําการสําคัญ เชน การอาบน้ําแตงตัวกอนออกเดินทาง การอาบน้ําแตงตัวกอนออกรบ การอาบน้ําแตงตัวกอนเขาเฝา การอาบน้ําแตงตวักอนที่จะปลอมตัว เปนตน โดยการอาบน้ําแตงตัวดังกลาวก็คือการรําลงสรงนั้นเอง

รําลงสรงของตัวละครฝายพระในนาฏศิลปแบบหลวง ปจจุบันพบชื่อเรียกการแสดงลงสรงของตัวละครฝายพระในนาฏศิลปแบบหลวงทั้งส้ิน 6

ประเภทดังนี ้ 1. รําลงสรงปพาทย เปนการรําที่แสดงทาทางการอาบน้ําของตัวละคร โดยไมมีบทรอง มีแตทํานองเพลงปพาทยบรรเลงเพียงอยางเดียว ใชสําหรับการแสดงโขนและละคร เชน การรําลงสรงของพระลอจากการแสดงละครพันทางเรื่องพระลอ เปนตน 2. รําลงสรงสุหราย เปนการรําที่แสดงทาทางการอาบน้ําและแตงตัวของตัวละครโดยมีบทรองบรรยายถึงลักษณะการอาบน้ํา และเครื่องแตงกายของตัวละคร ใชสําหรับการแสดงละครใน เชน รําลงสรงสุหรายของพระอุณรุทจากการแสดงละครใน เรื่องอุณรุท เปนตน

Page 4: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

3. รําลงสรงมอญ เปนการรําที่แสดงทาทางการอาบน้ําและแตงตัวของตัวละคร โดยมีบทรองบรรยายลักษณะการอาบน้ําและเครื่องแตงกายของตัวละคร หรือใชบรรยายลักษณะความงดงามของธรรมชาติในระหวางการอาบน้ํา ซึ่งโดยทั่วไปใชไดทั้งในการแสดงโขนและละครไมวาจะเปนละครนอก ละครใน หรือละครพันทาง เชน รําลงสรงมอญของพระสังขจากการแสดงละครนอกเรื่องสังขทอง, รําลงสรงมอญของนางกินรีทั้งเจ็ดจากการแสดงละครชาตรีเรื่องมโนหรา, รําลงสรงมอญของพระยานอยจากการแสดงละครพันทางเรื่องราชาธิราช และรําลงสรงมอญของทาวแสนปมจากการแสดงละครนอกเรื่องทาวแสนปม เปนตน 4. รําลงสรงลาว เปนการรําที่แสดงทาทางการอาบน้ําและแตงตัวของตัวละคร โดยมีบทรองบรรยายลักษณะการอาบน้ําและเครื่องแตงกายของตัวละคร ใชในการแสดงละครพันทางหรือละครที่ตองการบงบอกเชื้อชาติ เชน รําลงสรงลาวของพระลอจากการแสดงละครพันทางเรื่องพระลอ เปนตน 5. รําลงสรงแขก เปนการรําที่แสดงทาทางการอาบน้ําและแตงตัวของตัวละคร โดยมีบทรองบรรยายลักษณะการอาบน้ําและเครื่องแตงกายของตัวละคร ใชในการแสดงละครพันทางหรือละครที่ตองการบงบอกเชื้อชาติของตัวละคร เชน รําลงสรงแขกพระยาแกรกจากการแสดงละครพันทางเรื่องพระยาแกรก เปนตน 6. รําลงสรงโทน เปนการรําที่แสดงทาทางการอาบน้ําและแตงตัวของตัวละคร โดยมีบทรองบรรยายลักษณะการอาบน้ําและเครื่องแตงกายของตัวละคร ใชในการแสดงโขนและละครกับตัวละครฝายพระหรือตัวเอกของเรื่อง เชน รําลงสรงโทนของอิเหนาจากการแสดงละครในเรื่องอิเหนา, รําลงสรงโทนของปนหยีจากการแสดงละครในเรื่องอิเหนา, รําลงสรงโทนของทาวกะหมังกุหนิงจากการแสดงละครใน เรื่อง อิเหนา และรําลงสรงโทนของเจากรุงพานจากการแสดงละครในเรื่องอุณรุท เปนตน กระบวนการรําลงสรงนั้นเปนการอวดฝมือผูแสดงในบทบาทพระเอกดังนั้นผูที่จะไดรับการถายทอดจึงตองเปนผูที่มีทารํางาม รูปรางหนาตางาม และผานการฝกฝนตามขั้นตอนของนาฏศิลปไทยมาจนกระทั่งมีทักษะขั้นสูง จึงจะไดรับอนุญาตใหสืบทอดทารําจากครู นอกจากนี้ กระบวนการรําลงสรงยังมีความประณีตตามแบบแผนของการแสดงละครไทยซึ่งตองใชเวลาในการแสดงมากจึงไมเปนที่นิยม ภายหลังไดมีผูคิดตัดทอนเนื้อเพลงและทารําออกเพื่อใหทันใจผูชม ทําใหผูมีความสามารถในการรําลงสรงแตละประเภทอยางเต็มรูปแบบมีจํานวนนอยลง และในบางชุดการแสดงก็นับวาใกลจะสูญหายไปแลว อาทิ รําลงสรงแขก ในละครเรื่องพระยาแกรก ซึ่งในปจจุบันคงเหลือผูที่สามารถแสดงไดเพียงทานเดียว แตทานผูนั้นก็มีเหตุผลบางประการที่ไมสามารถถายทอดทารําชุดดังกลาวใหกับผูใดไดอีก (นพรัตน หวังในธรรม : สัมภาษณ 2549) ทําใหการแสดงลงสรงที่ยังคงถายทอดอยูในปจจุบันเหลืออยูเพียง 5 ประเภทเทานั้น ซึ่งผูวิจัยจะไดใชเปนขอบเขตในการศึกษา รําลงสรงที่ยังปรากฏวามีการถายทอดกันอยูในปจจุบัน ประเภทละ 1 ชุดการแสดงดังตอไปนี้

Page 5: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

1. รําลงสรงปพาทยในการแสดงละครพันทางเรื่องพระลอ 2. รําลงสรงโทนของอิเหนาในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา 3. รําลงสรงสุหรายในการแสดงละครในเรื่องอุณรุท 4. รําลงสรงมอญในการแสดงละครนอกเรื่องสังขทอง 5. รําลงสรงลาวในการแสดงละครพันทางเรื่องพระลอ งานวิจัยฉบับนี้ใหความสําคัญกับการศึกษา รวบรวมขอมูล วิเคราะหกระบวนการรํา และองคประกอบในการรําลงสรง โดยอาศัยขอมูลพื้นฐานจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณและรับการถายทอดกระบวนทารําจากผูทรงคุณวุฒิ ตลอดจนศึกษาทัศนคติ คานิยม ความเชื่อของคนไทยเกี่ยวกับน้ําที่มีมาแตสมัยโบราณ เพื่อเปนสวนประกอบในการวิเคราะหและดําเนินงานวิจัย โดยมีวิธีดําเนินงานวิจัยดังตอไปนี้ วิธีดําเนินงานวิจัย 1. การเก็บและรวบรวมขอมูล 1.1 ศึกษาและรวบรวมขอมูลจากหนังสือ เอกสารทางวิชาการ ทั้งที่เปนตําราและบทความจากหองสมุดตางๆ เชน หอสมุดแหงชาติ ทาวาสุกรี หอจดหมายเหตุแหงชาติ ศูนยวิทยบริการจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย หองสมุดคณะศิลปกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย หองสมุดคณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย หองสมุดวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร 1.2 สัมภาษณผูที่มีความรู และมีประสบการณในการแสดงรําลงสรงดังตอไปนี้ 1.2.1 สัมภาษณผูทรงคุณวุฒิทางดานนาฏศิลปไทยที่ไดรับการถายทอดกระบวนทารําลงสรงแบบตางๆ ดังนี้ - นางสุวรรณี ชลานุเคราะห ศิลปนแหงชาติ สาขาศิลปะการแสดง ปพุทธศักราช 2533 อาจารยพิเศษภาควิชานาฏศิลปไทย คณะศิลปกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มีประสบการณในการสอนและรําลงสรงมากกวา 40 ป - นางนพรัตน หวังในธรรม ผูเชี่ยวชาญดานนาฏศิลปไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร มีประสบการณในการสอนและรําลงสรงมากกวา 40 ป - นางรติวรรณ กัลยาณมิตร ผูเชี่ยวชาญนาฏศิลปไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร มีประสบการณในการสอนและรําลงสรงมากกวา 40 ป - นางพัชรา บัวทอง นาฏศิลปน สํานักการสังคีต กรมศิลปากร มีประสบการณในการสอนและรําลงสรงมากกวา 30 ป - ผูชวยศาสตราจารย ดร. สวภา เวชสุรักษ. หัวหนาภาควิชานาฏยศิลป จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. - นางสาววรรณพินี สุขสม นาฏยศิลปน สํานักการสังคีต กรมศิลปากร - นายธีรเดช กล่ินจันทร นาฏยศิลปน สํานักการสังคีต กรมศิลปากร

Page 6: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

2. ศึกษากระบวนทารําลงสรงของตัวพระในการแสดงละครแบบหลวงจากผูเชี่ยวชาญทางดานนาฏศิลปไทย ไดแก - นางนพรัตน หวังในธรรม ผูเชี่ยวชาญดานนาฏศิลปไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร มีประสบการณในการสอนและรําลงสรงมากกวา 40 ป - นางรติวรรณ กัลยาณมิตร ผู เชี่ยวชาญนาฏศิลปไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร มีประสบการณในการสอนและรําลงสรงมากกวา 40 ป - นางสุวรรณี ชลานุเคราะห ศิลปนแหงชาติ สาขาศิลปะการแสดง ปพุทธศักราช 2533 อาจารยพิเศษภาควิชานาฏศิลปไทย คณะศิลปกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มีประสบการณในการสอนและรําลงสรงมากกวา 40 ป ผลการวิจัย ผูวิจัยไดนําขอมูลที่ไดทั้งหมดมาวิเคราะห ตีความ และสรุปผลการวิจัยเปนรูปเลมดวยการพรรณนาความและเรียบเรียงเปนรูปเลมงานวิจัย ซึ่งผลการวิจัย พบวารําลงสรงทั้ง 5 ประเภทมี วิธีการแสดง องคประกอบการแสดง กระบวนทารําและกลวิธีในการรําลงสรงดังนี ้ 1. วิธีการแสดง จากการศึกษาพบวาลักษณะการรําลงสรงปพาทยนั้นเปนการรําที่ไมมีทารําเฉพาะตายตัว ผูแสดงสามารถออกแบบทารําอาบน้ําหรือชื่นชมดมกลิ่นกายประกอบทํานองดนตรีบรรเลงไดดวยตนเอง ในขณะที่การรําลงสรงโทน ลงสรงสุหราย ลงสรงมอญ และลงสรงลาว มีทารําที่เปนแบบแผนเฉพาะและมีวิธีการแสดงที่คลายคลึงกัน โดยสามารถแบงการแสดงออกไดเปน 5 ชวง ดังนี้ ชวงที่ 1 การเดินทางเขามายังเวที เปนการแสดงทารําเพื่อเดินทางมายังสถานที่ที่จะทําการลงสรงประกอบเพลงปพาทยบรรเลง อาทิ เพลงเสมอ เพลงตนเขามาน เพลงรัว เปนตน ชวงที่ 2 การลงสรง เปนการแสดงทารําประกอบเพลงบรรเลงหรือเพลงรองอันมีเนื้อหาบรรยายถึงการอาบน้ํา ชวงที่ 3 การทรงสุคนธ เปนการแสดงทารําบรรยายถึงการปะพรมน้ําอบ น้ําหอมหลังจากไดอาบน้ําเปนที่เรียบรอยแลว ชวงที่ 4 การแตงตัว เปนการแสดงทารําบรรยายถึงความงดงามของเครื่องแตงกายรวมทั้งเครื่องประดับตางๆ ของตัวละคร ลักษณะการแตงกาย และอาวุธประจํากายของตัวละคร ประกอบการรองเพลงลงสรงประเภทตางๆ ชวงที่ 5 การออกเดินทาง เปนการบรรยายอิริยาบถของการเดินทาง อาจเปนการเดินทางดวยมา การยกทัพทหาร หรือการเคลื่อนไหวของตัวละครหลังจากแตงตัวเปนที่เรียบรอยแลวเพื่อไปยังสถานที่ตางๆ ตามแตบทละครจะกําหนด ซึ่งการแสดงในชวงนี้มักใชเพลงหนาพาทยบรรเลงประกอบ อาทิ เพลงเชิด เพลงเสมอ เพลงฉิ่ง เพลงเร็ว-ลา เปนตน

Page 7: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

ในการแสดงชวงที่ 1 การเดินทางเขามายังเวที การแสดงชวงที่ 4 การแตงตัว และการแสดงชวงที่ 5 การออกเดินทางนั้น เปนชวงการแสดงที่มีความสําคัญเนื่องจากพบวาปรากฏอยูในการแสดงลงสรงถึง 4 ประเภท ไดแก ลงสรงโทน ลงสรงสุหราย ลงสรงมอญ และลงสรงลาว ในขณะที่การแสดงชวงอื่นๆ ปรากฏอยูเฉพาะในการแสดงลงสรงบางประเภทเทานั้น

2. องคประกอบในการแสดง

2.1 เครื่องดนตรี เครื่องดนตรีที่ใชประกอบการแสดงสามารถใชไดทั้งวงปพาทยเครื่องหา วงปพาทยเครื่องคู และวงปพาทยเครื่องใหญ แตที่นิยมมากที่สุดคือวงปพาทยเครื่องคูเพราะเปนวงดนตรีขนาดกลาง เหมาะสมกับลักษณะงานโดยทั่วไป (มนตรี ตราโมท, 2525. หนา 5) 2.2 เครื่องแตงกายและเครื่องประดับ เครื่องแตงกายและเครื่องประดับถือเปนส่ิงสําคัญที่ตองตรวจสอบใหถูกตองตามบทรองและจารีตประเพณีของการแสดงชุดนั้นๆ ทั้งนี้เนื่องจากทารําในแตละทา แสดงใหเห็นถึงลักษณะของเครื่องแตงกาย ตําแหนงของเครื่องแตงกาย และคุณสมบัติของเครื่องแตงกาย ที่ตัวละครสวมใสอยูในขณะประกอบการแสดงอยางชัดเจน โดยรูปแบบของเครื่องแตงกายที่ใชประกอบในการรําลงสรงนั้นมีลักษณะเปนแบบยืนเครื่องพระ ซึ่งสี ชนิดของศิราภรณ และอาวุธประจํากายนั้น ตองคํานึงถึงจารีตของตัวละครในการรําลงสรงประเภทนั้นๆ อาทิ ตัวละครอิเหนาใส “ชุดยืนเครื่องพระสีแดง” สวมปนจุเหร็จหรือชฎา เหน็บกริชเปนอาวุธประจํากาย พระอุณรุทใส “ชุดยืนเครื่องพระสีเหลือง” สวมชฎา มีพระขรรคเปนอาวุธประจํากาย เปนตน

ภาพที่1 : การแตงกายยืนเครื่องพระ สําหรับรําลงสรงโทนอิเหนา

ดอกไมทดั อินทรธน ู

ทับทรวง

ธํามรงค

ตาบทศิ

หอยหนาหรือชายไหว

กําไลขอเทา

กรรเจียกจร กรองคอ เส้ือ หรือ ฉลององค

ปนเหนงหรือหัวเข็มขัด ทองกร ภูษา ตาบทศิ หอยขางหรือชายแครง สนับเพลา

Page 8: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

2.3 อุปกรณประกอบการแสดง อุปกรณประกอบการแสดงมีสวนสําคัญในการจําลองภาพการอาบน้ําแตงตัวใหปรากฏบนเวที โดยทั่วไปการรําลงสรงชนิดที่มีการลงสรง(อาบน้ํา) และทรงสุคนธ(ปะพรมน้ําอบน้ําปรุง) มักใชเตียงใหญ และเตียงเล็ก ซึ่งประกอบไปดวยอุปกรณตางๆ ดังนี้ เตียงเล็กสําหรับวางขันน้ําใบเล็กและขันน้ําใบใหญพรอมพานรองในขั้นตอนของการลงสรง โดยจะตั้งอยูบริเวณดานขวามือของผูแสดง เตียงใหญสําหรับวางเครื่องราชูปโภคพรอมพานรองในขั้นตอนของการทรงสุคนธ โดยจะตั้งอยูบริเวณดายซายมือของผูแสดง หากการรําลงสรงที่มีเพียงขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ใหใชเวทีสวนกลางในการจัดวางอุปกรณประกอบการแสดง และหากเปนการรําลงสรงที่มีเฉพาะบทแตงตัวก็ไมจําเปนตองใชอุปกรณประกอบในการแสดง แตจะใชเวทีสวนกลางสําหรับประกอบการรายรําเทานั้น ซึ่งการแบงแยกพื้นที่ของเตียงสําหรับอาบน้ํา เตียงสําหรับทรงสุคนธ และพื้นที่สําหรับการรําแตงตัวไวออกจากกันอยางชัดเจนนี้ ก็เพื่อจําลองหองอาบน้ําและหองทรงสุคนธออกจากกันตามธรรมชาติในชีวิตจริงของมนุษย (สวภา เวชสุรักษ : สัมภาษณ 2550) และที่จัดใหเตียงอาบน้ําอยูบริเวณดานขวามือของผูแสดงนั้น ผูวิจัยสันนิษฐานวามีที่มาจากเหตุผล 2 ประการดวยกัน ดังนี ้ ประการที่ 1 จารีตในการแสดง โดยผูแสดงตองออกแสดงทางประตูดานขวามือ และการอาบน้ําถือเปนขั้นตอนแรกในการรําลงสรงจึงตองจัดใหเตียงลงสรงอยูใกลกับประตูทางออกมากที่สุด จากนั้นในขั้นตอนตอไปจึงจะใชเตียงถัดไปทางซายมือสําหรับทรงสุคนธ ประการที่ 2 ธรรมเนียมปฎิบัติตามธรรมเนียมของไทยนิยมเรียงลําดับแรกจากดานขวามือไลไปยังดานซายมือ อาทิ หองที่ 1 หองอาบน้ํา หองที่ 2 หองทรงสุคนธ หองที่ 3 หองแตงตัว เปนตน แตอยางไรก็ตามในการเลือกใชอุปกรณชนิดตางๆผูแสดงตองศึกษาจารีตของการใชอุปกรณในการแสดงชุดนั้นๆใหละเอียดกอนที่จะทําการแสดงเพื่อปองกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น 3. กระบวนทารําและกลวิธีในการรําลงสรง จากการศึกษากระบวนทารําลงสรงทั้ง 5 ชุด ผูวิจัยพบวา การรําลงสรงเปนกระบวนทารําที่เกิดขึ้นตามความสมจริง ทาที่ใชสามารถสื่อสารใหผูชมเห็นความสําคัญและความงดงามของเครื่องแตงกายที่ตัวละครสวมใสอยู โดยทารําลงสรงปพาทยนั้นเปนการแสดงทารําในลักษณะที่ไมตายตัวแตแสดงออกซึ่งความหมายของการอาบน้ํา อาจเปนการแสดงทารําในลักษณะวักน้ําลางตัว ลางหนา หรือชื่นชมดมกลิ่นกายจนกระทั่งปพาทยบรรเลงเพลงสิ้นสุดลงถือเปนการเสร็จส้ินกระบวนการรําลงสรงปพาทย สวนในการรําลงสรงโทน ลงสรงสุหราย ลงสรงมอญ และลงสรงลาวนั้น กระบวนทารําสวนใหญเปนการรําใชบท โดยมีทารําประกอบบทสอดแทรกบางในบางชวง นอกนั้นมีโครงสรางเหมือนกัน แตแตกตางกันที่รายละเอียดเล็กนอย ไดแก

Page 9: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

3.1 ทารําหลัก เปนลักษณะการแสดงทารําที่มีโครงสรางเหมือนกันตามความหมายของคํารองบรรยายองคประกอบของเครื่องแตงกายชนิดตางๆ ทารําอาจแตกตางกันบางที่ทิศทางการหันตัว โดยบางทารําอาจหันเฉียงตัวออกไปทางดานขาง บางทารําอาจหันขางซาย หรือหันขางขวา เปนตน นอกจากนี้ในทารําหลักบางทาที่คํารองมีความหมายอยางเดียวกันยังสามารถปฏิบัติทารําไดทั้งมือซายและมือขวา และถาเครื่องแตงกายชิ้นนั้นมีลักษณะ 2 ขางหรือ 2 ชิ้น ก็มักจะปฏิบัติทารํานั้น 2 ครั้ง โดยปฏิบัติสลับขางซายและขางขวา อาทิ ทาภูษา ทาสนับเพลา ทาทองกร ทาธํามรงค เปนตน

จากที่กลาวมาจะเห็นไดวาการรําลงสรงปพาทยนั้นเปนการรําที่ไมมีทารําเฉพาะตายตัว ผูแสดงสามารถออกแบบทารําอาบน้ําหรือชื่นชมดมกลิ่นกายประกอบทํานองดนตรีบรรเลงไดดวยตนเอง ดังนั้นลําดับตอไปผูวิจัยจะไดเลือกยกกระบวนทารําหลักของการรําลงสรงโทน ลงสรงสุหราย ลงสรงมอญ และลงสรงลาว ซึ่งมีทารําที่เปนแบบแผนเฉพาะมาวิเคราะหเพื่อใหเห็นความแตกตางของทารําในการแสดงลงสรงแตละประเภท และกลวิธีในการรําดังนี ้

1. ทาสนับเพลา เปนทารําที่แสดงความหมายถึงกางเกงที่ตัวละครสวมใสอยูมีลักษณะ

ปลายขางอนขึ้นมาดานหนาเล็กนอย

ชุดที่ 1 ลงสรงโทนอิเหนา

ชุดที่ 2 ลงสรงสุหราย อุณรุท

ชุดที่ 3 ลงสรงมอญ พระสังข

ชุดที่ 4 ลงสรงลาว พระลอ

_

หันเฉียงขวา กาวเทาขวา ยกเทาซาย มือทั้งสองจีบคว่ําแลวเปลี่ยนจีบหงายแขนตึงระดับห น า ข า ทั้ ง ส อ ง ข า ง เอียงขวา

หันเฉียงขวา กาวเทา ขวา ยกเทาซาย มือทั้ง สองจีบคว่ําแลวเปล่ียนจีบหงายแขนตึงระดับหนาขาทั้งสองขาง เอียงขวา

หันเฉียงซาย ถอนเทาซาย ยกเทาขวา มือทั้งสองจีบคว่ํา แลวเปลี่ยนจีบหงายแขนตึงระดับห น า ข า ทั้ ง ส อ ง ข า ง เอียงซาย

Page 10: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

ทาสนับเพลา พบวามีอยูในการรําลงสรงสุหราย ลงสรงมอญ และลงสรงลาว โดยลักษณะทารํานั้นเหมือนกันทั้งหมด คือ ยกเทาใดเทาหนึ่ง มือทั้งสองจีบหงายอยูระดับหนาขา แตแตกตางกันเล็กนอยที่ทิศทางการหันตัว

2. ทาภูษา เปนทารําที่แสดงความหมายถึงผานุงที่ตัวละครสวมใสอยู โดยมีลักษณะการนุงแบบจีบโจงหางหงส

ทาภูษาพบวามีอยูในการรําลงสรงทั้ง 4 ประเภทโดยมีลักษณะทารําเหมือนกัน คือ การ

กาวหนาแลวจึงยกเทา มือหนึ่งจีบหงายระดับชายพกอีกมือหนึ่งตั้งวงลางระดับชายพก แตแตกตางกันเล็กนอยที่ทิศทางการหันตัว และวิธีการใชสัดสวนของรางกายขางขวาและขางซาย

ชุดที่ 1 ลงสรงโทน อิเหนา

ชุดที่ 2 ลงสรงสุหรายอุณรุท

ชุดที่ 3 ลงสรงมอญ พระสังข

ชุดที่ 4 ลงสรงลาว พระลอ

หันดานหนา กาวหนาเทาซาย มือขวาตั้งวงลางระดับชายพก มือซายจีบหงายในระดับเดียวกัน เอียงขวาจากนั้น ยกเทาขวา มือขวาจีบหงายระดับชายพก มือซายตั้งวงลางในระดับเดียวกัน เอียงซาย

หันดานหนา กาวหนาเท า ขวามื อขวาจี บหงายระดับชายพก มือซายตั้งวงลางในระดับเดียวกัน เอียงซาย จากนั้น ยกเทาซาย มือขวาตั้งวงลางระดับชายพก มือซายจี บ ห ง า ย ใ น ร ะ ดั บเดียวกัน เอียงขวา

หันเฉียงซาย กาวหนาเทาซาย มือซายจีบหงายระดับชายพก มื อ ข ว า ตั้ ง ล า ง ใ นระดับเดียวกัน เอียงขวา จากนั้น ยกเทาขวา มือซายตั้งวงลางระดับชายพก มือขวาจีบหงายในระดับเดียวกัน เอียงซาย

หันดานหนา กาวหนาเทาซาย มือซายจีบหงายระดับชายพก มือขวาตั้ งวงลางในระดับเดียวกัน เอียงขวา จากนั้น ยกเทาขวา มือซายตั้งวงลางระดับชายพก มือขวาจี บ ห ง า ย ใ น ร ะ ดั บเดียวกัน เอียงซาย

Page 11: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

3. พาหุรัด เปนทารําที่แสดงความหมายถึง รัดตนแขน ที่ใชใสบริเวณปลายเสื้อแขนสั้นหรือรัดอยูบริเวณตนแขนของเสื้อแขนยาวสําหรับตัวละครฝายพระ

ชุดที่ 1 ลงสรงโทน

อิเหนา ชุดที่ 2 ลงสรงสุหราย

อุณรุท ชุดที่ 3 ลงสรงมอญ

พระสังข ชุดที่ 4 ลงสรงลาว

พระลอ -

หันดานซาย กาวขางเทาขวา มือขวาตั้งวงดานหนาระดับอก มือซ ายตั้ ง ว งหงายระดับแงศีรษะ เอียงขวา จากนั้น ยกเทาซาย มือขวาจีบหงายบริเวณตนแขนซาย มือซายแทงออกตั้ ง ว งสู ง ร ะดั บ แ ง ศี รษะ เอียงซาย

-

หันดานหนา ยืนแตะเทาซาย มือขวาตั้งวงสูงระดับแงศีรษะ มือซายจีบช้ีเขาหาตนแขนขวาดานใน เอียงขวา

ทาพาหุรัด พบวามีอยูในการรําลงสรงสุหราย และลงสรงลาว โดยการใชมืออยูใน

ลักษณะเดียวกันคือมือหนึ่งตั้งวงสูง อีกมือหนึ่งจีบหงายบริเวณรัดตนแขนของวงสูง แตแตกตางกันเล็กนอยที่การปฏิบัติทาเทา

Page 12: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

4. ทาหอยหนา หรือ ชายไหว เปนทารําที่แสดงความหมายถึงผาหอยดานหนาที่ปดทับบนรัดสะเอว มีลักษณะเปนรูปส่ีเหลี่ยมผืนผา

ชุดที่ 1 ลงสรงโทน

อิเหนา ชุดที่ 2 ลงสรงสุหราย

อุณรุท ชุดที่ 3 ลงสรงมอญ

พระสังข ชุดที่ 4 ลงสรงลาว

พระลอ

หันดานหนา กาวหนาเทาซาย มือขวาจีบคว่ําแขนงอดานหนาระดับเอว มือซายตั้งวงหงายระดับชายพก เอียงขวาจากนั้ น ยก เท าขวา มือขวาตั้งวงหงายแขนงอดานหนาระดับเอว มือซายตั้งวงลางระดับชายพก เอียงซาย

หันดานหนา กาวหนาเทาซาย มือขวาจีบคว่ํา แขนงอดานหนา ระดับเอว มือซายตั้งวงหงายระดับชายพก เอียงขวา จากนั้ น ยกเท าขวา มือขวาตั้งวงหงายแขนตึงดานหนาระดับเอวโ ดย ให ปล ายมื อ อยูบริเวณหัวเขาขวา มือซายตั้ งวงลาง ระดับชายพก เอียงซาย

-

หันดานหนา ยกเทาซาย มือขวาตั้งวงลางระดับชายพก มือซายตั้งวงหงายแขนงอแลวฉ า ย มื อ แ อ อ ก จ า กด า น ห น า ไ ป ยั ง ดานขางลําตัว เอียงขวา

ทาหอยหนา หรือ ชายไหวพบวามีอยูในการรําลงสรงโทน ลงสรงสุหราย และลงสรงลาว

โดยมีลักษณะทารําที่คลายคลึงกันคือ ยกเทา มือหนึ่งตั้งวงลางระดับชายพก อีกมือหนึ่งตั้งวงหงายแตแตกตางกันที่ลักษณะการงอแขน – ตึงแขน และวิธีการใชสัดสวนของรางกายขางขวาและขางซายเทานั้น

Page 13: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

5. ทาทับทรวง เปนทารําที่แสดงความหมายถึง สรอยคอซึ่งมีสายยาวหอยทับอยูบริเวณหนาอก ชุดที่ 1 ลงสรงโทน

อิเหนา ชุดที่ 2 ลงสรงสุหราย

อุณรุท ชุดที่ 3 ลงสรงมอญ

พระสังข ชุดที่ 4 ลงสรงลาว

พระลอ

หันดานหนา กาวหนาเทาขวา มือขวาตั้งวงแขนงอดานหนาระดับ อก มือซายจีบหงายแขนงอในระดับเดียว กัน เอียงขวา จากนั้นยกเทาซาย มือขวาจีบหงายบริเวณทับทรวง มื อ ซ า ย จี บ ส ง ห ลั ง เอียงซาย

หันดานหนา กาวหนาเทาขวา มือขวาตั้งวงแขนงอดานหนาระดับอก มือซายจีบหงายแขนงอในระดับเดียว กัน เอียงขวา จากนั้นยกเทาซาย มือขวาจีบหงายบริเวณทับทรวง มื อ ซ า ย จี บ ส ง ห ลั ง เอียงซาย

หันดานหนา กาวหนาเทาขวา มือซายตั้งวงแขนงอดานหนาระดับอก มือขวาจีบหงายแขนงอในระดับเดียว กัน เอียงซาย จากนั้น ยกเทาซาย มือซายจีบหงายบริเวณทับทรวง มื อ ข ว า จี บ ส ง ห ลั ง เอียงขวา

หันดานหนา กาวหนาเทาซาย มือซายจีบหงายแขนงอดานหนาระดับอก มือขวาตั้งวงแขนงอดานหนาในระดับเดียวกัน เอียงขวา จากนั้น ยกเทาขวา มือซายจีบส งหลัง มือขวาจีบหงายบริเวณทับทรวง เอียงซาย

ทาทับทรวง พบวามีอยูในการรําลงสรงทั้ง 4 ประเภท มีลักษณะทารําโดยรวมที่

เหมือนกันคือ ยกเทา มือหนึ่งจีบหงายบริเวณทับทรวง อีกมือหนึ่งจีบสงหลัง แตแตกตางกันเล็กนอยที่วิธีการใชทารําขางขวาและขางซาย

Page 14: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

6. ทาสังวาล เปนทารําที่แสดงความหมายถึง สรอยสังวาลที่มีลักษณะเปนสายยาวพาดบริเวณบาและไขวทับกันบริเวณกึ่งกลางลําตัว

ชุดที่ 1 ลงสรงโทน

อิเหนา ชุดที่ 2 ลงสรงสุหราย

อุณรุท ชุดที่ 3 ลงสรงมอญ

พระสังข ชุดที่ 4 ลงสรงลาว

พระลอ

หันเฉียงขวา ยกเทาซาย มือขวาตั้งวงหงายแขนงอขางลําตัวระดับไหล มือซายจีบคว่ําระดับชายพก เอียงขวา จากนั้นกาวขางเทาซาย มือขวาตั้งวงสูงระดับแงศีรษะ มือซายจีบหงาย ระดับชายพก เอียงซาย

หันดานหนา กาวเทาขวา-ซาย ไปทางขวา มือขวาจีบหงายดาน หนา ระดับชายพก มือซายตั้งวงลางคูกันระดับชายพก เอียงซาย จากนั้น วางเทาขวาลงหลัง มือขวาตั้งวงสูงระดับแงศีรษะ มือซายจีบสงหลัง เอียงขวา

หันดานขวา กาวขางเทาซาย มือขวาจีบคว่ําระดับชายพก มือซายตั้งวงหงายแขนงอขางลําตัวระดับไหล เอียงซาย จากนั้นจรดเทาขวา มือขวาจีบหงายระดับชายพก มือซายตั้งวงสูงระดับแงศีรษะ เอียงขวา

หันดานขวา วางเทาซาย มือขวาจีบคว่ําระดับชายพก มือซายตั้งวงหงายแขนงอขางลําตัวระดับไหล เอียงซาย จากนั้นจรดเทาขวา มือขวาจีบหงายระดับชายพก มือซายตั้งวงสูงระดับแงศีรษะ เอียงขวา

ทาสังวาล พบวามีอยูในการรําลงสรงทั้ง 4 ประเภท โดยการรําลงสรงโทน ลงสรงมอญ

และลงสรงลาว มีลักษณะทารําโดยรวมที่เหมือนกัน คือการปฏิบัติทาสอดสรอยมาลา โดยมือหนึ่งตั้งวงสูง อีกมือหนึ่งจีบหงายระดับชายพก แตแตกตางกันเล็กนอยในสวนของทิศทางการหันตัว การใชเทา การใชทารําขางขวาและขางซาย ในขณะที่การรําลงสรงสุหรายนั้นมีทารําที่แตกตางจากการรําลงสรงประเภทอื่นคือ มือหนึ่งตั้งวง อีกมือหนึ่งจีบสงหลัง

Page 15: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

7. ทาทองกร เปนทารําที่แสดงความหมายถึงกําไลที่สวมอยูบนขอมือทั้งสองขาง

ชุดที่ 1 ลงสรงโทน อิเหนา

ชุดที่ 2 ลงสรงสุหราย อุณรุท

ชุดที่ 3 ลงสรงมอญ พระสังข

ชุดที่ 4 ลงสรงลาว พระลอ

หันเฉียงขวา กาวขางเทาซาย มือขวาตั้งวงสูงระดับใบหู มือซายจีบหงายบริเวณทองกรขอมือขวา เอียงขวา

หันดานหนา ถอนเทาขวา จรดเทาซาย มือขวาตั้งวงสูงระดับใบหู มื อ ซ า ย จี บ ห ง า ยบริเวณทองกรขอมือขวา เอียงขวา

หันเฉียงขวา กาวเทาขวาแตะเทาซาย มือขวาตั้งวงสูงระดับใบหู มื อ ซ า ย จี บ ห ง า ยบริเวณทองกรขอมือขวา เอียงขวา

หันดานหนา วางเทาขวาแตะเทาซายตึง มือซายจีบหงายหักขอ มือ เข าหาลํ าตั ว แ ข น ตึ ง ด า น ห น าระดับอก มือขวาตั้งมื อ แ บ แ ข น ตึ งด า นหน า ใ น ร ะดั บเดียวกัน เอียงซาย

ทาทองกรพบวามีอยูในการรําลงสรงทั้ง 4 ประเภท โดยการรําลงสรงโทน ลงสรงมอญ

และลงสรงสุหรายมีลักษณะทารําโดยรวมที่เหมือนกัน คือ มือหนึ่งตั้งวงสูง อีกมือหนึ่งจีบหงายที่ขอมือของมือตั้งวง แตแตกตางกันเล็กนอยในสวนของการใชเทา และการใชทารําขางขวาและขางซาย สวนการรําลงสรงลาวนั้นมีทารําแตกตางจากการรําลงสรงประเภทอื่น คือมือหนึ่งตั้งมือแบแขนตึงดานหนาระดับไหล อีกมือหนึ่งจีบหงายคูกันดานหนาแขนตึงในระดับเดียวกัน

Page 16: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

8. ทาตาบทิศ เปนทารําที่แสดงความหมายถึงเครื่องประดับที่ติดอยูบริเวณสายสังวาล เวลาใสจะหอยอยูบริเวณขางสะโพกทั้งสอง ชุดที่ 1 ลงสรงโทน

อิเหนา ชุดที่ 2 ลงสรงสุหราย

อุณรุท ชุดที่ 3 ลงสรงมอญ

พระสังข ชุดที่ 4 ลงสรงลาว

พระลอ -

หันดานขวา กาวขางเทาซาย มือขวาแทงมือสูงระดับแงศีรษะ มือซายตั้งวงลางระดับชายพก เอียงซาย จากนั้น ยกเทาขวา มือขวาตั้งวงสูงระดับแงศีรษะ มือซายจีบหงายที่บริเวณข า ง ลํ า ตั ว ด า น ข ว า เอียงซาย

-

หันดานขวา กาวขางเทาซาย มือขวาจีบคว่ําระดับชายพก มือซายตั้ งวงหงายขางลําตัวระดับไหล เอียงซาย จากนั้น จรดเทาขวา มือขวาจีบหงายระดับชายพก มือซายตั้งวงสูงระดับแงศีรษะ เอียงขวา

ทาตาบทิศ พบวามีอยูในการรําลงสรงสุหราย และลงสรงลาว โดยมีทารําที่แตกตางกัน

เล็กนอย คือ การรําลงสรงสุหรายปฏิบัติทารําโดยมือหนึ่งตั้งวงสูงอีกมือหนึ่งจีบหงายที่บริเวณขางลําตัว สวนรําลงสรงลาวนั้นมือหนึ่งตั้งวงสูงสวนอีกมือหนึ่งจีบหงายระดับชายพก แตถึงทารําจะมีความแตกตางกันอยางไร ทั้งสองชุดการแสดงก็ยังคงใชมือจีบอยูบริเวณตาบทิศเหมือนกัน

Page 17: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

9. ทาธํามรงค เปนทารําที่แสดงความหมายถึงแหวนที่สวมใสบริเวณนิ้วของมือทั้งสองขาง

ชุดที่ 1 ลงสรงโทน อิเหนา

ชุดที่ 2 ลงสรงสุหรายอุณรุท

ชุดที่ 3 ลงสรงมอญ พระสังข

ชุดที่ 4 ลงสรงลาว พระลอ

หันเฉียงซาย ถอนเทาซาย แตะเทาขวาตึง มือขวาตั้งมือแบแขนตึงดานหนาระดับไหล มือซ ายตั้ ง วง โดยใชนิ้วชี้แตะไลนิ้ว ชี้,กลาง,นาง,กอย ของมือขวา เอียงขวา

หันเฉียงขวา สะดุดเทาซาย ถอนเทาขวาแตะเทาซายตึง มือซายตั้งมือแบดานหนา แขนตึงระดับไหล มือขวาตั้งวงโดยใชนิ้วชี้แตะไลนิ้ว ชี้,กลาง,นาง,กอย ของมือซาย เอียงซาย

หันดานหนา แตะเทาขวา มื อซ ายตั้ ง ว งหงายแขนงอดานหนาระดับอก มือขวาจีบคว่ําแขนงอดานหนาใ น ร ะ ดั บ เ ดี ย ว กั น เ อี ย งซ าย จากนั้ น กาวหนาเทาขวาแตะเทาซาย มือซายตั้งมือแบแขนตึงด านหนาระดับอก มือขวาจีบหงายแขนตึงดานหนาใ น ร ะ ดั บ เ ดี ย ว กั น เอียงขวา

หันดานหนา ถอนเทาขวา แตะเทาซาย มือซายตั้งมือแบแขนตึงดานหนาระดับไหล มือขวาตั้ งวงโดยใชนิ้ ว ชี้ แตะ ไลนิ้ ว ชี้ ,กลาง,นาง,กอย ของมือซาย เอียงขวา

ทาธํามรงค พบวามีอยูในการแสดงลงสรงทั้ง 4 ประเภท โดยการรําลงสรงโทน ลงสรง

สุหราย และลงสรงลาว มีลักษณะทารําโดยรวมที่เหมือนกัน คือมือหนึ่งตั้งมือแบแขนตึงดานหนาระดับไหล อีกมือหนึ่งตั้งวงโดยใชนิ้วชี้แตะไลนิ้ว ชี้,กลาง,นาง,กอย ของมือแบตั้ง แตแตกตางกันเล็กนอยในสวนของการใชเทา และการใชทารําขางขวาและขางซาย ในขณะที่การรําลงสรงมอญนั้นมีความแตกตางจากการรําลงสรงประเภทอื่นคือ มือหนึ่งตั้งมือแบดานหนาแขนตึงอีกมือหนึ่งจีบหงายดานหนาแขนตึงในระดับเดียวกัน

Page 18: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

10. ทามงกุฎ เปนทาที่แสดงความหมายถึงเครื่องประดับศีรษะที่ตัวละครสวมอยู มียอดสูง

ชุดที่ 1 ลงสรงโทน อิเหนา

ชุดที่ 2 ลงสรงสุหรายอุณรุท

ชุดที่ 3 ลงสรงมอญ พระสังข

ชุดที่ 4 ลงสรงลาว พระลอ

หันดานหนา กาวหนาเทาซาย มือทั้งสองจีบคว่ํา แขนงอขางลําตัวระดับไหล ศีรษะตรง จากนั้นกระดกเทาขวา มือทั้งสองตั้งวงบัวบาน ศีรษะตรง

หันดานหนา กาวหนาเทาขวา มือทั้งสองจีบคว่ําแขนงอขางลําตัวระดับไหล ศีรษะตรง จากนั้น ยกเทาซาย มือทั้งสองตั้งวงบัวบาน ศีรษะตรง

หันดานหนา กาวหนาเทาขวา มือทั้งสองจีบคว่ําแขนงอขางลําตัวระดับไหล เอียงซาย จากนั้น กระดกเทาซาย มือทั้งสองตั้งวงบัวบาน ศีรษะตรง

หั น ด า นหน า ก า ว หนาเทาขวา มือทั้ งสองขางจีบคว่ําแขนงอข างลํ าตั วระดับไ ห ล ศี ร ษ ะ ต ร ง จากนั้น ยกเทาซาย มือทั้ งสองตั้ งวงบั วบาน ศีรษะตรง

ทามงกุฎ พบวามีอยูในการรําลงสรงทั้ง 4ประเภท มีลักษณะทารําโดยรวมที่เหมือนกัน

คือ มือทั้งสองจีบคว่ําแลวมวนออกเปนตั้งวงบัวบาน แตแตกตางกันเล็กนอยที่วิธีการใชเทา และการใชทารําขางขวาและขางซาย นอกจากนี้ยังพบทารําโบกเปนทารําหลักซึ่งปรากฏอยูทายคํากลอนแตละบทของการรําลงสรงทั้ง 4 ประเภท โดยมีวิธีปฏิบัติทารําที่เหมือนกันดังนี้ หันเฉียงขวา กาวหนาเทาขวามือซายจีบหงาย ดานหนาระดับเอวมือขวาตั้งวงดานหนาในระดับเดียวกัน เอียงซาย จากนั้นวางสนเทาซายเหลื่อมคูกับเทาขวา มือซายตั้งวงสูงระดับแงศีรษะคอนมาดานหนาเล็กนอย มือขวาจีบสงหลัง เอียงขวา

จากการศึกษากระบวนทารําหลักของการรําลงสรงทั้ง 4 ประเภทนั้นผูวิจัยพบกลวิธีในการปฏิบัติทารําหลักใหสมบูรณมากยิ่งขึ้น ซึ่งผูแสดงตองมีกําลังขาที่แข็งแรง มีความสามารถใชพลังในรางกายเขามาเปนสวนชวยใหทารําสงาผ่ึงผายมากยิ่งขึ้น โดยการกาวหนาหรือกาวขางกอนที่จะยกเทาผูแสดงตองผอนลมหายใจออกพรอมกับยอตัวลง และตอเนื่องดวยการยกเทาหรือกระดกเทาเพื่อปฏิบัติทารําที่สมบูรณ ใหสูดลมหายใจเขาพรอมกับยืดตัวขึ้น โดยหากในวินาทีสุดทายทารําหลักที่สมบูรณตองเผนตัวขึ้นใหหายใจเขาตอเนื่อง แตหากในวินาทีสุดทายทารําหลักที่สมบูรณตอง

Page 19: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

ยอตัวลงใหหายใจออกอีกครั้งหนึ่ง การปฏิบัติเชนนี้นอกจากจะทําใหนักแสดงดูผ่ึงผายและสงางามแลวยังจะทําใหเกิดการทรงตัวที่ดีอีกดวย

ทารํารอง เปนการเคลื่อนไหวสวนตางๆ ของรางกายที่เปนการเชื่อมทารําโดยคํารองระหวางทารําหลักกับทารําหลักเขาดวยกันโดยเนื้อหาหรือความหมายของเนื้อรองอาจบรรยายถึงความงามของเครื่องแตงกายที่เปนทารําหลัก หรือบรรยายกิริยาอาการสวมใสเครื่องแตงกายชิ้นตางๆก็ได อาทิ

ภูษา ผาทิพยกระสันทรง ในวรรคทายนี้มีความหมายถึงกิริยาอาการสวมใสเครื่องแตงกาย โดยทารํารองนี้จะมีผลทําใหทารําหลักในวรรคแรกมีความหมายสมบูรณมากยิ่งขึ้น

ทองกร แกวพุกามงามเงา ในวรรคทายนี้มีความหมายบรรยายถึงความงามของเครื่องแตงกาย โดยทารํารองนี้มีผลทําใหทารําหลักในวรรคแรกมีความหมายสมบูรณมากยิ่งขึ้น

ธํามรงค รจนาคาเมือง ในวรรคทายนี้มีความหมายบรรยายถึงความงามของเครื่องแตงกาย โดยทารํารองนี้มีผลทําใหทารําหลักในวรรคแรกมีความหมายสมบูรณมากยิ่งขึ้น ทารําเช่ือม เปนลักษณะการเชื่อมคํารองดวยทํานองเอื้อนเพื่อใหทารํามีความตอเนื่องกัน โดยหากเปนทํานองเอื้อนส้ัน สวนใหญจะใชการเลนเทาในจังหวะเร็ว แตหากเปนทํานองเอื้อนยาวสวนใหญจะใชการเลนเทาในจังหวะชา แตทั้งนี้ตองคํานึงถึงเสียงกลองเปนหลักและตองปฏิบัติทาเลนเทาใหพอดีกับจังหวะเพลง โดยกลวิธีในการเลนเทาที่ถูกตองนั้นผูแสดงตองมีกําลังขาที่แข็งแรงมีความชํานาญในการฟงจังหวะและรูจักใชพลังในรางกายมาชวยทําใหดูตัวเบาและเทาดูไมหนักในขณะที่แตะเทาสลับขึ้น - ลง รวมทั้งการใชลมหายใจเขาและออกในระหวางการยืด-ยุบของจังหวะ (การยืด – ยุบ เปนการใชหัวเขายืดขึ้นใหตั้งตรง และยุบหัวเขาใหงอลง) นอกจากนี้ยังตองคํานึงถึงระยะหางในการวางเทาหนากับเทาหลัง โดยจะสังเกตเห็นวาเมื่อแตะเทาแลววางหลัง หรือวาแตะเทาแลวกาวหนาในทุกๆ จังหวะแรกจะตองวางเทาหลังใหอยูเลยสนเทาหลังหรือกาวเทาหนาใหอยูเลยปลายเทาหนา แตเมื่อเลนเทาเพิ่มในจังหวะตอไปจะไมวางเทาใหไกลเหมือนเดิม จะวางเทาใหอยูแคกลางฝาเทาของอีกเทาหนึ่งเทานั้น จากที่กลาวมาสรุปไดวากลวิธีในการปฏิบัติกระบวนทารําลงสรงทั้ง 4 ประเภทนี้มีแนวคิดในการประดิษฐทารํามาจากตนกําเนิดเดียวกันและถือปฏิบัติสืบตอกันมาจนกระทั่งกลายเปนจารีตในการรําลงสรง ทั้งนี้สังเกตไดจากองคประกอบการแสดง วิธีการแสดงและกระบวนทารําที่คลายคลึงกัน โดยผูที่จะสามารถแสดงรําลงสรงไดอยางคลองแคลวนั้นตองเปนผูมีความรูความเขาใจในเรื่องของการปฏิบัติทาเลนเทาใหเปนไปอยางถูกตองตามแบบแผน ซึ่งลักษณะการเลนเทานี้เองที่ถือเปนหัวใจสําคัญที่ปรากฏในการแสดงรําลงสรง นอกจากนี้ทารําหลักก็ถือเปนส่ิงสําคัญที่ผูรําตองตีความหมายและอารมณของบทเพลงเพื่อปฏิบัติใหถูกตอง กลวิธีในการแสดงรําลงสรงนั้นเปนเรื่องของความละเอียดออนในการใชพลังจากภายในรางกาย การผอนคลายกลามเนื้อในสวนตางๆ ที่มีทั้งหยอนและตึง การผอนลมหายใจเขา-ออก ซึ่งทั้งสามอยางนี้ตองทําไปพรอมกับการเคลื่อนไหวสวนตางๆ ของรางกาย การใชอารมณแสดงความรูสึกตามความหมายของทารํา

Page 20: รําลงสรงท ี่ปรากฏในการแสดง ... · 2012-06-09 · appreciation posture. But the other four dances are dancing in simultaneous with

นอกจากนี้ยังมีสวนประกอบในเรื่องของความแมนยําในการจดจําทารํา ทวงทํานอง จังหวะเพลงและสรีระของผูรํา ตลอดจนการฝกหัดและการถายทอดที่ถูกตองตามแบบแผนทางนาฏศิลปไทยอีกดวย

เอกสารอางอิง ณรงชัย ปฎกรัช. สารานุกรมเพลงไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพเรือนแกว, 2528. ดนัย ไชยโยธา. ลัทธิ ศาสนา และระบบความเชื่อ กับประเพณีนิยมในทองถิ่น. กรุงเทพมหาคร :

สํานักพิมพโอเดียนสโตร, 2538. นพรัตน หวังในธรรม. ผูเชี่ยวชาญทางดานนาฏศิลป กรมศิลปากร, สัมภาษณ 10 สิงหาคม 2549. ประยุทธ ดิทธพัฒน. ประเพณีชาวบาน . กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพปริทัศนศาสตร, 2526. มนตรี ตราโมท. ศิลปวัฒนธรรมเลมที่ 7 . กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2525. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพมหานคร: อักษร

เจริญทัศน, 2538. สวภา เวชสุรักษ. หัวหนาภาควิชานาฏยศิลป จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, สัมภาษณ 17

พฤศจิกายน 2550. อนุมานราชธน,พระยา. เทศกาลสงกรานต. ม.ป.ท., ม.ป.ป.